นายแพทย์พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้ป่วยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ นับเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนโดยรวม
ดังนั้น เมดพาร์ค จึงมุ่งเน้นให้ผู้ใช้บริการได้รับความคุ้มค่ามากที่สุด ภายใต้แนวคิด Value-Based Care มีเป้าหมายพัฒนาโรงพยาบาลเมดพาร์คให้เป็นทางเลือกใหม่ที่มีความแตกต่างชัดเจน ซึ่งผลการดำเนินงานใน 6 เดือนที่ผ่านมา ได้กระแสตอบรับดีมาก โดยมียอดผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย 20 %ต่อเดือน
ทั้งนี้โรงพยาบาลได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการสร้างระบบการจัดการให้มีความปลอดภัยจากการติดเชื้อ และได้รับความไว้วางใจจากองค์กรและสมาคมต่างๆ เข้ามาศึกษาดูงานและเยี่ยมชมโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
คาดว่าหลังจากเดือนพฤษภาคมนี้ โรงพยาบาลจะเติบโตเฉลี่ยเดือนละ 30% ปัจจุบันสามารถรองรับผู้ป่วย 205 เตียง โดยมีผู้ป่วยนอกเข้ารับการรักษาราวๆ 200 เคส
“เราพยายามสนับสนุนการเปลี่ยนระบบการรักษาของไทยไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง เพราะตั้งเป้าหมายที่จะเป็นโรงพยาบาลที่รักษาโรคยากและโรคซับซ้อน ที่ต้องใช้พละกำลังของบุคลากรทางการแพทย์หลายฝั่งเข้ามาร่วมด้วย
เป้าหมายของโรงพยาบาลคืออย่างน้อยต้องแซงหน้าสิงคโปร์ เพราะสิงคโปร์มีจำนวนคนไข้ต่างชาติเข้าไปรักษาน้อยกว่าประเทศไทย แต่สามารถสร้างมูลค่าจากการรักษาตรงนั้นมากกว่าเราถึง 4 เท่า ดังนั้นเราจะเน้นไปที่คนไข้ต่างชาติเพราะเรามีคนไข้ต่างชาติที่เข้ามารักษามากกว่า 50% ต่อไปเรามองถึงการเปิด ASQคาดว่าจะช่วยเสริมการเติบโตทางฝั่งของคนไข้ต่างชาติได้ ”
รศ.นพ. ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยาและต้อหิน นำเสนอการออกแบบเลนส์แก้วตาและการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง (State-of-The-Art technique) ในการรักษาต้อกระจกแบบเฉพาะตัว (customized vision)
“การออกแบบเลนส์แก้วตาเทียมให้ตรงกับความต้องการเฉพาะตัว เป็นเป้าหมายใหม่ของการรักษาต้อกระจก ที่ต้องอาศัยจักษุแพทย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ตั้งแต่การตรวจวิเคราะห์ การออกแบบเลนส์ การสลายต้อ และการตรวจสอบค่าความถูกต้องของเลนส์ เพื่อให้เกิดความแม่นยำสูงสุด
ซึ่งเมดพาร์คเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลไม่กี่แห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความพร้อมทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีชั้นสูงอย่างครบวงจร"
นพ.บัณฑิต สุนทรเลขา ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการและมีประสบการณ์สูงด้านการผ่าตัดส่องกล้อง กล่าวว่า แพทย์จะให้ความสำคัญในการตรวจวินิจฉัยคนไข้แต่ละรายอย่างละเอียด เพื่อวางแผนการรักษาให้ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละราย ที่สำคัญ มีการทำงานเป็นทีม เช่น วิสัญญีแพทย์ พยาบาล รังสีแพทย์ แพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ความปลอดภัยของผู้ป่วย
นอกจากนี้ เมดพาร์คจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ ซึ่งจะเป็นสิ่งจำเป็นมากในอนาคต เพราะจะทำให้การผ่าตัดแม่นยำมากยิ่งขึ้น และผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด กล่าวว่า การสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และใส่ขดลวดนั้น จำเป็นต้องอาศัยทักษะและความชำนาญของแพทย์เป็นสำคัญ นำประสบการณ์และทักษะมาประยุกต์ร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อรักษาคนไข้ในรายที่ยากและซับซ้อนให้ได้ผลสำเร็จ
ผศ.นพ.มนต์เดช สุขปราณี แพทย์ผู้ชำนาญการสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์กรสำคัญยิ่งของเมดพาร์ค คือการนำเอาประสบการณ์ทั้งหมดในอดีต องค์ความรู้ในปัจจุบัน และนวัตกรรมใหม่มาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของผู้ที่เข้ารับการรักษา
และที่สำคัญคือ การติดตามตรวจสอบเพื่อแก้ไขระบบและบริการของเมดพาร์คให้สูงกว่ามาตรฐานตลอดเวลา อาทิ ระบบ real-time monitoring system หรือระบบการตรวจวัดค่าการกรองอากาศ ที่บ่งบอกถึงสถานะค่าความปลอดเชื้อของอากาศ ที่สามารถตรวจสอบได้แบบ real-time
ผศ.นพ.มนต์เดช ยังให้ความเห็นอีกว่า ในสถานการณ์ที่ยังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ คนไทยควรมีอิสระในการเลือกชนิดของวัคซีนด้วยตนเอง ในขณะที่ภาครัฐต้องให้ข่าวสาร ข้อมูลครบถ้วนและรอบด้าน เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกและผลกระทบต่างๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการตัดสินใจเพื่อสุขภาพของตนเอง
นอกจากการจัดกิจกรรม "Value Challenge and Experience at MedPark" โรงพยาบาลเมดพาร์คได้แถลงเปิดตัวภาพยนต์ประชาสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าที่สื่อถึงความมุ่งมั่นและสำนึกทางสังคมที่ชวนให้คิดถึงการทำสิ่งใหม่ๆ ถึงสามชุด
นายเคิร์ท เจ. ชโรเดอร์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวว่า “จากความมุ่งมั่นที่จะเป็น “New Approach to Healthcare” เราตีความ และถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องเล่า (Story Telling) ที่ ผ่าน Mood & Tone ที่คนไทยสามารถเข้าถึง สัมผัส และเข้าใจได้โดยง่าย โดยโครงเรื่องจะนำปัญหาที่คนไทยต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน มาตั้งคำถามกับคนดู ว่าเราจะทำให้ดีกว่านี้ได้ไหม What if...?
เรื่องราวจะถูกเชื่อมโยงกลับเข้าสู่การให้บริการทางการแพทย์ซึ่งเราต่างก็มองเห็นถึงปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ คณะผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลเมดพาร์ค จึงมาร่วมกันลงมือทำ เพื่อเปลี่ยนแปลงบางสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้..”
นางสมถวิล ปธานวนิช หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษาคณะจัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค เสริมว่า “เพราะทุกคำถาม ทำให้เกิดการลงมือทำ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ด้วยวิธีการใหม่ๆ จึงเกิดเป็นภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ชุดที่สอง“ที่นี่ร่วมออกแบบโดยทีมแพทย์ l Crafted by Doctors”
โดยมีการโยนไอเดีย และการตั้งคำถามของคุณหมอที่ร่วมออกแบบในทุกรายละเอียด และภาพยนตร์ชุดที่สาม “วัฒนธรรมใหม่ของการรักษา l MedPark Formula” เป็นการสาธิตวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายใต้แนวคิด Integrated Care เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ที่รวดเร็ว และเต็มประสิทธิภาพ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :