บิ๊กป้อม สั่งแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน -ฝุ่นภาคเหนือ ปี2566

30 ธ.ค. 2565 | 13:35 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ธ.ค. 2565 | 20:49 น.

บิ๊กป้อม สั่งแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน -ฝุ่นภาคเหนือ ปี2566 ตามนโยบายรัฐบาล บนหลักการ “สื่อสารเชิงรุก – ยกระดับปฏิบัติการ – สร้างการมีส่วนร่วม”

 

 

 

ปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง เป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด ทุกกระทรวงและทุกหน่วยงาน ต้องบูรณาการป้องกันและแก้ไขให้ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชนในทุกพื้นที่ ครอบคลุม “เมือง ป่า เกษตร”

 

 โดย ไม่นานมานี้ ที่จังหวัดเชียงราย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี  มอบนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566 เพื่อ นำไปขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ  

 

 เน้นย้ำว่า  ให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้มงวดกวดขัน ทุ่มเทสรรพกำลังองค์ความรู้ และทรัพยากรอย่างเต็มกำลังความสามารถ และประสานงานกันในการดำเนินงาน ปฏิบัติการขับเคลื่อนตาม “แผนเฉพาะกิจ” เพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 บนหลักการ “สื่อสารเชิงรุก – ยกระดับปฏิบัติการ – สร้างการมีส่วนร่วม”  ได้แก่

ประชุมแก้ปัญหา ไฟป่า ฝุ่นละออง ภาคเหนือ

 

พลเอกประวิตร  วงษ์สุวรรณ

  • สร้างความเป็นเอกภาพของข้อมูล ปรับรูปแบบการรายงานข้อมูลและองค์ความรู้ต่างๆ ให้น่าสนใจ เข้าถึงง่ายเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนก

 

  •  สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน นำความเห็นของพี่น้องประชาชนมาปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

 

  • การป้องกัน และแก้ไขปัญหาต้องเป็นเอกภาพ การรับผิดชอบ กำกับดูแลพื้นที่ต้องไม่เกิดช่องว่าง หรือพื้นที่เกรงใจ และต้องไม่เกิดปัญหา ว่าไม่ใช่พื้นที่รับผิดชอบไม่ทำ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างจังหวัด หรือระหว่างหน่วยงาน

 

  • ผู้ว่าราชการจังหวัด บริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ใช้ระบบ Single command มีการจัดทำประกาศจังหวัดในสถานการณ์ต่างๆ การเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ และบูรณาการสั่งการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุกพื้นที่/ทุกระดับ ทั้งอำเภอ ตำบล (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) และกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

 

 

พร้อมได้กำชับลงไปยังกระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงกลาโหม ให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด เตรียมความพร้อมในทุกด้านทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ และกำลังพล

 

สร้างความเข้าใจและความตระหนัก ให้พี่น้องประชาชนเชื่อมั่น ยอมรับ และร่วมมือในการเฝ้าระวัง และดูแลรักษา ไม่ให้เกิดปัญหาไฟป่าและการเผาในที่โล่ง พร้อมให้นำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการดำเนินงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

 

ในการรายงานสถานการณ์ คาดการณ์ ประเมินความเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ สภาพอุตุนิยมวิทยา การคาดการณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า การพยากรณ์ระดับชั้นอันตรายของไฟ และการประเมินพื้นที่เสี่ยงเกิดไฟ โดยใช้ ข้อมูลจุดความร้อนและพื้นที่ไฟไหม้ซ้ำซาก