เมืองการบินอู่ตะเภาเคว้ง "เจ้าสัวคีรี" ขู่ไม่ใส่เงิน จี้เบรกขยายดอนเมือง-สุวรรณภูมิ

15 ก.พ. 2565 | 04:57 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ก.พ. 2565 | 13:40 น.

เมืองการบินอู่ตะเภาระส่ำเจ้าสัวขู่ไม่ใส่เงินลงทุน แจงชัดใน จดหมาย "เจ้าสัวคีรี" จี้“นายก เบรก ทอท.ขยายสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ลั่นผิดข้อผูกพันในสัญญาร่วมลงทุน รัฐต้องชดเชยความเสียหายให้โครงการฯ วงในระบุเป็นการต่อรองหวังผ่อนผันลดค่าสัมปทานในสัญญาร่วมลงทุน

เปิดจดหมายเปิดผนึกเจ้าสัว“คีรี กาญจนพาสน์”ระธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA  ร่อนหนังสือถึงนายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 เรื่อง การป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาดตะวันออก และก่อให้กิตเหตุผ่อนผันที่ภาครัฐต้องเยียวยา อันเนื่องมาจากการพัฒนาขยายสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง

 

โดยระบุว่าตามที่เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ("สกพอ.") และบริษัท อู่ตะเกา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด ("บริษัทฯ") ได้ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก รวมถึงกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (ซึ่งต่อมาได้รับการคัดเลือกและเป็นผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในปัจจุบัน) ("กลุ่มกิจการร่วมค้า BBS” ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด เหตุผลและความจำเป็นขอรัฐบาลในการพัฒนาโครงการฯจากข้อมูลที่จัดทำโดยภาครัฐว่ารัฐบาลมีนโยบายพัฒนาโครงการฯ เพื่อทำให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินหลักแห่งที่สามของกรุงเทพมหานคร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สนามบินอู่ตะเภาสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

อันเนื่องมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในขณะนั้นขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารที่มีอยู่เดิมของสนามบินสุวรรณภูมิ (รวมจำนวนขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของโครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ซึ่งรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการแล้ว) มีจำนวน 60 ล้านคนต่อปี และสนามบินดอนเมืองมีจำนวน 30 ล้านคนต่อปี ไม่สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากได้ จากที่กล่าวข้างต้นนั้น กลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ได้ให้ความสำคัญกับข้อมูลดังกล่าว โดยถือเป็นสาระสำคัญที่นำมาใช้เป็นสมมติฐานในการจัดเตรียมและยื่นข้อเสนอเข้าร่วมลงทุนในโครงการฯ

 

เมืองการบินอู่ตะเภาเคว้ง \"เจ้าสัวคีรี\" ขู่ไม่ใส่เงิน จี้เบรกขยายดอนเมือง-สุวรรณภูมิ

 

ซึ่งต่อมาเมื่อกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมเจรจาร่างสัญญาร่วมลงทุนของโครงการฯกลุ่มกิจการร่วมค้าBBS ได้นำข้อมูลภาครัฐดังกล่าวข้างต้นมาใช้ประกอบในการเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกและคณะทำงานเจรจาของภาครัฐ พิจารณาถึงความสำคัญของประเด็นเรื่องการขยายพัฒนาสนามบินเพิ่มเติมและการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตปลอดอากรที่มีลักษณะเดียวกันกับโครงการฯ เพิ่มเติมของรัฐบาล

ในพื้นที่ภายในระยะทาง 200 กิโลเมตรจากกรุงเทพมหานคร และสนามบินอู่ตะเภา ว่าจะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อโครงการฯ และทำให้ไม่สามารถพัฒนาโครงการฯ ให้สำเร็จตามนโยบายของรัฐบาลได้ และปรากฏต่อมาว่าภาครัฐและกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ได้บรรลุผลการเจรจาในประเด็นนี้ โดยเอกสารสรุปผลการหารือคณะทำงานเจรจารายละเอียดด้านเทคนิค ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ที่คู่สัญญาตกลงและใช้ตีความเนื้อหาในสัญญาร่วมลงทุนได้ระบุว่า

 

หากมีการพัฒนาสนามบินที่มีลักษณะทำให้ส่งผลกระทบต่อโครงการฯและการจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และ/หรือเขตปลอดอาการ (Free Zone)เพิ่มเติมที่มีลักษณะเดียวกับเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก(EECa) และเขตปลอดอากร(Free Zone) ที่จะจัดตั้งในพื้นที่โครงการจะเข้าข่ายเป็นเหตุผ่อนผันภายใต้สัญญาร่วมลงทุน ซึ่งภาครัฐจะต้องเยียวยาความเสียหายที่โครงการฯและบริษัทฯได้รับจากการดำเนินการดังกล่าว

 

อย่างไรก็ตามภายหลังการลงนามในสัญญาร่วมลงทุน ได้ปรา กฎในสื่อสาธารณะว่าเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถของอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในคราวการประชุมที่ 2/2564 ได้มีมติเห็นชอบแผนดำเนินงาน (Action Plan) การเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งประกอบด้วยโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิ ด้านทิศตะวันออก(East Expansion) ด้านทิศเหนือ (North Expansion) และด้านทิศตะวันตก (West Expansion)"' เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิ อีก 60 ล้านคนต่อปีและปรากฎในสื่อสาธารณะต่อมาอีกว่า เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ("ทอท.") อยู่ระหว่างดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการพัฒนาทำอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินดอนเมือง เป็น 50 ล้านคนต่อปี"

 

อีกทั้งได้ปรากฎในสื่อสาธารณะ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ว่า บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้เริ่มดำเนินการตามแผนโครงการแอร์พอร์ตซิตี้ (Airport City) ใน 6 สนามบิน รวมถึงสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง โดยได้เริ่มพิจารณาข้อเสนอจากภาคเอกชนที่จะเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาที่ดินบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์

 

บริษัทฯ ได้พิจารณาข้อมูลที่ปรากฎในสื่อสาธารณะตามที่ปรากฏข้างต้นแล้ว และเห็นว่าการพัฒนาขยายสนามบินสุวรรณภูมิ (ในส่วนที่เกินกว่าโครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2) และสนามบินดอนเมือง (ในส่วนที่เพิ่มการรองรับปริมาณผู้โดยสารสูงสุดเกินกว่า 30 ล้านคนต่อปี) และการพัฒนาเมืองการบินของทั้งสองสนามบินดังกล่าว เป็นการดำเนินการพัฒนาสนามบินที่เพิ่มขึ้นไปจากข้อมูลโครงการฯ ของภาครัฐ ที่ได้เปิดเผยให้แก่ผู้สนใจลงทุนก่อนวันที่ยื่นข้อเสนอของโครงการฯ และการดำเนินการนั้นจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารของโครงการฯ ลดน้อยลงเป็นอย่างมาก จนไม่คุ้มค่าการลงทุน และทำให้นักลงทุนที่จะมาร่วมพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกไม่ตัดสินใจมาร่วมลงทุน

 

ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้ จึงส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อประเทศ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โครงการฯ และบริษัทฯ ซึ่งจะทำให้ภาครัฐต้องเยียวยาโครงการฯ และบริษัทฯ ภายใต้หลักเกณฑ์เรื่องเหตุผ่อนผันของสัญญาร่วมลงทุน และประเทศจะเสียหายจากการที่นักลงทุนไม่เชื่อมั่นและไม่เข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการของรัฐบาล

 

บริษัทฯ ในฐานะคู่สัญญากับภาครัฐในโครงการฯ ขอขอบพระคุณท่านที่ให้การสนับสนุนโครงการฯเป็นอย่างดีมาโดยดลอด อย่างไรก็ดี ในเรื่องของการพัฒนาสนามบินอื่น จะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อโครงการฯ นั้น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจะยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณารับทราบถึงข้อมูลและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โครงการฯ และบริษัทฯและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการพัฒนาขยายสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองซึ่งเป็นการผิดข้อผูกพันในสัญญาร่วมลงทุนและภาครัฐจะต้องชดเชยความเสียหายให้แก่โครงการฯ และบริษัทฯตามที่กล่าวมาทั้งหมดก่อนหน้านี้ บริษัทฯ ขอความอนุเคราะห์จากท่านในการพิจารณาให้นโยบายหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงข้อมูลดังกล่าวและยุติการดำเนินการใดๆ ที่ส่งผลเสียหายต่อโครงการฯ ตามที่กล่าวมาข้างต้น

 

เมืองการบินอู่ตะเภาเคว้ง \"เจ้าสัวคีรี\" ขู่ไม่ใส่เงิน จี้เบรกขยายดอนเมือง-สุวรรณภูมิ เมืองการบินอู่ตะเภาเคว้ง \"เจ้าสัวคีรี\" ขู่ไม่ใส่เงิน จี้เบรกขยายดอนเมือง-สุวรรณภูมิ เมืองการบินอู่ตะเภาเคว้ง \"เจ้าสัวคีรี\" ขู่ไม่ใส่เงิน จี้เบรกขยายดอนเมือง-สุวรรณภูมิ เมืองการบินอู่ตะเภาเคว้ง \"เจ้าสัวคีรี\" ขู่ไม่ใส่เงิน จี้เบรกขยายดอนเมือง-สุวรรณภูมิ

