เกษตรฯ คุมเข้มมาตรการสกัดปัจจัยการผลิตไม่ได้คุณภาพสู่เกษตรกร ล่าสุดแจ้งความดำเนินคดีกับ 2 ผู้นำเข้าแล้ว หลังกรมวิชาการตรวจพบวัตถุอันตรายที่ไม่มีทะเบียนและใบอนุญาตนำเข้า ผลตรวจชี้เป็นสารกำจัดแมลงที่ อยู่ในกระบวนการขอยกเลิกการขึ้นทะเบียน 2 รายการ
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่ าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายสำคัญในการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โดยเฉพาะเรื่องปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ป้องกันการเอาเปรียบเกษตรกร ซึ่งได้สั่งการกรมวิชาการเกษตรและหน่วยที่เกี่ยวข้องดำเนินการการควบคุมคุณภาพปัจจัยการผลิตด้านปุ๋ย วัตถุอันตรายและพันธุ์พืชให้มี คุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเตรียมการเข้าฤดูเพาะปลูกใหม่ ของเกษตรกร แบ่งเป็น 6 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 1 การควบคุมโดยออกใบอนุญาตและการขึ้นทะเบียน มาตรการที่ 2 การควบคุมการนำเข้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร มาตรการที่ 3 การควบคุมการผลิตและการจำหน่ายภายในประเทศ มาตรการที่ 4 การประชาสัมพันธ์ มาตรการที่ 5. โครงการร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ( Q shop) มาตรการที่ 6. การปราบปรามผู้ฝ่าฝื นกฎหมายและควบคุมการโฆษณา
สำหรับการขับเคลื่อนทั้ง 6 มาตรการนั้น กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการปล่อยขบวนสารวัตรเกษตร หาข้อมูลและตรวจสอบอย่างเข้มงวด ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา เพื่อรวบรวบข้อมูลจากผลการตรวจสอบเป็นฐานในการแจ้งให้สารวัตรเกษตรเครือข่ายเข้มงวดในการควบคุมโรงงานที่ผลิตสิ นค้าที่ไม่ได้คุณภาพ เพื่อประกอบการดำเนินคดี และพักใบอนุญาตหรือปิดโรงงานต่อไป
ด้านนายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากผลการดำเนินการผลการปฏิบัติ งานควบคุมปัจจัยการผลิตให้ได้คุณภาพของกรมวิชาการเกษตร ระหว่างวันที่ 9 มกราคม - 3 พฤษภาคม 2559 โดยเข้าตรวจสถานที่ผลิ ตและจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 19,935 แห่ง ผลตรวจวิเคราะห์การเก็บตัวอย่างปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ประกอบด้วย ปุ๋ย 454 ตัวอย่าง ผลวิเคราะห์ พบว่า ผ่าน 130ตัวอย่าง ไม่ผ่าน 44 ตัวอย่าง รอผล 280 ตัวอย่าง วัตถุอันตราย 325 จากตัวอย่าง พบว่า ผ่าน 184 ตัวอย่าง ไม่ผ่าน 11 ตัวอย่าง รอผล 130 ตัวอย่าง เมล็ดพันธุ์ควบคุม169 ตัวอย่าง ผลวิเคราะห์ พบว่า ผ่าน 76 ไม่ผ่าน 1 รอผล 92 ตัวอย่าง
ด้านนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนโยบายด้านการดูแลปัจจัยการผลิตแล้ว กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตร ยังรวมไปถึงระบบการดูแลคุณภาพผลผลิตGAP ภายใต้มาตรฐานสากลของ FAO เป็นมาตรฐานหลักในการรับรอง โดยพืชที่ได้รับการรับรองขณะนี้ มี 75 พืช ในพื้นที่ของเกษตรกรกว่า 200 ราย ซึ่งมีขั้นตอนดำเนินการโดยเกษตรกรที่มีความพร้ อมสมัครเข้าร่วมโครงการ มีการตรวจรับรองระบบการผลิต ตรวจสอบผลผลิตโดยการสุ่มตรวจ ในปีนี้มีแผนออกสุ่มตรวจผลผลิ ตใน 8,905 ตัวอย่าง จากฟาร์มเกษตรกร เน้นตรวจสอบสารเคมีตกค้างและจุ ลินทรีย์ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาได้มี การสุ่มตัวอย่างผลผลิตจากฟาร์ มที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 3,588 ตัวอย่าง พบเพียง 7 ตัวอย่าง ที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีเกิ นมาตรฐาน ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนิ นการยกเลิกการรับรองระบบในทันที
ด้านการดูแลการควบคุมปัจจัยการผลิต เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมากรมวิ ชาการเกษตรได้รับแจ้งจากด่านศุ ลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ว่าได้อายัดวัตถุอั นตรายทางการเกษตรไว้จำนวน 20.2 ตัน ซึ่งเป็นสินค้าที่มีการนำเข้ าโดยบริษัทเอกชน 2 ราย เนื่องจากไม่มีใบทะเบียน และใบอนุญาตนำเข้าซึ่งเป็ นความผิด ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่กรมวิชาการเกษตรดูแลอยู่
ต่อมาบริษัทได้มีหนังสือแจ้งว่ าสินค้าดังกล่าวส่งมาผิด จึงจะขอส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง กรมวิชาการเกษตรเกรงว่าสินค้าดังกล่าวจะถูกลักลอบนำกลับเข้ามายังประเทศไทยอีก จึงได้มอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุอันตรายทางการเกษตร นักวิชาการ นิติกร และเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชท่ าเรือแหลมฉบังของกรมวิ ชาการเกษตร ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักสื บสวนและปราบปรามของกรมศุ ลกากรไปตรวจสอบเพื่อให้ทราบแน่ ชัดว่า เป็นวัตถุอันตรายชนิดใด
ล่าสุดผลการตรวจสอบพบว่า เป็นสารกำจัดแมลงตามบัญชีวัตถุ อันตรายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบจำนวน 6 รายการ ในจำนวนนี้ 5 รายการ เป็นสารเข้มข้นมากกว่า 90% ได้แก่ คาร์โบฟูราน (carbofuran)ไพมีโทรซีน (pymetrozine) อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) ไทอะโคลพริด (thiacloprid) และไซโปรโคนาโซล(zyproconazole) รวม 4.2 ตัน และตรวจพบ เมโธมิล(methomyl) สูตร 40% SP ซึ่งเป็นสารสำเร็จรูปอีก 16 ตัน
ทั้งนี้ วัตถุอันตรายที่ตรวจสอบดังกล่าวมีวัตถุอันตราย 2 รายการ คือ คาร์โบฟูราน และ เมโธมิลที่กรมวิชาการเกษตรไม่ อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนมาหลายปีแล้ว เพราะเป็นสารที่อยู่ ในกระบวนการขอยกเลิกการใช้ (ban)
“วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ บริษัทนำเข้ามาโดยไม่มีทะเบี ยนและใบอนุญาต เป็นการกระทำความทำผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และหากสารเหล่านี้หลุดรอดไปได้ สามารถนำไปผสมเจือจางเป็ นสารกำจัดแมลงที่ขายตามท้องตลาดได้มากกว่า 40 ตัน ไม่นับรวม เมโธมิลที่จำหน่ายได้เลย การเฝ้าระวังของกรมวิชาการเกษตรร่วมกับกรมศุลกากรจึงเป็นการเฝ้าระวังตั้งแต่ต้น ทางของการกำกับดูแลการใช้ สารเคมีทางการเกษตรทั้งระบบ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว