วันที่ 26 ต.ค.2565 ที่ศูนย์ประชุมมลฑาทิพย์ ฮอลล์ ศูนย์การค้ายู ดี ทาวน์ อ.เมืองอุดรธานี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดการสัมมนา ”การบริหารงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความร่วมมือ ระหว่างราชอาณาจักรไทยแสะสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว"
กิจกรรมนี้จัดโดยคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร มีนายไชยา พรหมมา ประธานคณะกมธ.ฯ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประกอบด้วยส.ส.ในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง หน่วยงานจากส่วนกลาง หน่วยงานรัฐและเอกชนใน 20 จังหวัดของภาคอีสาน ประกอบด้วยผู้ว่าฯหรือตัวแทน ประธานคณะกรรมการหอการค้าจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ประชาชนนักธุรกิจที่สนใจ จำนวนกว่า 250 คน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ไทยและสปป.ลาว มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกันมาเป็นเวลานานตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านกลไกความร่วมมือต่าง ๆ หลายกรอบความร่วมมือ เช่น การเปิดเสรีทางการค้า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการคมนาคมขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งระหว่างประเทศ อันเป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งเสริม และอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน ของผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งสองเป็นอย่างมาก
ปัจจุบัน สปป.ลาวได้เปิดให้บริการรถไฟเส้นทางลาว-จีน ซึ่งจะทำให้สามารถขนส่งสินค้า และบริการจาก ประเทศ สปป.ลาว มายังประเทศไทยได้อีกเส้นทางหนึ่ง ในทางกลับกันก็สามารถขนส่งสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะพืชเกษตร คือ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และอ้อย จากภาคอีสาน ไปยังประเทศจีนผ่านสปป.ลาว ได้อีกช่องทางหนึ่ง ทั้งนี้ จังหวัดหนองคายจะเป็นประตูมังกร นำความเจริญด้านเศรษฐกิจมาสู่ประเทศไทย
ดังนั้น ประเทศไทยควรที่จะต้องเตรียมความพร้อม ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อรองรับการใช้รถไฟลาว-จีนให้มากที่สุด เพื่อจะเพิ่มขีดความสามารถ และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับนักลงทุนทั้ง 2 ประเทศอย่างมหาศาล
นายอาคมกล่าวบรรยายพิเศษ เพิ่มเติมอีกว่า ในด้านความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานระหว่างประเทศไทย และ สปป.ลาวในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีความร่วมมือกันในหลายกรอบความร่วมมือ และที่ผ่านมาเช่นกัน ความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุนทางบกก็เป็นเรื่องที่สำคัญ และมีการพัฒนาร่วมกันมาโดยตลอด
โดยเฉพาะภาคอีสานของไทยไทยที่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับประเทศ สปป.ลาว และประเทศเพื่อนบ้าน และทำให้สภาวะการค้าชานแดนได้รับการพัฒนาให้มีอัตราเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ หลังจากโควิค-19 คลี่คลายลง ในลักษณะที่เรียกว่ากำลังฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามเนื่องจากทั่วโลกประสบกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ประเทศในภูมิภาคนี้รวมถึงประเทศไทย ก็ได้รับผลกระทบกระเทือนไปด้วย ซึ่งเป็นการซ้ำเติมในขณะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ต้องให้การร่วมมือในการแก้ไขปัญหา และต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวด้วย โดยเฉพาะการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน เพื่อให้เกิดการร่วมมือและการอำนวยความสะดวกตามเมืองชายแดนของไทย ต้องทำการดำเนินการทุกอย่างให้เป็นรูปธรรม เพราะปัจจุบันมีบางแห่งยังต้องได้รับการส่งเสริมแก้ไขในด้านต่าง ๆ อยู่
ส่วนการร่วมมือมือด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมากในด้านการเชื่อมโยง ได้แก่การร่วมกันก่อสร้าง ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นปัจจัยสำคัญ เช่น ถนน สนามบิน และอื่น ๆ ที่จำเป็น ต้องมีความพร้อม และได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้มีความสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่างประเทศไทยและ สปป.ลาว ที่เป็นโครงการเชื่อมต่อกันทั้งสองประเทศที่สำคัญมาก
