โครงสร้างประสิทธิภาพต้นทุนของการเงินไทย ในบริบทเปรียบเทียบต่างประเทศ

10 ม.ค. 2567 | 07:33 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ม.ค. 2567 | 07:34 น.

โครงสร้างประสิทธิภาพต้นทุนของการเงินไทย ในบริบทเปรียบเทียบต่างประเทศ : คอลัมน์เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ โดย...ดร.สิร นุกูลกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,956 หน้า 5 วันที่ 11 - 13 มกราคม 2567

เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการนโยบายการเงินประกาศให้ดอกเบี้ยนโยบายคงตัวอยู่ที่ 2.5% โดยที่จริงแล้วได้ปรับขึ้นมาตลอดวาระละ 0.25% ในช่วงปีจาก 0.5% เป็น 2.5% นี่ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารปรับตัวสูงขึ้นเป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์

เพราะแม้ดอกเบี้ยเงินกู้จะสูงขึ้น แต่ดอกเบี้ยเงินฝากกลับไม่ได้ปรับตัวตามในสัดส่วนเปรียบเทียบกัน ทั้งนี้แท้จริงแล้วภาคการเงินไทยยังมีปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อเพื่อการผลผลิตของประชากรส่วนมาก เงินกู้ที่สามารถทำที่ได้กลับกลายเป็นหนี้ครัวเรือนที่มีส่วนซ้อนทับกับการผลิตอยู่ 

 

 

การวิเคราะห์บริบททางการเงินเปรียบเทียบจึงมีความสำคัญ ในส่วนนี้จะทำการวิเคราะห์โครงสร้างประสิทธิภาพ กำไร และ ต้นทุนของการเงินของไทยในบริบทเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เกาหลี มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา จีน และ เยอรมนี รวมเป็น 5 ประเทศ

โดยใช้ข้อมูลจาก financial development database ของ World Bank เป็นการเปรียบเทียบเกณฑ์วัดโครงสร้างประสิทธิภาพ กำไร และ ต้นทุน 1.) Bank lending and deposit spread (ส่วนต่างดอกเบี้ยสินเชื่อและเงินฝาก)  2.) Net Interest Margin, NIM (ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย)
 

3.) Bank non-interest income to total income (สัดส่วนรายได้นอกดอกเบี้ย) 4.) Bank cost to total assets (สัดส่วนค่าดำเนินการต่อทรัพย์สิน) 5.) Bank return on equity before tax (สัดส่วนผลตอบแทนต่อหุ้น) 6.) Deposit money banks’ assets to GDP (สัดส่วนทรัพย์เงินฝากต่อรายได้ประชาชาติ) ผู้เขียนได้มีโอกาสทำวิจัยเรื่องต้นทุนการเงินจึงนำข้อมูลบางส่วนมาแชร์กับท่านผู้อ่าน

Bank lending and deposit spread (ส่วนต่างดอกเบี้ยสินเชื่อและเงินฝาก) แสดงส่วนต่างของดอกเบี้ยสินเชื่อและดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งสามารถใช้เป็นตัววัดหนึ่งในการดูโครงสร้างประสิทธิภาพและกำไร ในหมู่ประเทศทางเอเชียประเทศไทยมีระดับส่วนต่างดอกเบี้ยในระดับที่สูง

ในขณะที่ข้อมูลจากฝั่งตะวันตกนั้น ไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากธนาคารในชาติตะวันตกที่ใช้นั้นมีจำนวนมากหลากหลาย ทำให้การหาส่วนต่างดอกเบี้ยไม่สามารถแสดงผลได้ ทั้งนี้ต้องพิจารณาต่อไปที่ตัวชี้วัดอื่นๆ

โครงสร้างประสิทธิภาพต้นทุนของการเงินไทย ในบริบทเปรียบเทียบต่างประเทศ

Net Interest Margin, NIM (ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย) แสดงรายได้ของธนาคารที่มาจากส่วนต่างของดอกเบี้ยต่อทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดรายได้ของธนาคารจากส่วนต่างดอกเบี้ยต่อทรัพย์สิน จากภาพจะเห็นว่า ธนาคารไทยมี NIM อยู่ในระดับที่สามารถเทียบเคียงกับประเทศต่าง ที่นำมาเปรียบเทียบๆ ได้ แม้จะมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยก็ตาม

รายได้ที่มาจากส่วนต่างดอกเบี้ย เมื่อเทียบกับทรัพย์สินแล้วไม่ได้สูงกว่าประเทศอื่นๆ ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า นี่อาจเป็นเพราะทรัพย์สินของธนาคารไทยนั้น มีเยอะมาก จนทำให้รายได้ดอกเบี้ยมาเปรียบเทียบด้วยมีส่วนต่างที่น้อย อย่างไรก็ตาม ต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมถึงการบริหารทรัพย์สินและการลงทุนของธนาคารเพิ่มเติม

โครงสร้างประสิทธิภาพต้นทุนของการเงินไทย ในบริบทเปรียบเทียบต่างประเทศ

Bank non-interest income to total income (สัดส่วนรายได้นอกดอกเบี้ย) แสดงรายได้ที่มาจากนอกเหนือส่วนต่างของดอกเบี้ย เช่น รายได้จากธุรกรรมการเงิน การแลกเปลี่ยน อนุพันธ์ ตราสารอื่น ฯลฯ

