อีอีซีเตรียมตอกหมุดโครงสร้างพื้นฐานช้าสุดไม่เกินม.ค.ปีหน้าประเดิมออกทีโออาร์เชิญชวนนักลงทุนร่วมทุนรถไฟความเร็วสูงและศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภากำหนดเงื่อนไขใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 40%
แหล่งข่าวจากสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(สกรศ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(กนศ.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้เห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการและกระบวนการในการร่วมทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ร่วมทุน พ.ศ.2560และกฎหมายลำดับรองอีก6ฉบับ(ประกาศEEC Track)ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี
โดยจะนำมาใช้กับ5 โครงการเร่งด่วนประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา(MRO)โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่3และโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่3ซึ่งทาง สกรศ. ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน และเสนอตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนที่จะมาร่วมทุนแล้ว
ทั้งนี้ หากพิจารณาขั้นตอนการดำเนินงาน จะพบว่าโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา จะสามารถออกหนังสือชี้ชวนการลงทุน(TOR)ได้เร็วสุดในเดือนธันวาคมนี้หรือช้าสุดไม่เกินเดือนมกราคม 2561 และจะคัดเลือกเอกชนและลงนามในสัญญาได้ในเดือนเมษายน 2561 รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะออกทีโออาร์ได้ช้าสุดไม่เกินเดือนมกราคม 2561 เช่นกัน และจะคัดเลือกลงนามสัญญาได้ในเดือนสิงหาคม 2561 ขณะที่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาจะออกทีโออาร์ได้ในช่วงเดือนเมษายน2561คัดเลือกเอกชนและลงนามสัญญาได้ในเดือนตุลาคม 2561
ส่วนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 จะประกาศเชิญชวนนักลงทุนได้ในเดือนพฤษภาคม 2561 คัดเลือกเอกชนและลงนามสัญญาได้ในเดือนธันวาคม 2561และโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 จะประกาศเชิญชวนนักลงทุนได้ในเดือนกันยายน2561คัดเลือกเอกชนและลงนามสัญญาได้ในเดือนเมษายน 2562
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ ถือว่าเป็นโครงการสำคัญเร่งด่วนและเป็นโครงการที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย จึงได้มีการกำหนดทีโออาร์ไว้เช่นขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบต้องมีคนไทยร่วมในกระบวนการศึกษาฯและมีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีแก่บุคลากรไทยเพิ่มเติมจนออกแบบเองได้และสามารถติดตามเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง
ขณะที่การก่อสร้างต้องใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศอย่างน้อย 40% ที่อุตสาหกรรมไทยมีความพร้อมหรือมีศักยภาพในการพัฒนา เช่นเบาะราวยึดไฟส่องสว่าง เครื่องปรับอากาศชิ้นส่วนยางและพลาสติก จอแสดงข้อมูลอุปกรณ์สื่อสารบนรถเป็นต้นโดยให้เสนอเงื่อนไขอย่างน้อยประกอบด้วยต้องจัดตั้งโรงงานประกอบรถไฟในไทยจัดตั้งศูนย์ทดสอบและรับรองชิ้นส่วนสำคัญในประเทศหรือจัดตั้งห้องปฏิบัติการในไทยต้องมีข้อตกลงหุ้นส่วนทางธุรกิจกับภาคเอกชนไทยหรือหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาไทยด้านงานระบบ โดยวิธีการดำเนินงานนั้นจะใช้รูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มีเงื่อนไขและจัดทำข้อกำหนดการพิจารณาคัดเลือกโดยพิจารณาจากผู้เสนอราคาตํ่าสุดเป็นลำดับแรก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,313 วันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560