คำบางคำก็สื่อสารกันค่อนข้างยาก จึงทำให้ผู้ที่ศึกษาพุทธศาสนาบางคนเกิดความขัดข้องในรูปภาษาอย่างเช่นคำว่า จิต พระหลายรูปในเมืองไทยที่พยายามสอนเรื่องจิต เช่น ดูจิตตาม จิตสังเกต จิตคืออะไรแบบนี้ เป็นต้น
จากประสบการณ์ที่ได้ทำมานาน ศึกษามานานพอควร ทั้งในรูปแบบทฤษฎีและปฏิบัติ อยากจะพูดตามความเป็นจริง
ว่าแท้จริงแล้วคำว่าจิตที่สอนกันให้เฝ้าดูที่สอนกันให้ตามก็คือ ตามความคิด แต่ถ้าไปบอกว่าจิตเป็นอย่างอื่นไม่ใช่ความคิด อันนี้ก็ต้องถามก่อนว่าพูดธรรมะในระดับไหน
ในระดับเบื้องต้นแน่นอนที่สุดความคิดอันไหนจิตใจอันนั้นสำหรับคนธรรมดาทั่วไป การที่ได้เห็นความคิดก็จะกลับได้เห็นจิตใจของตัวเอง
เราไม่ใช่นักบวช หรือไม่ได้ต้องการบรรลุธรรมเหมือนนักบวช ดังนั้นอยากให้ยึดคติเอาไว้ว่า ความคิดอันไหนจิตใจอันนั้น เพียงแค่นี้ก็จะทำให้ชีวิตเราสงบเย็นได้อย่างแท้จริง
เมื่อเราปรารถนาเป็นผู้ที่มีจิตที่สูง เมื่อเราปรารถนาให้สงบในจิตใจ ก็เพิ่งสามารถทำได้ด้วยการเข้าใจคำว่าจิตกับความคิดควบคู่กัน
ถ้าเราคิดแล้วในมุมที่ไม่ดีแล้ว เรามาสำนึกรู้ทีหลังคำว่า ทีหลังแม้จะหลังจากที่คิดไปแล้ว 1 นาทีหรือ 1 วินาทีก็ถือได้ว่าเป็นการตามดูจิตยังไม่ทันพร้อมกับจิต
เพราะถ้าเราสามารถพร้อมกับจิตได้ความคิดเรานั้นจะไม่เกิดขึ้น พ่อแม่ครูบาอาจารย์จึงบอกว่าพยายามมีความรู้สึกตัวก่อนความคิดจะเกิดขึ้น
นั่นหมายความว่าเราต้องไม่ไปตามดูจิต ไปเพ่งจิตแต่เราต้องมีความรู้สึกตัวก่อนที่จิตจะคิดนั่นแหละจึงจะถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
คนธรรมดาสามัญทั่วไปแค่เห็นความคิดเห็นจิตใจเพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ชีวิตเจริญขึ้นได้แล้ว ทำให้ชีวิตมีความสุขได้แล้ว
ดังนั้นเรามาฝึกกันพยายามคิดอะไรไปในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าที่จะไปปฏิฆะสิ่งต่างๆ รอบตัว เพราะการที่เราเข้าใจจิตใจของตัวเราเอง มันย่อมทำให้เกิดความสงบที่เจือไปด้วยปัญญา หาใช่เป็นการเข้าใจแบบงมงาย
เปลี่ยนวิธีคิดชีวิตจึงแตกต่างด้วยเหตุผลดังนี้แหละ