หลายคนรู้จักคำว่า ธรรมะ แต่หลายคนอีกเช่นเดียวกัน อาจจะให้ความหมายของคำว่าธรรมะ ที่แตกต่างกันไป
จนบางครั้ง อาจจะสับสนว่า แล้วคำว่าธรรมะโดยแท้จริง คืออะไรกันแน่ เน้นเป็นเรื่องของฝ่ายกุศลเพียงอย่างเดียว หรือฝ่ายอกุศลเราก็รวมเรียกว่าธรรมะ
ท่านเจ้าคุณพุทธทาส ได้ให้ คำว่าธรรมะไว้
1 ธรรมชาติ
2 กฎของธรรมชาติ
3 หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
4 การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
ข้อแรก คำว่า ธรรมชาติ ในความหมายของคำว่าธรรมชาตินั้น เป็นไปได้ที่หมายถึงรวมทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งฝ่ายกุศล และฝ่ายอกุศล
เมื่อเข้าใจข้อแรกแล้วว่า ธรรมะแท้จริงคือธรรมชาติ และรวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ ข้อต่อมา กฎของธรรมชาติ ก็ย่อมจะปรากฏขึ้น เพราะว่าอะไร เพราะว่า เราจะได้รับผลของการสร้างเหตุอันมาจากธรรมชาติที่เรากระทำนั่นเอง
ถ้าเราเข้าใจคำว่าธรรมะในลักษณะนี้ ความสับสนเกี่ยวกับคำว่าธรรมะ จะสลายหายสิ้นไป ส่วนชีวิตเราจะเลือก ปฏิบัติธรรมะในฝ่ายไหนในฝ่ายกุศลหรืออกุศลก็สุดแท้แต่ตัวเราเป็นผู้เลือกและกระทำ
สุดท้ายแล้วผลจากการกระทำนั้น จะมาเกื้อกูลตัวเราเอง หรือจะมาถล่มเราให้ย่อยยับ ก็ย่อมเป็นเรื่องที่ชอบทำแล้วทั้งสิ้น
แต่ก็มีอีกสิ่งหนึ่งที่ อาจจะกล่าวว่าเป็นเรื่องนอกเหตุเหนือผล นั่นคือเรื่องของกรรมเก่า ถ้าเรามีกรรมเก่าที่ดีแล้ว แม้ว่า ในปัจจุบันนี้เราสร้างกุศลน้อย แต่ผลบุญในอดีตชาติอาจจะมาส่งเสริม ได้พบกับสิ่งที่ดีงามได้พบกับโอกาสของชีวิต ที่ดีก็ได้
ดังนั้นคำว่าธรรมะจึงควรจะรวมถึงเรื่องของกรรมเก่าในอดีตชาติ เอาไว้ด้วยอีกหนึ่งปัจจัย เพราะถ้าขาดมุมนี้ อาจจะทำให้คำว่าธรรมะนั้น ไม่ครอบคลุมอย่างสมบูรณ์ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
เพราะเรื่องกรรมเก่า เป็นสิ่งที่ เหลือกฎแห่งธรรมชาติในปัจจุบัน ที่มนุษย์อาจจะเข้าไม่ถึงสัมผัสไม่ได้ ด้วยหลักเหตุและผล จึงไม่แปลกที่ใครบางคน ทำความดีน้อยแต่ชีวิตได้รับโอกาสที่ดี นั่นก็เป็นเพราะ กรรมเก่าในอดีตชาติ ส่งผลดีมาให้นั่นเอง
เราลืมกรรมแต่กรรมไม่ลืมเรา คือ อีกหนึ่งความจริงที่อยากฝากไว้ ให้ได้ลองพิจารณา เพื่อนำเอามาปรับใช้กับชีวิต