นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจABAC 2022 กล่าวว่าในปีนี้เราพบความท้าทายหลายประการ ไม่ว่า ความไม่มั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ผลกระทบอย่างต่อเนื่องของการระบาดใหญ่ การหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อันบั่นทอนความสามารถของภูมิภาคในการบรรลุวิสัยทัศน์ของเอเปค นั่นคือการเป็นชุมชนเอเชียแปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลัง ยืดหยุ่น และสงบสุขภายในปี 2040 เพื่อความมั่งคั่งของประชาชนและคนรุ่นต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ที่ประชุมหัวหน้าคณะทำงาน 5ด้าน ของ ABAC ได้สรุปข้อเสนอแนะออกมา5ด้านเพื่อเสนอให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษ21พิจารณาดำเนินการ โยจะมี69ข้อย่อย ทั้งนี้ข้อเสนอ5ด้านประกอบด้วย 1.การรวมตัวของภูมิภาคเอเปค 2.เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะเสนอให้ผู้นำประเทศต่างๆเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของสมาชิกให้มีความเท่าเทียมกันเพื่อเตรียมความพร้อมสูงระบบเศรษฐกิจดิจิตอล รวมทั้งจัดทำมาตรการความปลอดภัยในการดูแลข้อมูลระบบมูลดิจิตอล
3.การดูแลธุรกิจขนาดเล็ก และธุรกิจขนาดกลาง รัฐบาลควรเร่งหามาตรการฟื้นฟู และการเข้าถึงแหล่งทุนให้กับธุรกิจขนาดจิ๋ว กลางย่อม ให้เข้าถึงแหล่งทุนเนื่องจากที่ผ่านมา ปัญหาโควิดทำให้เอสเอ็มอี ซึ่งมีสัดส่วน97% ในภูมิภาคนี้ ล้มหายตายจากไปจำนวนมากเพราะสายป่านสั้น 4.การเติบโตอย่างยั่งยืน และ5.การเงินและเศรษฐกิจ ควรเร่งส่งเสริมการทำธุรกิจที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมไม่มุ่งหวังกำไรเพียงอย่างเดียว เพื่อแก้ไขปัญหาโรคร้อน และทำให้เศรษฐกิจโลกโตอย่างยั่งยืน และ5.เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและให้เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะการเร่งช่วยผู้ประกอบการรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งเงินได้ โดยจะผลักดันให้มีการนำข้อมูลการซื้อขายวัตถุดิบที่มาใช้ในหการผลิดมใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเพื่อขอกู้เงินให้ได้
“เอแบคยังมีข้อเสนอเร่งด้วย3ข้อให้เอเปคเร่งแก้ไขปัญหาร่วมกัน ประกอบด้วย1 เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงทั่วโลกที่ส่งผลกระทบทำให้อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย มีความผันผวน ทำให้ต้นทุนการนำเข้าพลังงาน และวัตถุดิบในการผลิตสินค้ามีราคาแพงส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจ 2 ปัญหาการขาดแคลนอาหาร โดยคาดว่าในปลายปีนี้จะมีประเทศยากจนอีกหลายสิบประเทศจาสกการขาดแคลนอาหาร 3 การให้ความสำคัญการแก้ปัญหาโรคร้อนเพื่อป้องกันไม่ให้เดปัญหาภัยธรรมชาติ”
นอกจากนี้ผู้นำเอกชนต่างเห็นห้องกันว่า อยากให้ทุกประเทศเร่งอำนวยความสะดวกการค้าการลงทุนระหว่างกัน โดยเร่งผลักดันการจัดตั้งFTAAPเพื่อให้เกิดการพัฒนาในภูมิภาค โดยเขตการค้าเสรีกลุ่มเอเปค หรือ FTAAP นับเป็นความร่วมมือพหุภาคีที่สำคัญของโลกทั้งในเชิงเศรษฐกิจ มีมูลค่า GDP รวมกัน 61% ของทั้งโลก มีประชากรสัดส่วน 1 ใน 3 ของพลเมืองทั้งโลก จึงมีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางการค้า การลงทุน จากข้อมูลของ World Bank ในปี 2564 พบว่า มูลค่า GDP ของสมาชิก APEC เท่ากับ 59.4 ล้านล้านดอลลาร์ สัดส่วนสูงถึง 61% ของ GDP ยักษ์ใหญ่ที่มีขนาดทางเศรษฐกิจ 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ส่วนไทยมีขนาดทางเศรษฐกิจอยู่ในลำดับที่ 11 (GDP เท่ากับ 5 แสนล้านดอลลาร์)
สินค้าไทยส่งออกไปยังเอเปค 4 อันดับแรก ถูกส่งออกไปยัง APEC ทั้งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ฯ ผลิตป้อนตลาด APEC ถึง 77.3% ยานยนต์ฯ (57.5%) ผลิตภัณฑ์ยาง (72.5%) และพลาสติก (72.8%) นับว่าบทบาทของการค้าระหว่างกันในกลุ่มเอเปคสูงมาก
“ผู้นำเอกชนได้ออกแกลงการณ์ข้อเสนอแนะที่จะเสนอต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในวันที่19พ.ย. โดยหวังว่าผู้นำเอเปคจะรับฟังเสียงข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน โดยขอให้พิจารณาปัญหาเร่งด่วน3ข้อก่อน ส่วนข้อเสนออีก5ด้านขอให้พิจารณาบรรจุเป็นรนโนบายของสมาชิกเพื่อเตรียมความพร้อมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและให้เติบโตอย่างยั่งยืน ”
ในส่วนของไทยปัญหาสำคัญที่สุดต้องเร่งแก้ไข เอสเอ็มอีซึ่งปัจจุบันไทยมีเอสเอสอีในระบบเศรษฐกิจ 90% ปัจจุบันได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพยามหาเร่งเงินทุนให้ แต่ยังมีปัญหา ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุน ซึ่งยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ เห็นได้จากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านการการท่องเที่ยว ที่ยังไม่ฟื้นตัวแท้ว่าการท่องเที่ยวไทยจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น จากการเปิดประเทศ โดยอยากเสนอให้รัฐบาลหาแหล่งเงินทุนในรูปแบบที่รวดเร็วเช่น ดิจิตอลไฟแนนซ์ นอกจากนี้อยากให้รัฐบาลส่งเสริมเร่งทำมินิเอฟทีเออีกสัก10ราย เพื่อเร่งผลักดันเศรษฐกิจและกระจายการเติบโตทางเศรษฐกิจ