ในช่วงนี้หากใครไม่รู้จักคำว่า “Thailand 4.0” เรียกได้ว่าตกยุคคงจะไม่อินเทรนด์แน่นอน เพราะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยโมเดลรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นความมุ่งมันอันร้อนแรงของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และทีมรัฐบาลที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เป้าหมาย “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” การเปลี่ยนจากสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”
ภายใต้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม จากโมเดล “Thailand 4.0” เพื่อมุ่งไปสู่ New Engines of Growth เป้าหมายภายใน 5-6 ปีนับจากนี้ ส่งผลให้เกิดกระแสนวัตกรรม-เทคโนโลยี สตาร์ทอัป เข้ามามีอิทธิพลต่อภาคธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการเงินการธนาคารที่จะเห็นการปรับตัวรับกระแส Thailand 4.0 ผ่านนวัตกรรมทางการเงินจ้าละหวั่น เพื่อไม่ให้ตกยุคตกเทรนด์ตามเพื่อนหรือคู่แข่งไม่ทัน ซึ่งคำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ จนคุ้นหู คือ ฟินเทค หรือ Financial Technology ที่หลายสถาบันการเงินมักนำมาเชื่อมโยงการให้บริการทางการเงินกับลูกค้าของธนาคารผ่านระบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบการชำระเงินแห่งชาติ (National e-Payment) ซึ่งเป็นหนึ่งในโรดแมปสำคัญของภาครัฐและหน่วยงานสำคัญของชาติร่วมกันผลักดันให้ไทยก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ซึ่งโครงการสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นและกำลังดำเนินอยู่เพื่อให้ไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทาง จะเป็นโครงการไหนไม่ได้นอกจากบริการ "รับโอนเงินรูปแบบใหม่" หรือ
"พร้อมเพย์" (Promptpay) โดยเริ่มต้นจากธุรกรรมบุคคลต่อบุคคลก่อน เพียงใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือบัตรประชาชนก็สามารถทำธุรกรรมได้อย่างง่ายดาย ถือว่าเป็นการต่อยอดการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ที่มีค่าธรรมเนียมถูกและเริ่มต้นเพียง 2 บาทต่อวงเงินการโอนไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ หากวงเงินต่ำกว่า 5,000 บาทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งดึงดูดให้คนไทยหันมาใช้บริการรับโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ นอกจากจะขับเคลื่อนสู่เป้าหมายสังคมไร้เงินสด แต่ยังเป็นการช่วยลดต้นทุนการเงินของชาติในการบริหารจัดการเงินสดที่ค่อนข้างสูงปีละหลายแสนล้านบาทให้ปรับลดลงด้วย และตอนนี้กำลังขยายไปสู่พร้อมเพย์นิติบุคคล ซึ่งเป็นการยกระดับธุรกรรมการเงินออนไลน์ในยุคดิจิทัลจากบุคคลไปสู่ภาคธุรกิจ
และจากโครงการจุดพุล "พร้อมเพย์" จะเห็นสถาบันการเงินให้ความร่วมมือในการสนับสนุนลูกค้าให้มาผูกบัญชีพร้อมเพย์ โดยงัดแคมเปญโปรโมชั่นต่างๆ นำเสนอลูกค้าออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของโปรดักต์โปรแกรมสำหรับลูกค้าบุคคลและนิติบุคคล หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ทั้งนี้ หากใครยังสงสัยว่าพร้อมเพย์คืออะไรหรือมีดียังไงสามารถคลิกเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
เว็บไซต์กรุงศรี กูรู (Krungsri Guru) ในหัวข้อ
"พร้อมเพย์ มิติใหม่ของวงการการเงิน" ซึ่งได้เขียนอธิบายข้อมูลรายละเอียดไว้ครบทุกแง่มุม ช่วยให้หลายคนที่สงสัยถึงข้อดีข้อเสียได้คลายความกังวลส่วนคนที่ลังเลจะผูกบัญชีพร้อมเพย์ดีหรือไม่ อาจจะช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น หรือจะเป็น
"เชื่อหรือไม่พร้อมเพย์ช่วยเปิดโอกาสทำเงินได้มากกว่าเดิม" ล้วนแต่เป็นบทความที่น่าสนใจและช่วยสร้างความกระจ่างที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับโอนเงินรูปแบบใหม่ "พร้อมเพย์"
ดังนั้น
ภาคธนาคารในยุค Thailand 4.0 ทุกแห่งจะมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่อิงกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งนวัตกรรมที่เข้าถึงลูกค้าและประชาชนได้กว้างและครอบคลุมมากในเวลาอันสั้นคงหนีไม่พ้นโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสมาร์ทโฟนที่ตอนนี้นับว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ที่หลายคนขาดไม่ได้ จะเห็นว่าสถาบันการเงินต่างๆ แข่งขันคิดค้นและพัฒนาการทำธุรกรรมจากรูปแบบดั้งเดิมที่ต้องเดินไปสาขาก็ย่อขนาดไปสู่แอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนที่สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ได้ทุกทีทุกเวลา สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยเหมือนทำธุรกรรมในสาขา และในอนาคตอาจจะเห็นรูปแบบการบริการใหม่ๆ ออกมามากมาย เช่น การขอสินเชื่อผ่านออนไลน์ (E-Lending) การเปิดบัญชีธนาคารโดยสามารถยืนยันตัวตนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-KYC) รวมถึงอนาคตอันใกล้จะเห็นการพัฒนาโดยนำหุ่นยนต์มาช่วยการวางแผนการเงินโดยใช้ฐานข้อมูล (Big Data) มา
วิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบ Machine Learning
และหากต้องการอ่านบทความด้านการเงินดีๆ เพิ่มเติม เพื่อไม่ให้ตกยุคตกเทรนด์พร้อมก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 สามารถคลิกเข้าไปอ่านที่
เว็บไซต์กรุงศรี กูรู ซึ่งจะรวบรวมเนื้อหาสาระไว้มากมาย