เปิดเกมรบ "กัญชา" EE เดินหน้าตั้งโรงงานสกัดครบวงจร

16 มี.ค. 2565 | 10:45 น.
อัปเดตล่าสุด :16 มี.ค. 2565 | 17:47 น.

EE ตั้งเป้าผู้นำ “ธุรกิจกัญชงครบวงจร” ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ปี ลุยธุรกิจกัญชง ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ประเดิมปี 2565 ลุยยุทธศาสตร์ปีที่2 ขออนุมัติเพิ่มทุน RO สำหรับการลงทุนโครงการโรงงานสกัดกัญชง/กัญชากลางน้ำ 1,200 ล้านบาท

กัญชง ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่ร้อนแรงมาตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี และทวีความร้อนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากเริ่มมีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดทั้งในฝั่งของต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ล่าสุด“EE” หนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ของอุตสาหกรรม ได้ประกาศซื้อ “CBDB” ด้วยงบก้อนโตกว่า650 ล้านบาท พร้อมขออนุมัติเพิ่มทุน RO นำเงินลงทุนโรงสกัด 

 

สำหรับการเข้าซื้อบริษัทกัญชงรายใหญ่สุดภาคเหนือ “CBDB” ในครั้งนี้เป็นไปตาม ยุทธศาสตร์ 3 ปี ซึ่ง EE ได้วางไว้เพื่อก้าวขึ้นสู่ผู้นำ “ธุรกิจกัญชงครบวงจร”

 

นายวรศักดิ์ เกรียงโกมล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีเทอเนิล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ EE  เปิดเผยว่า  บริษัทมีแผนจะพัฒนาธุรกิจกัญชงแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและตั้งเป้าจะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศ แน่นอนว่าธุรกิจนี้เป็นธุรกิจใหม่ แต่ในความใหม่ก็มีโอกาสที่มากมายมหาศาล 

 

เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนี้ บริษัทจะดำเนินธุรกิจ ภายใต้ ยุทธศาสตร์ 3 ปี เริ่มจาก ปี 2564-2565 อุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมต้นน้ำทันที หลังจากร่วมมือกับบริษัท แคนนาบิช เวย์ จำกัดหรือ CW เจ้าของโรงเรือน Green House ขนาด 9,000 ตร.ม.  ซึ่งหลังจากที่บริษัทเข้าลงทุนในฟาร์มกัญชงเพียงระยะเวลาไม่กี่เดือนก็เริ่มเห็นทิศทางที่สดใส บริษัทเตรียมรับรู้รายได้ก้อนโตก้อนแรกในไตรมาสที่ 2 นี้

วรศักดิ์ เกรียงโกมล

นอกจากนี้ที่ประชุมอนุมัติให้บริษัทเข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมด (จำนวน 400,000 หุ้น) ของบริษัท ซีบีดี ไบโอไซเอนซ์ จำกัด หรือ CBDB ในวงเงิน 650 ล้านบาท โดย CBDB เป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าและผลิตกัญชงรายใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ  มีศักยภาพสูงป้อนวัตถุดิบคุณภาพสู่ตลาดได้จำนวนมาก ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับใบอนุญาตดังกล่าวภายในเดือนมีนาคม 2565 พร้อมเริ่มดำเนินการเพาะปลูกรอบแรกทันที ซึ่งจะทำให้สามารถรับรู้รายได้จากการขายผลผลิตภายในอย่างรวดเร็วภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565

 

 

 

ปี2565-2566 อุตสาหรรมกลางน้ำ บริษัทจะเริ่มเดินหน้าสู่การสกัดสารสำคัญจากต้นกัญชง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อรองรับการดำเนินงานในโครงการ และตั้งเป้าเสนอโครงการให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทพิจารณาดำเนินการโครงการโรงสกัดสารCBDจากกัญชงในไตรมาส 2 ของปี 2565 รวมทั้งขออนุมัติเพิ่มทุน RO สำหรับการลงทุนโครงการโรงงานสกัดกัญชง/กัญชากลางน้ำ 1,200 ล้านบาทที่คาดว่าแล้วเสร็จพร้อมดำเนินธุรกิจนี้ภายในปี 2565 และ/หรือ ลงทุนในโครงการอื่นๆ 200 ล้านบาท และคาดว่าจะสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมโรงสกัดสาร CBD ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

 

 ปี 2566 อุตสาหกรรมปลายน้ำ เห็นความชัดเจนของผลตอบรับจากผู้บริโภคพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า เมื่อมีวัตถุดิบหรือสารสกัดกัญชงจากโครงการต้นน้ำของกลุ่มบริษัทเสถียรและเพียงพอบริษัทจึงดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เชิงสุขภาพพรีเมี่ยมซัพพลีเม้นท์โปรดักส์เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่มีอัตรากำไรสูงสามารถตอบสนองกลุ่มเป้าหมายใน Premium Class  นอกจากนี้ยังมองไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้สินค้าของบริษัทเอง

