ส่องสินค้าส่งออกไทยดาวรุ่ง-ดวงร่วงประจำเดือนตุลาคม

01 ธ.ค. 2565 | 07:30 น.
อัปเดตล่าสุด :31 ธ.ค. 2565 | 11:53 น.

ส่องสินค้าส่งออกไทยดาวรุ่ง-ดวงร่วงประจำเดือนตุลาคม จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศที่ยังน่าเป็นห่วง

ส่งออกไทยในเดือนตุลาคมจะติดลบครั้งแรกในรอบ 20 เดือนนับตั้งแต่มีนาคมปี64  โดยมีปัจจัยมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และสหภาพยุโรป ต่างได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจภายในประเทศ ภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้การส่งออกไปยังตลาดสำคัญ ๆ ของไทยในเดือนตุลาคมนี้ติดลบเกือบทุกตลาด

 

ส่องสินค้าส่งออกไทยดาวรุ่ง-ดวงร่วงประจำเดือนตุลาคม

 

แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าส่งออกไทยจะมีปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน แต่ไทยยังโชคดีที่มีเงินบาทที่ยังอ่อนค่าส่งผลให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น

 

ในช่วงท้ายปีของปีนี้กระทรวงพิชย์ได้เร่งหารือเตรียมการรองรับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ต้องทำการบ้านลึกในรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นหาตลาดใหม่ทดแทนการส่งออกในบางตลาดที่ชะลอตัวลง อย่าง ตะวันออกกลาง แอฟริกา และกลุ่มประเทศเอเชียใต้ เช่น อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ เป็นต้น

 

ส่องสินค้าส่งออกไทยดาวรุ่ง-ดวงร่วงประจำเดือนตุลาคม

 

หรือการเร่งส่งออกข้าว ทีอินเดียเริ่มขึ้นภาษีส่งออก ก็จะเป็นโอกาสให้ไทยหาตลาดทดแทนอินเดีย ทั้งอินโดนีเซีย แอฟริกา

 

อย่างไรก็ตามแม้ว่าเดือนตุลาคมไทยจะส่งออกติดลบแต่ก็ยังมีสินค้าส่งออกไทยหลายรายการที่ยังคงขยายตัวได้ แสดงให้เห็นว่าสินค้าส่งออกไทยยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีบางสินค้าที่ชะลอตัวจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า

ส่องสินค้าส่งออกไทยดาวรุ่ง-ดวงร่วงประจำเดือนตุลาคม

อาหารสัตว์เลี้ยงโตต่อเนื่อง 38 เดือน

สำหรับสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดีในเดือนตุลาคมและยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย  

  • ข้าว ขยายตัว 2.8% ต่อเนื่อง 9 เดือนเป็นการขยายตัวในตลาดอิรัก จีน แอฟริกาใต้ เซเนกัล และญี่ปุ่น   
  • ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป ขยายตัว38% ต่อเนื่อง 6 เดือน ในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย   
  • ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 26.3%  ในตลาดจีน ไต้หวัน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย
  • อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 0.9%ต่อเนื่อง 9 เดือน ในตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย ลิเบีย และเกาหลีใต้   
  • อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 4.8% ต่อเนื่อง 38 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเยอรมนี  
  • เครื่องดื่ม ขยายตัว 20.3% ต่อเนื่อง 4 เดือน ในตลาดเวียดนาม เมียนมา สิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย
  • ทุเรียนแช่แข็ง ขยายตัว 23.4%ต่อเนื่อง 2 เดือน ซึ่งเป็นสินค้าที่ยังโตได้ดีในตลาดจีน
  • ไอศกรีม ขยายตัว 13.5% ต่อเนื่อง 29 เดือนในตลาดกัมพูชา เกาหลีใต้ เวียดนาม ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์  กล้วยไม้ ขยายตัว 10.9% ต่อเนื่อง 20 เดือน ในตลาดเวียดนาม สหรัฐฯ อิตาลี บราซิล และเกาหลีใต้

ส่องสินค้าส่งออกไทยดาวรุ่ง-ดวงร่วงประจำเดือนตุลาคม

สินค้าฟุ่มเฟื่อยยังโตต่อเนื่อง

ส่วนสินค้าอุตสหกรรมที่ขยายตัวดี ประกอบด้วย

  • รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 5.1% ต่อเนื่อง 3 เดือน ในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบีย และนิวซีแลนด์  
  • อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว 5.4% ต่อเนื่อง 20 เดือน ในตลาดฮ่องกง
  • สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐ-อาหรับเอมิเรตส์ เบลเยียม ญี่ปุ่น    
  • เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 90.6% ต่อเนื่อง 12 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง และเนเธอร์แลนด์
  • เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัว 8.5% ต่อเนื่อง 5 เดือน ในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และฝรั่งเศส
  • อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัว74.9%ต่อเนื่อง 4 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และไต้หวัน
  • รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัว 14.9% ต่อเนื่อง 3 เดือน ในตลาดจีน สหรัฐฯ กัมพูชา เบลเยียม และออสเตรเลีย
  •  

ส่องสินค้าส่งออกไทยดาวรุ่ง-ดวงร่วงประจำเดือนตุลาคม

 

ส่วนสินค้าทั้งในอุตสาหกรรมและอุตสากรรมเกษตรและแปรรูปที่ติดลบ  ประกอบด้วย สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ติดลบ 22.8% ต่อเนื่อง 3 เดือน ในตลาดจีน เวียดนาม อินเดีย มาเลเซีย และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดลาว

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ติดลบ 27.4% ซึ่งเป็นการกลับมาติดลบในรอบ 3 เดือน ในตลาดสหรัฐ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน ไอร์แลนด์ อินเดีย และออสเตรเลีย)

 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ติดลบ 13.1ต่อเนื่อง 2 เดือนในตลาดญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม และจีน แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย แคนาดา ลาว และกัมพูชา

ยางพารา ติดลบ 28.5% ต่อเนื่อง 3 เดือนในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ตุรกี และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เยอรมนี โรมาเนีย และโปแลนด์

 

ส่องสินค้าส่งออกไทยดาวรุ่ง-ดวงร่วงประจำเดือนตุลาคม

 

 ผลไม้สดและผลไม้แห้ง ติดลบ 34.9%ต่อเนื่อง 4 เดือน ในตลาดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฮ่องกง และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ และออสเตรเลีย

 ผลไม้กระป๋องและแปรรูปติดลบ 11.3% ในรอบ 18 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดจีน รัสเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และเมียนมา)