ตรุษจีนปีนี้มาไวกว่าทุกปี นั้นคือวันที่ 22 มกราคมปีนี้ ซึ่งแน่นอนว่าคนไทยเชื้อสายจีน หรือคนจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยต่างต้องเตรียมตัว เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ของจีน ผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูกทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่าง หน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูกประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่าง เช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืน เป็นต้น
ทั้งนี้ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้รวบรวมข้อมูล 12 ข้อห้าม ที่ไม่ควรทำในวันตรุษจีนมาให้ทราบพอสังเขป
เนื่องจากคำว่า "ผม" พ้องเสียงและพ้องรูปกับคำว่า "มั่งคั่ง" ดังนั้น การสระหรือตัดผมในวันตรุษจีน มีความหมายว่า การนำความมั่งคั่งออกไป
คนจีนจะงดพูดคำหยาบและสิ่งที่ไม่ดี รวมถึงพูดเรื่องความตายหรือผี เพราะเชื่อว่าจะนำความโชคร้ายมาให้ทั้งปี
ในสมัยก่อนคนจนมักจะกินโจ๊กในตอนเช้า ดังนั้น การกินโจ๊กในตอนเช้าของวันตรุษจีน เหมือนกับการขัดขวางความร่ำรวย ขัดลาภ ขัดโชค จึงไม่ควรกินโจ๊กในเช้าของวันตรุษจีน ตลอดจนรวมถึงไม่กินเนื้อสัตว์ด้วยเนื่องจากเชื่อว่าเทพเจ้าที่ลงมาในตอนเช้าของวันตรุษจีนนั้นจะกินแต่มังสวิรัติ
คนจีนเชื่อว่า เทพเจ้าแห่งน้ำเกิดในวันตรุษจีน ดังนั้น การซักผ้าในวันตรุษจีนเปรียบเสมือนการลบหลู่ท่าน
เสื้อผ้าที่เป็นสีขาวดำเป็นสัญลักษณ์ของความตาย ดังนั้น การใส่เสื้อผ้าสีขาวดำ หมายถึง ลางร้าย โดยคนจีนจะนิยมใส่เสื้อผ้าสีแดง เพราะเชื่อว่าสีแดง คือ สีแห่งความโชคดี
คนจีนเชื่อว่า การยืมเงินในวันนี้ จะทำให้ทั้งปีมีคนเข้ามาขอยืมเงินตลอด และถ้าใครที่ติดเงินใคร ควรที่จะคืนเงินก่อนวันตรุษจีน เพราะเชื่อว่า จะมีหนี้สินตลอดปี
เพราะเชื่อว่า เป็นลางร้ายถึงครอบครัวจะแตกแยก หรือมีคนเสียชีวิตในครอบครัว หากทำของแตกโดยไม่ได้ตั้งใจ มีวิธีการแก้เคล็ดโดยการพูดว่า "luo di ka hua" ที่แปลว่า ดอกไม้จะเบ่งบานเมื่อตกลงสู่พื้น
คนจีนจะไม่ซื้อรองเท้าใหม่ในเดือนแรกของวันตรุษจีน เพราะคำว่า รองเท้า ในภาษาจีนออกเสียงว่า Hai มีเสียงคล้ายกับการถอนหายใจ จึงเชื่อว่า เป็น "สัญญาณของการเริ่มต้นปีที่ไม่ดี"
คนจีนเชื่อว่า จะทำให้พบกับเรื่องไม่ดี และเสียใจทั้งปี
ชาวจีนเชื่อว่า การใช้ของมีคมตัดสิ่งของ คือ การตัดโชคดีไปด้วย
คนจีนเชื่อการเข้าห้องนอนผู้อื่นในวันตรุษจีน ถือเป็นโชคร้าย
ในวันขึ้นปีใหม่ของจีนจะไม่มีการกวาดบ้านจนกว่าจะถึง "วันชิวสี่" (วันชิวสี่ คือ วันที่สี่ของเทศกาลตรุษจีน โดยปกติ จะแบ่งเป็น วันจ่าย วันไหว้ วันเที่ยว และวันชิวสี่) เพราะถ้ากวาดบ้านในวันปีใหม่จะถือว่าเป็นการกวาดเอาสิ่งที่เป็นมงคลทิ้งไป
ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการทำความสะอาดบ้านปัดกวาดหยากไย่ครั้งใหญ่ก่อนจะเข้าสู่วันขึ้นปีใหม่ เพื่อที่ว่าพอวันปีใหม่มาถึงก็จะงดทำความสะอาดบ้านนั่นเอง แต่อย่างไรก็ดีหากบ้านใครสกปรกมากจนทนไม่ไหว ก็สามารถแก้เคล็ดได้ด้วยการกวาดจากหน้าบ้านเข้าไปในบ้านแทนได้
นอกจากข้อห้ามที่ไม่ควรทำให้วันตรุษจีนแล้ว ยังมี 8 สิ่งที่ควรทำในวันตรุษจีน
วันที่ชาวจีนต้องไว้เจ้านั้นเรียกว่า "วันซาจั๊บ" โดยมักจะทำในช่วงเช้าหลังจากที่ไหว้เจ้าในบ้าน คือ ตี่จู่เอี๊ยะและไหว้บรรพบุรุษ แล้วในตอนเที่ยงจึงไหว้ผีไม่มีญาติ โดยของไหว้จะมีทั้งอาหารคาว เช่น เป็ด ไก่ รวมถึงอาหารหวานด้วย จะมากหรือจะน้อย ก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้ไหว้ นอกจากนี้ก็ยังต้องมีเครื่องกระป๋อง ข้าวสารและเกลือ เพื่อให้ผีไม่มีญาติได้นำออกไป เมื่อไหว้เสร็จก็ต้องจุดประทัด จากนั้น จึงเอาข้าวสารมาผสมกับเกลือ แล้วนำมาโปรยเพื่อขับไล่สิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป
