นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. เปิดเผยว่า สำนักงานพื้นที่พิเศษ 4 (อพท. 4) และจังหวัดสุโขทัย ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ “Sukhojai Lifelong Learning” ในรูปแบบออนไลน์
ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่คนที่สนใจในทุกช่วงวัย ซึ่งจะมีประโยชน์ในเรื่องของการเพิ่มทักษะสำหรับ ผู้กำลังมองหาอาชีพ หาแรงบันดาลใจ หากิจกรรมที่ทำแล้วผ่อนคลาย หรือต้องการหาความรู้
ปัจจุบัน อพท. และจังหวัดสุโขทัย ได้ร่วมกันผลักดัน “สุโขทัย” เข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ ของยูเนสโก หรือ UNESCO Global Network of Learning Cities : GNLC
ซึ่งมีสมาชิกเป็นเครือข่ายอยู่กว่า 229 เมือง จาก 64 ประเทศทั่วโลก ทำให้สุโขทัยได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO กระทรวงศึกษาธิการ เป็น 1 ใน 3 ตัวแทนประเทศไทย และรอการพิจารณารับรองจาก UNESCO ต่อไป
หากสุโขทัยได้รับเลือก จะส่งผลดีต่อพัฒนาความยั่งยืนของเมือง การตลาดท่องเที่ยวของพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นที่รู้จัก และเป็นเป้าหมายของการเดินทางทั้งในเครือข่ายสมาชิก GNLC และนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการเรียนรู้ทางด้านศิลปะ และหัตถศิลป์ต่างๆ ที่มีอยู่ในจังหวัดสุโขทัย
"อพท. เปิดกว้างให้ผู้สนใจเข้าชมกิจกรรมดังกล่าวโดยไม่มีตค่าใช้จ่ายผ่านช่องทาง Facebook page : Dasta4Traval หรือ Sukhothailearningcity ระหว่างเวลา 14.00 -15.00 น. ระหว่างวันที่ 14-28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยเชิญปราชญ์ชุมชนมาร่วมสาธิตงานศิลปะพื้นบ้านในรูปแบบต่างๆ รวม 9 ชุมชน พร้อมเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้เห็นและเรียนรู้ การทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานับร้อยปี"
นาวาอากาศเอกอธิคุณ กล่าวอีกว่า เพื่อยกระดับเมืองสร้างสรรค์สุโขทัย ด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ขององค์การยูเนสโก และตอกย้ำการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก หรือ UCCN ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน จึงได้มีการจัดกิจกรรมดังกล่าว
สำหรับในช่วงที่ประเทศไทยเริ่มมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยวจะเป็นกลไกลสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดเงินสู่ท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่ง อพท. ในฐานะหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนของประเทศ เห็นความสำคัญในการยกระดับและเตรียมความพร้อมให้กับแหล่งท่องเที่ยว และชุมชนในพื้นที่พิเศษ เพื่อเป็นต้นแบบของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้ผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ และกลับไปพัฒนาในชุมชนหรือพื้นที่ของตัวเอง
กิจกรรมดังกล่าวนี้ จึงถือเป็นการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์สุโขทัย เพื่อเตรียมความพร้อมและรักษามาตรฐานการให้บริการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
และแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ที่นำเอาวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์มาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเมือง เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และความยั่งยืนของชุมชน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายรัฐบาล
สำหรับ 9 ชุมชน ที่จะมาสาธิตและถ่ายทอดงานศิลปะในรูปแบบออนไลน์ ประกอบด้วย