“นวัตกรรมอาหารไทย 4.0” โอกาสทอง SMEs ขยายลู่ทางการค้าต่างแดน

28 มี.ค. 2560 | 10:06 น.
อัปเดตล่าสุด :28 มี.ค. 2560 | 17:06 น.
นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของไทย ข้อมูลจากสถาบันอาหารระบุว่าการ ส่งออกอาหารของไทยในปี 2559 มีมูลค่าสูงถึง 9.7 แสนล้านบาท หรือ คิดเป็น 12.8% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ และไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหาร เป็นลำดับที่ 12 ของโลกอีกด้วย สำหรับแนวโน้มในปี 2560 นี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกอาหารของไทยจะเพิ่มสูงขึ้น ถึง 10.5 ล้านล้านบาท

ประกอบกับโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ที่ดูแลรับผิดชอบโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สวทน. เพื่อให้เมืองนวัตกรรมอาหารเป็นศูนย์กลางของการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมที่จะมีผลต่อการวางรากฐานการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารไทยในอนาคต  โดยโครงการเมืองนวัตกรรมอาหารนี้ จะส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐได้มี การเคลื่อนย้ายไปปฏิบัติงานจริงในภาคเอกชนเพื่อร่วมกันพั ฒนานวัตกรรมอาหาร และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร โดยมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตพื้นที่ส่งเสริมอีกด้วย”

“จากการประเมินความสามารถ 138 ประเทศทั่วโลกโดยWorld Economic Forum หรือ  WEF เมื่อปี 2559 พบว่าแม้ว่าอันดับความสามารถในก ารแข่งขันของไทยจะอยู่อันดับที่ 34 และเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่อันดับความสามารถด้านนวัตกรร มของไทยกลับอยู่ในอันดับที่ 54 น้อยกว่าอินโดนีเซียที่อยู่อันดับ31 แต่มีความสามารถโดยรวมต่ำกว่าไทย ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้นั้น จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องของนวัตกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นอนาคตของประเทศ เพราะหากเราปรับตัวช้าและไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสรรค์นวัตกรรม จะส่งผลให้ไทยสูญเสียความสามารถ ในการแข่งขันได้”

“ปัจจุบันผู้ประกอบการ SMEs รุ่นใหม่ ไม่ต้องการเป็นเพียงแค่ผู้รับจ้างผลิตเหมือนในอดีต หากแต่ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ จะปรับตัวด้วยการพัฒนาธุรกิจของตนเอง โดยร่วมกับสถาบันวิจัย หรือสถาบันการศึกษา เพื่อให้มีการวิจัยและนำนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และสร้างตราสินค้าของตนเองขึ้นมา ซึ่งผู้ประกอบการกลุ่มนี้ถือเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ธุรกิจอาหารด้วยนวัตกรรมและเป็นความหวังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 ประกอบกับพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในสังคมปัจจุบัน ทำให้อุตสาหกรรมอาหารต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ มีการต่อยอดการพัฒนาด้วยการนำนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มมูลค่าให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีมูลค่าสูง และเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารรุ่นใหม่ๆ จะหยิบนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น พัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ อาหาร Ready to eat อาหารที่เน้นประโยชน์เฉพาะ อาหารเสริมหรืออาหารที่มีผลในเชิงรักษาโรค ฯลฯ ซึ่งนวัตกรรมอาหารจะช่วยทำให้ ผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 5 เท่า รวมถึงเรื่องของการปรุงแต่งอาหารให้เป็นเมนูใหม่ๆ คิดค้นวิธีเก็บรักษาอาหารนั้นให้มีอายุการเก็บที่ยาวนานขึ้น และสะดวกต่อการพกพาเพื่อเดินทาง เช่น การคิดสูตรอาหารลดน้ำหนัก หรือ อาหารคลีนที่สามารถเก็บไว้ในช่องแช่แข็งได้นาน 3-7 วัน การนำวัตถุดิบทางการเกษตรมาแปรรูปด้วยนวัตกรรม ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ที่สามารถลดข้อเสียบางประการของ วัตถุดิบทางการเกษตรนั้นๆ ลงได้ เช่น ทุเรียน ที่มีการนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มรสทุเรียน หรือ แยมรสทุเรียน ที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ของทุเรียน ทำให้คนที่ไม่รับประทานทุเรียนสดๆ เพราะรังเกียจกลิ่น สามารถดื่มเครื่องดื่มรสทุเรียน นี้ได้ โดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจแต่อย่างใด หรือการนำ “คางกุ้ง” ซึ่งเดิมเป็นสิ่งที่หลายๆ คนมองข้าม แต่วันนี้คางกุ้งกลับสร้างมูลค่าเพิ่ม และ รายได้ให้ผู้ประกอบการได้ถึงปีล ะกว่า 20 ล้านบาท หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้น บ้านอย่างส้มตำ ให้เป็นส้มตำอบกรอบที่สะดวกในการพกพาไปที่ต่างๆ และเมื่อจะรับประทานก็เพียงฉีกซองเติมน้ำก็จะได้ส้มตำที่มีรสชาติเหมือนส้มตำที่ตำกันสดๆ เลยทีเดียว หรือนวัตกรรมของการเลาะกะลามะพร้าว เพื่อให้สะดวก และง่ายในการรับประทานทั้งน้ำและเนื้อ โดยลูกมะพร้าวที่เลาะกะลาออกแล้ ว แพ็คด้วยซองพลาสติกสูญญากาศ เมื่อจะรับประทานเพียงฉีกซองพลาสติกออกและใช้หลอดเจาะดูดน้ำ ก็ให้ความรู้สึกและรสชาติที่ไม่ต่างไปจากการดื่มน้ำมะพร้าว ที่ใช้มีดฟันเปลือกและเปิดหัวกะลาสดๆ จากลูกมะพร้าว ฯลฯ”

“การประกอบธุรกิจอาหารในปัจจุบัน ไม่ได้อยู่แค่เพียงที่รสชาติของ อาหารที่ได้รับการปรุงแต่งมาให้ เหมาะสมกับความนิยมการบริโภคในประเทศเท่านั้น หากแต่นวัตกรรมคือความจำเป็นของ การพัฒนาอาหารทั้งเมนูและรูปแบบ ที่จะสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ หลักให้กับประเทศไทยต่อไป”