 

ต่อเรื่องที่เกิดขึ้นแหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า การออกจดหมายดังกล่าวถึงนายกรัฐมนตรี ซึ่งนำโดยเจ้าสัว เป็นการตอบโต้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าในขณะนี้มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการ UTA ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานโครงการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก เนื่องจากมีประเด็นที่ผิดข้อผูกพันในสัญญาร่วมลงทุนและภาครัฐจะต้องชดเชยความเสียหายให้แก่โครงการฯ
 

ไม่ว่าจะเป็นในสัญญาระบุว่าต้องมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อเชื่อมการเดินทางจากกรุงเทพฯมายังสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่ชัดว่าทางซีพีจะยังคงเดินหน้าลงทุนหรือไม่ หรือถ้าซีพีไม่ลงทุน เราก็ต้องเจรจากับรัฐบาลว่าจะมีระบบรางคู่เข้ามาหรือไม่ ซึ่งจริงๆก็ต่างกันแค่ 18 นาที เพราะรถไฟความเร็วสูง ก็ต้องแวะหลายสถานี ระยะทางเบรคก็ต้องใช้เวลามาก  ส่วนรถไฟรางคู่ก็มาถึงพัทยาอยู่แล้วก็สามารถต่อมาที่อู่ตะเภา
 

รวมถึงการขยายสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ทางUTA ก็ต้องชี้แจงว่าจะกระทบอย่างมากต่อแผนพัฒนาเมืองการบินอู่ตะเภา เพราะ UTA ก็มีแผนจะขยายสนามบิน และมีแอร์พอร์ตซิตี้ในโครงการนี้เช่นกัน ดังนั้นหากมีการขยายสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองเพิ่มขึ้นอีก ทางUTA ก็จะต่อรองลดค่าสัปทานในสัญญาร่วมลงทุนที่เกิดขึ้น เพราะผิดข้อผูกพันในสัญญาร่วมลงทุนและภาครัฐจะต้องชดเชยความเสียหายให้แก่โครงการฯ แต่อย่างไรก็ตามแผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาก็ยังคงเดินหน้าต่อ

 

 

ทั้งนี้บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด เป็นการร่วมลงทุนระหว่าง บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) สัญญารับสัมปทาน 50 ปี และตั้งบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด ทุนจดทะเบียน 4,500 ล้านบาท มาดำเนินโครงการ โดยเสนอผลตอบแทนให้รัฐ 305,555 ล้านบาท

 

UTA ประเมินว่า การลงทุนในระยะ 3-4 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นแผนลงทุนเฟสแรก สนามบินอู่ตะเภาต้องรองรับผู้โดยสาร 15 ล้านคนตามเป้าหมาย คาดว่าใช้งบประมาณราว 5 หมื่นล้านบาท และหากรวมการพัฒนาแอร์พอร์ตซีตี้ควบคู่กันไปด้วยนั้น คาดว่าในเฟสแรกต้องใช้งบประมาณเกิน 1 แสนล้านบาท และเป้าหมายการลงทุนต่อเนื่องเพื่อรองรับผู้โดยสาร 60 ล้านคน ด้วยงบประมาณราว 2 แสนล้านบาท จากทั้งหมด 4 เฟส ตลอดระยะสัมปทาน 50 ปี

 

สำหรับความคืบหน้าของ “โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก” ได้มีการส่งแผนแม่บทการพัฒนาให้ทางอีอีซีแล้ว โดยแผนแม่บทฯ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงจุดเชื่อมโยงของโครงการฯ กับโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญ เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สามารถประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ให้สนับสนุนการพัฒนาโครงการฯ ได้อย่างเต็มที่

 

โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ คือ การยืนยันแนวเส้นทางของรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน การแสดงแนวเส้นทางระบบโครงข่ายถนนเชื่อมต่อสู่สนามบินและเมืองการบิน การแสดงข้อมูลของรันเวย์ที่ 2 ที่ทางกองทัพเรือเป็นเจ้าของโครงการ การแสดงแนวเส้นทางของระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้า ประปา และระบบเชื้อเพลิงเข้าสู่สนามบิน และมีการออกแบบไว้แล้ว