“เที่ยวปันสุข -เราไปเที่ยวกัน” ต้องอายุเท่าไหร่ ถึงมีสิทธิ์ลงทะเบียนรับเงินเที่ยว

16 มิ.ย. 2563 | 04:03 น.
อัปเดตล่าสุด :16 มิ.ย. 2563 | 06:09 น.

คลายข้อสงสัย 2 แพ็คเกจกระตุ้นท่องเที่ยว “เที่ยวปันสุข -เราไปเที่ยวกัน” อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี หรือไม่ต่ำกว่า 20 ปี ถึงมีสิทธิ์ "ลงทะเบียน" รับเงิน-ส่วนสด ไทยเที่ยวไทย

หลายคนกำลังตั้งคำถามเกี่ยวกับอายุของผู้ที่มีสิทธิ์ลงทะเบียนจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ไทยเที่ยวไทย 3 แพ็คเกจ ประกอบด้วย “เที่ยวปันสุข - เราไปเที่ยวกัน - กำลังใจ” วงเงิน 2.2 หมื่นล้านบาท เพื่อกระตุ้นให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ช่วง 4 เดือนนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ไปจนถึงเดือนตุลาคม 2563

“ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบพบว่า มาตรการกระตุ้นไทยเที่ยวไทย ใน 2 แพ็คเกจ คือ “เที่ยวปันสุข” และ “เราไปเที่ยวกัน” เดิมกำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิ์ลงทะเบียนจะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี แต่หลังจากหน่วยงานต่างๆได้หารือร่วมกันแล้วเห็นว่าควรปรับอายุของผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนเป็น 20 ปีขึ้นไป

"เที่ยวปันสุข" ได้ข้อสรุปแล้ว รับสิทธิ 3 เด้ง "แจกเงินเที่ยว" เช็กด่วน

จับตา 4 เทรนด์ใหม่ ‘ท่องเที่ยวไทย’ หวังรายได้ 1.2 ล้านล้าน

"เที่ยวปันสุข" อัด 2 หมื่นล้าน 3 โครงการ ปลุก "ไทยเที่ยวไทย"

"เที่ยวปันสุข" สายการบิน -รถเช่า จัดโปรรับแจกเงิน "ไทยเที่ยวไทย"

ดีเดย์ 1 ก.ค. เปิดเที่ยวอุทยานแห่งชาติ 127 แห่งทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตามในประเด็นดังกล่าวยังต้องรอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอีกครั้งว่าผู้ที่จะได้รับสิทธิ์ลงทะเบียนจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวใน 2 แพ็คเกจ ทั้ง“เที่ยวปันสุข” และ “เราไปเที่ยวกัน” ควรมีอายุเท่าไหร่ เนื่องจากในมาตรการเยียวยา 5,000 บาท "เราไม่ทิ้งกัน" กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงิน เป็นบุคคลสัญชาติไทยอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

ล่าสุดที่ประชุมครม.เห็นชอบให้ผู้ที่มีสิทธิ์ลงทะเบียนในแพ็คเกจ “เที่ยวปันสุข” และ “เราไปเที่ยวกัน” ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป

สำหรับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ไทยเที่ยวไทย ใน 3 แพ็คเกจ เบื้องต้นมีรายละเอียด ดังนี้

แพ็คเกจ “เที่ยวปันสุข” เป็นการช่วยเหลือสายการบินต้นทุนต่ำ รถเช่า โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายค่าเดินทางในอัตรา 40% แต่ไม่เกิน 1,000 บาท เบื้องต้นสายการบินต้นทุนต่ำที่เข้าร่วมโครงการให้กำหนดราคาขายตั๋วเครื่องบินเในประเทศไป-กลับ ในราคา 2,500 บาท

แพ็คเกจ “เราไปเที่ยวกัน” เป็นการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทย โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายโรงแรม ที่พักในอัตรา 40% ต่อคืน ไม่เกิน 3,000 พันบาทต่อคืน สูงสุดไม่เกิน 5 คืน หรือ 15,000 บาท และสนับสนุนเงินในลักษณะวงเงินอีวอลเล็ท หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้ 600 บาทต่อคืน สูงสุดไม่เกิน 5 คืน หรือ 3,000 บาท เพื่อให้นำไปใช้จ่ายกิจกรรมในด้านการท่องเที่ยวอื่นๆเช่นใช้บริการสปา ซื้อของที่ระลึก ร้านอาหาร แต่ไม่ได้นำไปใช้จ่ายภายในระยะเวลาการเดินทางท่องเที่ยวก็จะถูกยึดคืน

แพ็คเกจ “กำลังใจ” เพื่อตอบแทนบุคลากรแนวหน้าในการรับมือโควิด-19 โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) รวม 1.2 ล้านคน โดยจะให้ได้รับสิทธิพิเศษเดินทางท่องเที่ยวฟรีผ่านบริษัทนำเที่ยว 2 วัน 1 คืน โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ 2,000 บาทต่อคน

16 มิถุนายน 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศ จะไม่ใช่เพียงการแจกเงินให้ท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่ยังมีมาตรการทางลดหย่อนภาษี และมาตรการจูงใจต่าง ๆ ด้วย