นอกจากในวันซาจั๊บแล้ว ในวันชิวอิกนี้ก็ยังต้องมีการไหว้ไหว้บรรพบุรุษ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย และที่สำคัญก็ยังต้องไหว้เจ้าเพื่อขอให้เทพเจ้าช่วยดลบันดาลให้ชีวิตของคุณและครอบครัวประสบแต่ความสุข ความเจริญในชีวิต
สิ่งที่สำคัญมากอีกหนึ่งประการของวันตรุษจีน คือ เป็นวันนัดรวมญาติ เพราะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทุกคนในครอบครัวจะต้องเดินทางมาร่วมโต๊ะกินเกี๊ยวด้วยกันในวันซาจั๊บ ซึ่งถือเป็นมื้อสุดท้ายก่อนจะถึงวันปีใหม่หรือ "วันชิวอิก" (วันแรกของปีใหม่ของชาวจีน คือ วันชิวอิก) และเหตุที่ต้องเป็น "เกี๊ยว" ก็เพราะรูปร่างของเกี๊ยวมีลักษณะเหมือนกับ "เงิน" ของจีน จึงแฝงความหมายเป็นนัยว่าให้มั่งมีเงินทองนั่นเอง
ในวันชิวอิก (วันแรกของปีใหม่ของชาวจีน) คนจีนจะกินเจเป็นอาหารมื้อแรก ซึ่งถือว่าเป็นมื้ออาหารแรกของปี โดยมีเชื่อว่าจะได้บุญเหมือนกับกินเจตลอดทั้งปี
"ไฉ่สิ่งเอี้ย" เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ และเป็นเทพพิทักษ์ทรัพย์ จึงมักจะมีการทำพิธีรับเทพ ซึ่งเปรียบได้กับการทำพิธีรับโชคลาภ โดยทั่วไปมักจะทำพิธีในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนไปจนถึงตีหนึ่งของวันซาจั๊บ
เมื่อก่อนคนจีนที่พอมีความรู้จะเขียน "ตุ๊ยเลี้ยง" เอง โดยใช้หมึกดำหรือสีทองเขียนคำอวยพรลงบนกระดาษสีแดง ท่านใดไม่มีความรู้ด้านภาษาจีน ก็สามารถไปจ้างมืออาชีพเขียนให้ได้ โดยแหล่งใหญ่ก็อยู่ในย่านไชน่าทาวน์ หรือ เยาวราชนั่นเอ ส่วนคำอวยพรที่นิยมเขียน ประกอบด้วยตัวอักษร 7 ตัว เขียนเป็นคำกลอน โดยมากจะอวยพรให้ "ทำมาค้าขึ้น หรือ ให้มั่งมีเงินทอง" จากนั้นจะนำมาติดตามสองข้างประตูบ้าน และต้องมีอีก 1 แผ่น สำหรับติดทางขวางตรงกลางทางเข้า-ออก แผ่นนี้จะต้องเขียนคำว่า "ชุก ยิบ เผ่ง อัง" ซึ่งมีความหมายว่า เข้า-ออกโดยปลอดภัย นอกจากนี้ ชาวจีนยังนิยมติดภาพเด็กผู้หญิง-เด็กผู้ชาย ที่เรียกว่า "หนี่อ่วย" ซึ่งถือเป็นภาพมงคลของจีนที่มักติดบริเวณประตูหน้าบ้าน
ในวันมงคลเช่นนี้ชาวจีนนิยมใส่เสื้อผ้าใหม่ สีสันสดใส เพราะเชื่อว่าจะทำให้มีแต่สิ่งดีๆ สิ่งใหม่ๆ เข้ามาในปีใหม่นี้ด้วย โดยการเลือกเสื้อสีสดก็เปรียบได้กับความสว่างสดใสและความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งสีที่เป็นที่นิยมที่สุด ก็คือ "สีแดง" หมายถึง ความมงคล มั่งคั่ง
ธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติในวันชิวอิก (วันแรกของปีใหม่จีน) คือ ทุกคนจะต้องนำส้ม 4 ผล ไปกราบขอพรผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่ซึ่งเป็นเจ้าบ้านเองก็จะเตรียมเมล็ดแตงโมย้อมสีแดงไว้ รวมถึงลูกสมอจีนเอารอรับแขกอยู่แล้ว เมื่อมีผู้มาอวยพรพร้อมกับส้ม 4 ผล เจ้าบ้านก็จะรับส้มมา 2 ผล พร้อมกับนำส้มในบ้านตนเองไปวางคืนให้กับแขก 2 ผล
วันตรุษจีนถือเป็นอีกวันสำหรับเด็กๆ ที่ต่างตั้งตารอคอยวันนี้มาตลอด เพราะเป็นวันที่จะได้รับซองแดงใส่เงินขวัญถุง จากผู้ใหญ่เพื่อให้โชคดีตลอดทั้งปี โดยมารยาทก่อนจะรับซองแดงต้องอย่าลืมกล่าวคำว่า "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้" เพื่ออวยพรผู้ใหญ่ก่อนเสมอไหว้เจ้าเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต