ศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำพิพากษาในคดีที่ บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายธนากร ท้วมเสงี่ยม ในความผิดพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2565
คำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการเป็นผู้จัดทำเบียร์และเป็นผู้ทำการหมักกลั่นในกิจการแผนกนี้ จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ดูแลเพจ "ประชาชน เบียร์" ในเว็บไซต์ facebook.com ซึ่งจำเลยใช้เพจดังกล่าวในการนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์และให้บุคคลโดยทั่วไปสามารถติดต่อถึงกันได้ผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ โดยจำเลยมีอำนาจดูแลรับผิดชอบและควบคุมจัดการเนื้อหาหรือเชื่อมต่อระบบเพจกับเว็บไซต์และ บุคคลต่างๆบนระบบอินเตอร์เน็ตผ่านทางเพจ "ประชาชนเบียร์" ในเว็บไซต์ facebook.com ของ จำเลย
คำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการเป็นผู้จัดทำเบียร์และเป็นผู้ทำการหมักกลั่นในกิจการแผนกนี้ จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ดูแลเพจ "ประชาชน เบียร์" ในเว็บไซต์ facebook.com ซึ่งจำเลยใช้เพจดังกล่าวในการนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์และให้บุคคลโดยทั่วไปสามารถติดต่อถึงกัน
โดยเมื่อวันที่ 17-18 พ.ย.63 จำเลยได้หลอกลวงนำเข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็น เท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนทางระบบอินเตอร์เน็ตเผยแพร่ทางเว็บไซต์
ว่า “เรื่องนี้บุญรอดต้องคําตอบให้ประชาชน ผมกําลังจะไปดูให้เห็นกับตา” พร้อมกับอัปโหลดรูปภาพป้ายของบริษัทบุญรอดฯ และเขียนข้อความเพิ่มเติมว่า “แก๊สน้ำตายิงออกมาจากที่นี่ บริษัทนี้ให้ตํารวจเข้าไปข้างใน ยิงแก๊สน้ำตาออกมาใส่ประชาชน” เพื่อสลายการชุมนุม การยืนยันข้อเท็จจริงของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความ เสียหาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของนักลงทุน หรือผู้บริโภคอื่นๆ และสินค้าของโจทก์ ในทางธุรกิจ และประชาชนบางส่วนรณรงค์ให้งดบริโภคสินค้าของโจทก์ ซึ่ง โจทก์มีภาพจากกล้องวงจรปิดซึ่งปรากฏในวันที่ 17 พ.ย.63 บริเวณหน้าบริษัทโจทก์ ว่าโจทก์ไม่ได้อำนวยความสะดวกหรืออนุญาตให้เจ้าหน้าที่เข้าไปในบริเวณบริษัทโจทก์และสิ่งบันทึกภาพและเสียง ภายหลังจำเลยได้นำเข้า และเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์แล้ว โจทก์ได้ประกาศชี้แจงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในวันที่ 18 พ.ย.63 ซึ่งจำเลยทราบแล้วแต่ก็ยังคงไว้ซึ่งข้อความและภาพที่ บิดเบือนข้อเท็จจริง วันที่ 20 พ.ย63 โจทก์ได้ร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ
โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องและ ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ (1) โดยทุจริต หรือ โดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา...” โดยองค์ประกอบความผิดประการหนึ่ง ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความ เสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
จึงเเสดงถึงเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวว่าประสงค์จะคุ้มครองในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ต่อประชาชนทั่วไปเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ มิใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงเฉพาะ และ บุคคลใดบุคคลหนึ่งดั่งกรณีความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคล ซึ่งมีบทบัญญัติลักษณะความผิดไว้ เฉพาะตามประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งเป็นคดีอันยอมความได้ เมื่อพิจารณาคำบรรยายฟ้องและข้อเท็จจริงจากพยานโจทก์ที่โจทก์นำสืบเห็นได้ว่าข้อมูลที่เป็นข้อความ ประกอบกับภาพและเสียงที่จำเลยนำเข้าและเผยแพร่ในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์โดยตรง มิได้ก่อให้เกิดวามเสียหายหรือโดย ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน การกระทำของจำเลยไม่ต้องด้วยองค์ประกอบ ความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1) และย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 14(5) คดีโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง.