ประดิษฐ์ปัญญา (6)

27 ม.ค. 2567 | 08:32 น.
อัพเดตล่าสุด :27 ม.ค. 2567 | 08:39 น.

ประดิษฐ์ปัญญา (6) : คอลัมน์เปิดมุกปลุกหมอง โดย...ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3961

นักฆ่าเหนื่อยกว่านักคิดตรงที่นักฆ่าจะต้องออกแรงเสี่ยงชะตา เพราะว่า การไล่ล่าแต่ละครั้ง คนที่่วิ่งหนีกระสุนจนป่าราบ มันไอ้หยาสิครับ พอๆ กับนักเล่นไพ่ที่กระโดดข้ามรั้วลวดหนามสูงสองเมตรหนีโปลิศ (ฮา) จุดจบในการไล่ล่ามันเดายากจริงๆ ว่า ใครจะเสียท่าให้ใคร จะมีนักไล่ล่าสักกี่คนที่สามารถวิ่งหนีไปซดกาแฟไปด้วยความหรรษาอาโนเนะ (ฮา)

การไล่ล่าหาปัญญาเอามาใส่สมองเริ่มต้นด้วยการ นั่งซดถั่งเฉ้ากระดิกเท้าอยู่กับที่ เพียงแค่นี้อีกไม่กี่อึดใจเราก็จะได้มุกเอาไปเมาท์ได้แล้ว เนื่องจากเมื่อเรานั่งไปนานๆ ในโลกใบนี้มันต้องมีใครสักคนจะเดินเข้ามางับเราว่า “วันๆ ผมไม่เห็นคุณทำอะไรเลย เอาแต่นั่งกระดิกเท้าเคล้ายาโด้ปอย่างเดียว” อิๆ ...

สมองเรามันจะเริ่มแว้บเข้ามาชี้ช่องให้เราย่องเบาเอาไปเขียนว่า “เห็นใจเขาเถอะ เขาสารภาพแล้วว่า เขาแลไม่เห็นความคิดที่วิ่งบ้างกระโดดบ้างอยู่ในหัวเรา เขาจึงไม่รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ จะเอา สะตอ-เบอร์-สี่! อะไรกับคนที่ มะโน-ข้า-จะเมาท์! ผู้รู้ ที่ได้ชื่อว่า กูรู ควรจะอโหสิต่อผู้ที่ไม่รู้ เขาไม่รู้หรอกว่า ถ้ามีใครพูดซ้ำๆ ว่า ไม่รู้ ไม่รู้ รับประกันฉันเช้าเลยว่า เขารู้แต่ชี้แล้วไม่มีเก้าอี้ดนตรีให้นั่ง จะขยันชี้หาขนมครกไปทำไม (ฮา)

ในเมื่อ “ปัญญา” หมายถึง “ความรู้ที่เกิดจาก การเรียน และ การคิด” ผมจึงตกผลึกในแง่คิดได้ว่า “ไม่ว่าเราจะทำอะไร ถ้าเราแลเห็นผลว่า การกระทำทุกกรณี ไม่มีคำว่าไม่ได้ หากตาทิพย์ได้อย่างนั้น แสดงว่า ปัญญาของเรามันเริ่มงอกเงยบ้างแล้ว แม้ว่าผลมันจะยังไม่ออก อย่างน้อยก็มีดอกที่กำลังจะผลิบาน”

ผลสรุปที่ผมรำพึงฝากไว้ในย่อหน้าตะกี๊เกิดขึ้นจากการศึกษา “วิชาย่อความ” ใครชำนาญในการย่อความ ผู้นั้นเริ่มมีแววว่า กำลังยกระดับปัญญาขึ้นเป็น (ว่าที่) “นักปราชญ์” ถ้อยคำที่นำมาย่อความเป็นจุดสำคัญที่สุดของเรื่อง ตัวอย่าง ที่เข้าใจง่าย คือ “เนื้อความพระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์” (ขันธ์ แปลว่า ชุด) สามารถจะย่อ 84,000 ชุด เป็นบทสรุปได้ 3 ข้อ คือ “ละชั่ว ประพฤติดี ทำจิตให้ผ่องใส”

มุก นักชีววิทยา นักเคมี และ นักสถิติ เข้าป่าไปล่าสัตว์ นักชีววิทยา ยิงใส่กวางแล้วพลาดไปทางซ้าย 5 ฟุต นักเคมี ยิงพลาดไปทางขวาไป 5 ฟุต นักสถิติ ตะโกนลั่นว่า “ผมได้สิ่งที่ประสงค์แล้ว!” (อัลลัย!)

เขาเล่าไว้สั้นแค่นี้ ถ้าเรารู้ จุดสำคัญ! ก็สามารถเอามาเล่าต่อยอดได้ว่า นักชีววิทยา กับ นักเคมี คงจะรุมกันถาม นักสถิติ แหละว่า “คุณไม่ได้ยิงมันสักนัด แล้วคุณได้อะไรตรงไหนล่ะ?” นักสถิติ ก็คงจะชี้แจงว่า “ผมไม่ได้มาล่าสัตว์ ผมมาล่าสถิติ” (ฮา) เหยื่อที่ นักชีววิทยา กับ นักเคมี จะล่า คือ กวาง เหยื่อที่ นักสถิติ จะล่า คือ ความแม่น หรือ ไม่แม่น ของ สหายทั้งสอง คริๆ ...