 

“การลงทุนในโครงการ CW เนื่องจากบริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอต่อการลงทุนในโครงการดังกล่าว และยังสามารถระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจได้โดยง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งมีแนวร่วมและพันธมิตรทางธุรกิจที่สามารถช่วยเหลือกันทั้งในด้านของการตลาด ข้อมูล เทคนิคการปลูก เทคโนโลยี บุคลากร และช่องทางการจัดจำหน่ายและพัฒนาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับกัญชง ย่อมส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน 

นอกจากนี้ยังมีบุคคลทั่วไปที่สนใจการปลูกกัญชงติดต่อ CWเป็นจำนวนมากซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินการในรูปแบบ contract farming ซึ่งจะยิ่งช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการผลิตผลหรือบริการทางการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไป

 

ในส่วนของการลงทุนในโครงการ CBDB เป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนเนื่องจากมีความแตกต่างระหว่างโครงการ CW ในรายละเอียดเช่นสภาพอากาศ ที่ตั้ง วิธีการและเทคนิคการปลูก รูปแบบโรงเรือน และจุดประสงค์ของโครงการที่จะเน้นการปลูกเพื่อเอาผลิตผลในรูปแบบอุตสาหกรรมเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากCW ที่ให้บริการในฐานะศูนย์การเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยวด้วย

 

นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้และผลตอบแทนให้แก่EE และยังได้รับผลตอบแทนสูงสุดเนื่องจากเป็นโครงการที่ดูแลและถือหุ้นร้อยละ100  และบริษัทมีความพร้อมในการขยายธุรกิจในฐานะตัวแทนนำเข้าเมล็ดพันธุ์เนื่องจากมีใบอนุญาตนำเข้ามีผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ประจำศูนย์ทดสอบวิจัยและพัฒนากัญชงอุตสาหกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นที่ปรึกษาเรื่องการปลูกประจำโครงการ”

 

อย่างไรผู้บริหารเชื่อว่าการลงทุนในโครงการทั้ง 2 โครงการนี้จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกันซึ่งจะส่งผลให้EE มีอำนาจในการต่อรองจากความสามารถในการส่งผลผลิตจำนวนมากเข้าสู่ตลาดได้ และทำให้EEเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมกัญชงต้นน้ำได้และยังเป็นกำลังสำคัญในการต่อยอดการขยายเข้าสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำต่อไป

 

นอกจากนี้การเข้าลงทุนในโครงการยังเป็นประโยชน์ต่อ EE ไม่ว่าจะเป็น 1. ลดความเสี่ยงจากการพัฒนาโครงการไม่สําเร็จ ส่งผลให้บริษัทได้มาซึ่งธุรกิจต้นน้ําอีกหนึ่งโครงการที่ถูกพัฒนาแล้วและมีความพร้อม ด้านการก่อสร้างของโครงการจะดําเนินการเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2565 ด้านการขอใบ อนุญาตปลูกกัญชงจะได้รับใบอนุญาตบางส่วนภายในเดือนมีนาคม 2565 โดยที่ทางบริษัทไม่ต้องดําเนินการขออนุญาต หรือพัฒนาโครงการใหม่ ทําให้บริษัทสามารถประหยัด เวลาและจัดการความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการได้

 

2. การเสริมสร้างผลการดําเนินงานที่มั่นคงสม่ำเสมอในอนาคต และเข้าสู่การเป็นผู้นําในอุตสาหกรรมต้นน้ําทันที บริษัทจะสามารถขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมกัญชงที่บริษัทตั้งเป้าว่าจะเป็นผู้นําในธุรกิจ และจะดําเนินการตั้งแต่ต้นน้ํา-กลางน้ํา และปลายน้ําของอุตสาหกรรม โดยบริษัทจะ สามารถรับรู้ส่วนแบ่งกําไรทั้งหมดของโครงการ และผลตอบแทนจากเงินปันผลจากการดําเนินงานของโครงการ ภายหลังการเข้าศึกษาโครงการ และเห็นความคืบหน้าการดําเนินการ ดังนั้นการที่บริษัทเลือกที่จะลงทุนแทนการพัฒนาโครงการจะส่งผลให้บริษัทสามารถครอบครองตลาดในอุตาหกรรมกัญชงได้โดยเร็ว เข้าสู่การเป็นผู้นํารายแรกใน ธุรกิจ ผู้บริหารเชื่อมั่นว่าการดําเนินการดังกล่าวจะทําให้บริษัทมีโอกาสประสบความสําเร็จในอุตสาหกรรม หากบริษัทสามารถส่งผลผลิตออกสู่ตลาดได้โดยเร็ว บริษัทจะสามารถ เป็นคู่ค้าที่สําคัญให้กับผู้รับซื้อรายใหญ่ที่มีความพร้อมในการรับซื้อผลผลิตจํานวนมากทันที