ตัววัดนี้แสดงความสามารถในการหารายได้จากแหล่งอื่น ที่ไม่ใช่จากส่วนต่างดอกเบี้ย จากภาพจะเห็นว่า ธนาคารไทยมีรายได้จากแหล่งอื่นน้อยเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ แม้ว่าจะสูงกว่าจีนก็ตาม

โครงสร้างประสิทธิภาพต้นทุนของการเงินไทย ในบริบทเปรียบเทียบต่างประเทศ

 

Bank cost to total assets (สัดส่วนค่าดำเนินการต่อทรัพย์สิน) แสดงต้นทุนการดำเนินการต่อทรัพย์สิน ธนาคารมีต้นทุนการดำเนินการ (overhead) เท่าไหร่ต่อทรัพย์สินทั้งหมด จากภาพด้านล่างจะเห็นว่าสัดส่วนค่าดำเนินการของไทยนั้นอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยของประเทศต่างๆที่นำมาเปรียบเทียบ 

โครงสร้างประสิทธิภาพต้นทุนของการเงินไทย ในบริบทเปรียบเทียบต่างประเทศ

Bank return on equity before tax (สัดส่วนผลตอบแทนต่อหุ้น) เป็นตัววัดที่แสดงกำไรต่อหุ้น ซึ่งธนาคารไทยนั้นมีกำไรต่อหุ้นในระดับที่ตํ่ากว่าค่าเฉลี่ย แม้จะมากกว่าประเทศเยอรมนี

โครงสร้างประสิทธิภาพต้นทุนของการเงินไทย ในบริบทเปรียบเทียบต่างประเทศ

โครงสร้างประสิทธิภาพต้นทุนของการเงินไทย ในบริบทเปรียบเทียบต่างประเทศ

 

Deposit bank’s Asset to GDP แสดงสัดส่วนทรัพย์เงินฝากต่อรายได้ประชาชาติ ซึ่งในการเงินไทยนั้นอยู่ในระดับที่สูง ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ซึ่งมีการกู้เงินของรัฐถึง 1.5 ล้านล้านบาท ประมาณ 15% ของ GDP มีข้อมูลว่า ผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลเกือบทั้งหมด มาจากภายในประเทศ ซึ่งก็สามารถอธิบายได้จากทรัพย์สินเงินฝากในประเทศที่มีจำนวนมากนี้ ประชากรไทยอาจจะออมจนทรัพย์สินไม่สามารถก่อให้เกิดรายได้ สร้างการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

จะเห็นโครงสร้างประสิทธิภาพ กำไร และ ต้นทุนของการเงินไทย นั้นมีลักษณะที่ mature แล้ว เปรียบเทียบกับโครงสร้างของต่างประเทศที่ทำการวิเคราะห์มา

แต่ไทยนั้น มีปัญหาใหญ่ เพราะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและไม่สามารถก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง การเติบโตทางเศรษฐกิจน้อยในขณะที่ภาคการเงินสุกงอม ปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อของประชากรในการผลิตยาก

ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งแท้จริงแล้วอาจเป็นปัญหาในโครงสร้างภาพใหญ่ที่ส่งผลมาถึงภาคการเงิน ธนาคารไทยมีทรัพย์สินจำนวนมาก มีการสะสมทุนอย่างยาวนานและลึก แต่ว่าทรัพย์สินนั้นไม่ได้สร้างรายได้เมื่อเทียบกับรายได้ที่มาจากส่วนต่างดอกเบี้ย

ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ผลตอบแทนของทรัพย์สินทั้งหมดธนาคารนั้นน้อย เมื่อเทียบกับรายได้ที่มาจากส่วนต่างดอกเบี้ย ทั้งนี้ต้องมีการวิเคราะห์วิจัยเพิ่มเติมถึงการถือทรัพย์สินอื่น และการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ไทย 

แต่เราก็สามารถตั้งคำถามว่า ทรัพย์สินในภาคการเงินมีมากเกินไปหรือเปล่า การออมของสังคมไทยไม่ก่อให้เกิดการผลิตและสร้างรายได้ที่มีประสิทธิภาพ นโยบายลดภาษีจากการออมหรือประกัน ฯลฯ  แท้จริงแล้วอาจจะไม่มีประสิทธิภาพ ซํ้ายังอาจเกิดเป็นตัวถ่วงที่ทำให้ค่าส่วนต่างดอกเบี้ยสูง

ซึ่งค่าส่วนต่างดอกเบี้ยนี้ส่งผลกระทบที่แท้จริงต่อประชากรในสังคมที่จ่ายดอกสินเชื่อ โดยเฉพาะในขณะนี้ที่หนี้ครัวเรือนสูงมากเป็นประวัติการณ์

การดูที่ค่า NIM นั้นไม่เพียงพอสำหรับผลกระทบที่แท้จริงของดอกเบี้ยต่อสังคมไทย คำถามอาจจะเป็นว่าทรัพย์สินของธนาคารที่มีเยอะมากนั้นไม่สร้างรายได้และการผลิตหรือไม่ นโยบายการออมสะสมของสังคมไทยมีผลอย่างไรต่อประสิทธิภาพการเงิน