“กูรู” จะต้องแตกฉาน “เรียงความ” คือ รู้จักเลือกเอา “เนื้อความ” ที่นัยตรงกับ “หัวข้อที่กำหนด” นำมา “เชื่อมโยง” สนับสนุนให้เข้ากัน โดยมี “ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมีผลบวกกับลบที่สอดคล้องต้องกัน”

“การพิจารณาจัดวางให้เหมาะสมตามลำดับ” ผู้อ่านหรือฟังจะได้ไม่สับสนในความเป็นไปของเรื่อง จะเห็นได้ว่า “เรียงความ” คือ “บันไดขั้นต้นในการฝึกฝนประสบการณ์ให้มีทักษะในการคุยกับคนให้รู้เรื่อง” (ฮา)

                              ประดิษฐ์ปัญญา (6)

นักภาษาศาสตร์พูดถึงรากศัพท์ฝรั่งเศสที่ว่า Essay หรือ “เรียงความ” ตรงกับความหมายในเชิงปฏิบัติที่ขานรับกันว่า A Trial คีอ “การทดลอง” หรือ An Attempt คือ “ความพยายาม” 
คงจำได้ว่า เรียงความที่เอาไปส่งครูโดนตีกลับมาให้แก้ไขเพิ่มเติม เพราะว่า “คำ” กับ “ความ” รวมถึง “หลัก” กับ “เรื่อง” อีกทั้ง “ลำดับ” กับ “ตัวอย่าง” ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้ากัน ไม่สุนทรีย์ หรือ ไม่มีอรรถรส

ลูกศิษย์ผมเคยพูด สไตล์ชง” คือ “กระทบ” ตำหนิลูกพี่ของเขาว่า “หัวหน้าผมแกทำตัวหน้าเบื่อ” ผมก็แจมแทรกไปว่า “ลองไปสืบดูให้ดี ลูกพี่อาจจะเซ็งคุณเหมือนกัน แต่เขาอดใจไม่พูดให้ใครฟัง” (ฮา)

ในทำนองคล้ายคลึงกัน ถ้าเราบ่นว่า “เรียงความน่าเบื่อสิ้นดี” ลูกค้าก็อาจจะบ่นพึมพำเบื่อคุณอยู่เช่นกันว่า “นักขายคนนี้อธิบายสินค้าน่าเบื่อฝุดๆ ถ้าเราคิดว่า “เรียงความกับขายของมันเกี่ยวกันตรงไหน” แสดงว่า ครูเวรไม่ได้พักผ่อนจึงลืมบอกเราว่า “เรียงความ คือ การเล่าเรื่อง การเล่าสินค้า คือ เรียงความ” (จริงป่ะ)

เรียงความ จะต้อง  Infinitive Essayer หมายถึง “พยายามอย่างอนันต์” ในแง่มุมของนักปราชญ์อังกฤษ มุ่งเน้นความหมายแรกสุดว่า เรียงความ เกิดจาก “การทดลอง” หรือ “ความพยายาม” ดังคำที่ว่า To Try หรือ To Attempt คือ ปรากฏการณ์ในเชิงธรรมชาติทางความรู้สึกที่ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนอย่างมีระเบียบและต่อเนื่องจนกว่าจะเกิดผลสำเร็จ

“ทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่ดูดวงก่อนจะรับใครสักคนเข้าทำงาน!
พ่อค้าสามตระกูลตั้งรกรากลึกอยู่บริเวณขอบเมือง ทั้งสาม ผลิตน้ำมะเน็ด แฟร์เพลย์กันนานหลายสิบปี

ครั้นเมื่อโควิดบุกโลกก็เกิดตลกร้าย สามตระกูลแตกคอ “ตระกูลฮับ” ติดป้ายไว้หน้าบ้าน เชียร์สินค้าโม้ว่า “ตระกูลฮับผลิตน้ำมะเน็ดดีที่สุดระดับประเทศ!”

สามวันผ่านไป  “ตระกูลฮึบ” ขึ้นป้ายไว้บนกำแพงบ้าน เขียนสวนหมัดว่า “ตระกูลฮึบผลิตน้ำมะเน็ดเกรดเอส่งขายทั่วเอเซีย!” เช้าวันต่อมา “ตระกูลฮุบ” ติดป้าย โชว์ไว้บนหน้าจั่ว เขียนป้ายตัวโตว่า “ตระกูลฮุบผลิตน้ำมะเน็ดอร่อยสุดยอดกว่าใครในละแวกนี้!” (ฮา)

“ทำไมบริษัทอื่นเขาไม่ดูดวงก่อนจะรับใครสักคนเข้าทำงาน!