 

3. กระจายความเสี่ยงในการดําเนินธุรกิจ การได้มาซึ่งหุ้นของ CBDB ซึ่งประกอบกิจการปลูกพืชกัญชงโดยการปลูกในโรงเรือน Greenhouse ระบบ EVAP ตามมาตรฐาน GAP ขนาดประมาณ 8x20 เมตร (160 ตารางเมตร) จํานวนทั้งหมด 60 โรงเรือน โดยที่ตั้งโครงการอยู่ที่จังหวัดลําพูน เนื้อที่จํานวน 28 Is 95 ตารางวา จะมีความแตกต่างจากโครงการ CW ที่บริษัทเข้าลงทุนเมื่อช่วง ปลายปี 2554 ที่ผ่านมา โครงการต้นน้ําทั้งสองโครงการทําการพัฒนาโครงการมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งที่ปลูก ที่ปรึกษาโครงการ และผู้บริหาร ส่งผลให้มีรูปแบบการ ดําเนินการและวิธีการปลูกที่แตกต่างกัน 

 

ถึงแม้ว่าจะเป็นโครงการปลูกกัญชงเช่นเดียวกัน แต่การเข้าไปลงทุนในโครงการจะช่วยให้บริษัทสามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ไม่ต้องพึ่งพิงเพียงแค่ต้นน้ําจากโครงการเดียว ลดความผันผวนของผลประกอบการของบริษัท และยังเป็นการดําเนินการที่จะช่วยให้บริษัทมีข้อมูลในการปลูก และข้อมูลในการ บริหารงานที่แตกต่างกัน ซึ่งจะสามารถช่วยส่งเสริมและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันเพื่อนําไปพัฒนาโครงการทั้งสองโครงการได้

 

สำหรับทั้ง 2 โครงการนี้จะใช้ต้นทุนประมาณ 50 ล้านบาทต่อปีและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารประมาณ 10 ล้านบาทต่อปีในขณะที่รายได้จากการขายช่อดอกแห้งและใบอยู่ที่ประมาณ 200 ล้านบาทต่อโครงการ นั่นหมายความว่าทั้ง 2 โครงการนี้จะสร้างรายได้ให้กับบริษัท 400 ล้านบาทต่อปีและใช้งบลงทุน 120 ล้านบาทต่อปี 

 

สำหรับประเด็นการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ให้แก่ผู้ถือหุ้น RO ในครั้งนี้ทำได้เต็มจำนวน จะได้รับเงินทุนจำนวน 1,390,000,000 บาท ซึ่งจะนำไปใช้สำหรับการลงทุนโครงการโรงงานสกัดกัญชง/กัญชากลางน้ำ 1,200 ล้านบาทที่คาดว่าแล้วเสร็จพร้อมดำเนินธุรกิจนี้ภายในปี 2565 และ/หรือ ลงทุนในโครงการอื่นๆ 200 ล้านบาท ผู้บริหารมองว่า บริษัทมีความจําเป็นในการเพิ่มทุนครั้งนี้ เพื่อนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ไปใช้ในการขยายการลงทุนจากการปลูกกัญชง (อุตสาหกรรมต้นน้ํา) สู่การสกัดสารจากกัญชง (อุตสาหกรรมกลางน้ํา) ซึ่งเป็นธุรกิจต่อเนื่องตามห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่คาดว่าจะมีอัตรากําไรสูงกว่า ซึ่งจะทําให้บริษัทมีรายได้มากขึ้น และรายได้มีความมั่นคงมากขึ้น และบริษัทจะมีแหล่งเงินทุนสําหรับนําไปใช้ในการลงทุนในโครงการใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้และความสามารถในการขยายกิจการของบริษัท 

 

นอกจากนี้บริษัทจะมีสภาพคล่องมากขึ้นจากเงินทุนหมุนเวียนที่ได้รับจากการเพิ่มทุน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานะทางการเงินของบริษัท ส่งผลให้บริษัทสามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและเชื่อว่าการเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ไม่ก่อให้เกิดภาระดอกเบี้ยจากการก่อหนี้ รวมถึงเป็นการขยายฐานทุนเพื่อเตรียมความพร้อมในด้านฐานะทางการเงิน ในกรณีที่บริษัทมีความจําเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินทุนสําหรับการขยายธุรกิจในอนาคต และไม่ทําให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นของบริษัn (Control Dilution) ในกรณีที่ผู้ถือหุ้น ทุกรายจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามสิทธิของตนไปใช้ในการดําเนินงาน  ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลุ่มบริษัท และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทและผู้ถือหุ้นมากกว่า