ในที่สุด การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้ปิดสถานีรถไฟดอนเมือง ย้ายไปยังสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง (ตลาดใหม่ดอนเมือง) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา สถานีรถไฟดอนเมือง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 โดยตั้งอยู่ฝั่งเดียวกับท่าอากาศยานกรุงเทพ เท่ากับว่าเป็นการ ปิดตำนาน 125 ปี สถานีรถไฟดอนเมือง
ล่าสุด “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ลงสำรวจพื้นที่สถานีรถไฟดอนเมือง ปรากฏว่า รฟท.ได้ปิดป้ายประกาศว่า “ปิดสถานีรถไฟดอนเมือง งดให้บริการตั้งแต่เวลา 12.00 น. ย้ายไปใช้สถานีร่วมสายสีแดง (ตลาดใหม่ดอนเมือง) ซึ่งพบว่าประชาชนบางคนที่ยังไม่ทราบข้อมูลว่า รฟท.ได้ปิดสถานีรถไฟดอนเมือง อย่างเป็นทางการถึงกับงง เพราะไม่ทราบข้อมูลมาก่อน อย่างไรก็ตาม รฟท.ไม่ใช่แต่ปิดสถานีรถไฟดอนเมืองเท่านั้น ยังปิดสถานีรถไฟหลักสี่ และ บางเขนอีกด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้ ทาง รฟท. การรถไฟฯ กำหนดให้วันที่ 19 มกราคม 2566 ปรับเปลี่ยนขบวนรถไฟทางไกล เหนือ ใต้ อีสาน ของขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว จำนวน 52 ขบวน ให้บริการ ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เป็นต้นไป จะไม่มีขบวนรถไฟโดยสารเดินบนเส้นทางรถไฟเดิมระดับดิน และจะยกเลิกการใช้ป้ายหยุดรถไฟ กม.11 สถานีบางเขน ที่หยุดรถไฟทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ และที่หยุดรถการเคหะ กม.19 สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีต้นทางปลายทางของขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และขบวนรถนำเที่ยวทุกสาย จำนวน 62 ขบวน จะยังคงให้บริการตามเดิม
สถานีที่ยกเลิกการให้บริการ ผู้โดยสารสามารถใช้สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงแทน การรถไฟฯ ให้สิทธิ์ผู้โดยสารใช้ตั๋วโดยสารขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา และตั๋วเดือน สามารถนำตั๋วโดยสารรถไฟทางไกลดังกล่าว เข้าใช้บริการขึ้น-ลง ที่สถานีของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เพื่อเชื่อมต่อไปสถานีรังสิต สถานีดอนเมือง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ภายในระยะเวลา 1 ปี ตามเงื่อนไขที่ระบุอยู่บนตั๋วโดยสาร
จุดให้บริการต่าง ๆ จะอยู่บริเวณชั้น G และจุดให้บริการชานชาลารถไฟทางไกล ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะอยู่บริเวณชั้นที่ 2 ประตู 4 จำนวน 12 ชานชาลา แบ่งออกเป็นรองรับรถไฟทางไกล จำนวน 8 ชานชาลา และรองรับระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา
สำหรับการปิดสถานีรถไฟดอนเมือง หลักสี่ บางเขน เพื่อก่อสร้างทางวิ่งและสถานีรถไฟความเร็วสูงกับรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบิน แอร์พอร์ตเรลลิงก์ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง"
ก่อนหน้านี้ รฟท.แจ้งว่า ตั้งแต่ 19 มกราคม 2566 การรถไฟฯ ปรับเปลี่ยนต้นทาง-ปลายทาง ขบวนรถไฟทางไกล เหนือ ใต้ อีสาน กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว จำนวน 52 ขบวน มาให้บริการ ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ประกอบไปด้วย สายเหนือ จำนวน 14 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 18 ขบวน และสายใต้ จำนวน 20 ขบวน
การรถไฟฯ ขอเชิญผู้โดยสารเปลี่ยนมาใช้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สามารถสำรองที่นั่งล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชั่น “D – Ticket” ช่องทางออนไลน์ และตรวจสอบเวลาการเดินรถ ราคาตั๋วโดยสาร ผ่านแอปพลิเคชั่น “SRT Timetable กำหนดเวลาเดินรถ” ดาวน์โหลดได้แล้ว ทั้ง IOS และ Android ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่า จาการที่ขบวนรถไฟทางไกลสายเหนือและสายอีสาน ที่ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะวิ่งบนโครงสร้างทางยกระดับเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และไม่หยุดรับ-ส่ง ผู้โดยสารสถานีรายทาง ได้แก่
เพื่อให้เกิดการเดินทางเชื่อมโยงอย่างสมบูรณ์ การรถไฟฯ จึงให้สิทธิ์ผู้โดยสารสามารถใช้ตั๋วโดยสารขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา และตั๋วเดือน สามารถนำตั๋วโดยสารรถไฟทางไกลดังกล่าวเข้าใช้บริการขึ้น-ลง สถานีของรถไฟชานเมืองสายสีแดงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ภายในระยะเวลา 1 ปี.