ปัจจุบันนี้มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแล้ว 5 แห่ง เริ่มจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 หนองคาย-เวียงจันทน์ จนมาถึงปัจจุบันได้มีการก่อสร้างที่กำลังก่อสร้างแห่งที่ 5 คือ สะพานข้ามแม่น้ำแห่งที่ 5 บึงกาฬ-แชวงบ่อลิคำไซ ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จตามโครงการในปี 2571 ซึ่งสะพานข้ามแม่น้ำโขงมีอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานมากถึง 4 แห่ง ซึ่งสามารถที่จะส่งเสริมศักยภาพการเดินทางขนส่งจากประเทศไทย และของภาคอีสานไปออกที่ประเทศ สปป.ลาว ต่อไปยังเวียดนามและออกสู่ทะเลจีนใต้ และสามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศกัมพูชา หรือวกขึ้นไปสู่ทางประเทศจีนตอนใต้ ที่เป็นตลาดการค้าการลงทุนขนาดใหญ่ ผ่านโครงข่ายทางหลวงเส้นต่าง ๆ ของลาว
นอกจากนี้ในอนาคตก็มีแผนงานโครงการ ที่จะลงมือก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ 6 ที่ อ.นาตาล-คอนพะเพ็ง (อุบลฯ-จำปาสัก) โดยได้รับการการสำรวจและศึกษาจากสำนักงานสภาพัฒน์ฯแล้ว ซึ่งจะเป็นการเสริมศักยภาพการเชื่อมโยงระหว่างไทยและ สปป.ลาวในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญมาก
ส่วนกรอบความร่วมมือการให้การช่วยเหลือแก่ สปป.ลาวนั้น ประเทศ สปป.ลาวยังต้องการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอยู่อีก เช่น เส้นทางการขนส่งในประเทศ สปป.ลาวต่อไปยังกลุ่มประเทศเพื่อบ้าน โดยการให้การช่วยเหลือผ่านหน่วยงานทีเรียกว่า เนด้า ในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ในการร่วมมือด้านเศรษฐกิจการประกอบการต่าง ๆ ก็ให้การช่วยเหลือผ่านองค์กรหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายกรอบความร่วมมือ
นายคำพัน อั่นลาวัน เอกอัคารราชทูต สปป.ลาว ประจำประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องความสัมพันธ์และความร่วมมือ ระหว่างประเทศไทยและ สปป.ลาว ในมิติด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ว่า มีมาตั้งแต่สมัยที่ ท่านชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนโยบายเปลี่ยนให้สนามรบเป็นสนามการค้า และกล่าวว่า ประเทศ สปป.ลาว ได้รับความร่วมมือ และการให้การช่วยเหลือด้านต่าง ๆ จากประเทศไทย เป็นจำนวนหลากหลายโครงการ และหลายกรอบความร่วมมือ
และจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย เดินทางไปเยี่ยมเยือนประเทศ สปป.ลาว เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก็ได้กล่าวถึงโครงการความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศ สปป.ลาวเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะการค้า การลงทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในลาว
โดยในปัจจุบันนี้มีโครงการความร่วมมือไทย-ลาว เช่น ความร่วมมือดด้านเศรษฐกิจ การเดินทาง ขนส่งสินค้า โดยเฉพาะการลงทุนของไทยในประเทศ สปป.ลาว เมื่อหลังจากที่ลาวเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาวแล้ว ปรากฏว่ามีนักลงทุนจากประเทศไทย เข้าไปลงทุนด้านต่าง ๆ ในลาว ทั้งการพลังงาน เหมืองแร่ การท่องเที่ยว การบริการการเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหลายแสนล้านตื้อกีบ (1 ตื้อเท่ากับ 1 พันล้าน) ซึ่งทางสถานทูตลาวที่กรุงเทพฯ พร้อมที่ให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ ของการลงทุน ให้แก่นักลงทุนไทย หรือผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าไปลงทุนในลาวอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งตามที่เป็นข่าวที่เกิด
ส่วนการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยทางรถไฟจีน-ลาว ที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มรูปแบบนั้น ทางลาวได้ทำการแก้ไขปัญหาไปแล้ว สามารถให้การเชื่อมต่อกับรถไฟของไทยได้ อย่างไรก็ตามจะต้องร่วมกันพัฒนาอำนวยความ สะดวกให้มากขึ้นกว่านี้ ซึ่งจะมีการร่วมมือกันพัฒนาการเชื่อมต่อโครงการรถไฟทั้งสองประเทศต่อไป เพราะสามารถส่งผ่านจากลาวไปจีน เอเชียกลางและยุโรปได้ เป็นการลดภาะต้นทุนค่าขนส่ง และประหยัดเวลา