นมโรงเรียนป่วน!! “โฟโมสต์”ร่วมวง–บีบใช้สิทธิซ้ำซ้อนนมผง

26 เม.ย. 2562 | 04:39 น.
อัปเดตล่าสุด :26 เม.ย. 2562 | 12:49 น.

วงการตื่น!! บิ๊กยักษ์ใหญ่ “โฟร์โมสต์”ขอแบ่งเค้กนมโรงเรียน 1.4 หมื่นล้าน อ้างดูแลเกษตรกรไทยไม่ต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น  แฉกลุ่ม ACPU เต้นเข้าพบ “กฤษฎา” ขอปลดล็อค หวัง 2 เด้ง สิทธินำเข้านง-นมโรงเรียน  วัดใจรัฐมนตรีเกษตรฯ ชี้ชะตา

นมโรงเรียนป่วน!! “โฟโมสต์”ร่วมวง–บีบใช้สิทธิซ้ำซ้อนนมผง

เมื่อวันที่ 23-25 เมษายนที่ผ่านกรมปศุสัตว์ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เปิดรับสมัครผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม)โรงเรียนประจำปีการศึกษา 2562 ซึ่งหลักเกณฑ์นั้นผู้เกษตรกรกร สหกรณ์  ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ที่ใช้สิทธินำนมโคไปให้บริษัทอุตสาหกรรมใช้สิทธิแลกนำเข้าโควตานมผงแล้วจะนำน้ำนมดิบมาเข้าโครงการนมโรงเรียนไม่ได้ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยืนยันหลักการดังกล่าวนี้

นมโรงเรียนป่วน!! “โฟโมสต์”ร่วมวง–บีบใช้สิทธิซ้ำซ้อนนมผง

วันที่ 26 เม.ย.62  แหล่งข่าวผู้สมัครประกอบการในโครงการอาหารเสริม (นม)โรงเรียน  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สมาชิกกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ACPU ประกอบด้วยสมาชิก 11 องค์กร ได้แก่ สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด สหกรณ์โคนมปากช่อง จำกัด สหกรณ์โคนมมวกเหล็ก จำกัด สหกรณ์โคนมท่าม่วงจำกัด บริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด บริษัท คันทรีเฟรช แดรี่ จำกัด บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชัน จำกัด บริษัท เทียนขำ จำกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สมาคมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและแปรรูปผลิตภัณฑ์นม 

นมโรงเรียนป่วน!! “โฟโมสต์”ร่วมวง–บีบใช้สิทธิซ้ำซ้อนนมผง

ได้ร้องเรียนกับนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอใช้สิทธิ์ซ้ำซ้อนนั้นเป็นการเอาเปรียบผู้ประกอบการรายอื่นหรือไม่ อย่างไร เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายในกลุ่มนี้สูงสุดคือได้โควตานมโรงเรียนวันละ 80-90 ตัน/วัน แต่มาขอเพิ่มเป็น 180-200 ตันต่อวัน  โดยอ้างความจำเป็นสาเหตุที่จะต้องใช้สิทธิซ้ำซ้อนเกรงว่านมโรงเรียนจะไม่มีน้ำนมผลิต ซึ่งขัดต่อหลักการ  แล้วคนอื่นรักษากติกา และมารยาท จะต้องถามว่าทำถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นคนที่ “ขาดโอกาส” ก็คือ คนที่ "รักษากติกา"

นมโรงเรียนป่วน!! “โฟโมสต์”ร่วมวง–บีบใช้สิทธิซ้ำซ้อนนมผง

ผลจากการปิดรับสมัครไปที่ฮือฮาที่สุด "กลุ่มบริษัทโฟร์โมสต์" ก็มาสมัครนมโรงเรียนแล้วประเทศไทยจะอยู่ได้อย่างไร โดยเข้ามาสมัคร 2 พื้นที่ ได้แก่ เขต 1 จังหวัดสมุทรปราการ  และเขต 2 จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 10 ตัน หากเข้ามาอย่างนี้ผู้ประกอบการรายอื่นตายหมด แล้วไม่สมควรมาเล่น เป็นบริษัทต่างชาติ โดยอ้างว่าดูแลเกษตรกรเช่นเดียวกับรายอื่นที่เข้าโครงการนมโรงเรียนก็ฟังไม่ขึ้น 

อย่างไรก็ตามวันนี้ทางกรมปศุสัตว์จะสรุปผู้สมัครที่เข้าร่วมโครงการนมโรงเรียนมีกี่ราย แต่ละรายมีน้ำนมดิบที่เสนอเข้าโครงการมีทั้งหมดกี่ตัน แล้วจะจัดสรรได้ในแต่ละรายเท่าไร จะสรุปผลทั้งหมด “ฐานเศรษฐกิจ” จะติดตามรายงานความคืบหน้าต่อไป