น.อ.นพ.วิทยา จักรเพ็ชร ประธานรุ่นผู้อบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลางด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รุ่นที่ 11 หรือ บสก. รุ่นที่ 11 เปิดเผยถึง สถานการณ์แรงงานไทยในปัจจุบันว่าแรงงานในระบบได้รับค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศในอัตรา 328-354 บาทต่อวันซึ่งมีการบังคับใช้มาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ประกอบกับในช่วงเวลานี้ซึ่งเป็นใกล้การเลือกตั้งที่จะมีในช่วงเดือนพ.ค.66
ดังนั้นจะเห็นว่าหลายพรรคการเมืองเริ่มประกาศชูนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในระดับที่สูงขึ้น จนทำให้เกิดการถกเถียงกันในสังคมว่า ค่าตอบแทนแรงงานขั้นต่ำในระดับที่เหมาะสมควรจะเท่าไหร่กับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในแต่ครั้งจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยอะไรบ้าง โดยการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละครั้งจะมีทั้งกลุ่มผู้ได้ประโยชน์และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ
“ กลุ่มแรงงานและระบบเศรษฐกิจถือว่าเป็นกำลังซื้อหลักในการจับจ่ายใช้สอยมากมากซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจให้มีความคึกคัก แต่ต้องยอมรับว่าผู้ได้รับผลกระทบจากก่ารปรับขึ้นค่าแรง คือ ผู้ประกอบการและโรงงาน เพราะมีต้นทุนด้านการผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในภาคแรงงาน ดังนั้นเมื่อต้นทุนด้านแรงงานเพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างไร เพราะไทยเองถือว่าเป็นฐานกำลังการผลิตที่สำคัญยิ่งในภาคอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบอย่างไร จะมีการโยกย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่”
ดังนั้น สมาชิกบสก. รุ่นที่ 11 เห็นถึงความสำคัญในประเด็นที่อยู่ในกระแสสังคมจึงได้จัดงานสัมมนาสาธารณะ ค่าแรงขั้นต่ำขายฝัน แรงงานไทย ? โดยมีผู้ร่วมเสวนาที่มาประสบการณ์มาร่วมเสวนา ไม่ว่าจะเป็น นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ที่ปรึกษาฝ่ายการวิจัย นโยบายทรัพยากรมนุษย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และ นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง กรรมการสมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) ที่จะมาร่วมพูดคุย หารือ เสนอทางออก เรื่องการชึ้นค่าแรงขั้นต่ำในระดับที่เหมาะสมจากมุมมองผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้อง Convention Hall อาคาร D สถานีโทรทัศน์ Thai PBSง ทะเบียนร่วมงานล่วงหน้าได้ที่ : https://bit.ly/3EHV7FU
ด้านนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทย เปิดเผยกับ”ฐานเศรษฐกิจ”ถึงกรณีที่พรรคการเมืองใช้นโยบายหาเสียงเรื่องค่าแรง นั้นในความเป็นนโยบายเก่าๆที่เคยมีมาเป็นสิบปีแล้ว ซึ่งถ้าทำได้จริงก็ต้องมาดูเรื่องเศรษฐกิจไทยและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนและของประเทศด้วยว่าทำอะไรได้บ้าง
หลังเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาบริหารประเทศก็ต้องดูว่านโยบายของรัฐบาลจะช่วยภาคธุรกิจให้เข้มแข็งอย่างไร การสร้างสเถียรภาพในด้านแข่งขันของธุรกิจไทย ของผู้ประกอบการไทยตรงนี้ที่สำคัญมากกว่า และจะเอาเม็ดเงินจากตรงไหนไปเพิ่มทั้งค่าแรงและเงินเดือน ซึ่งรัฐบาลใหม่จะต้องมีนโยบายควบคู่ไปด้วย
“นโยบายหาเสียงแบบนี้มีมาโดยตลอด ถามว่าทำได้หรือไม่ ทำได้ยากเพราะเป็นเรื่องที่ภาคเอกชนต้องมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาครัฐยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการช่วยเหลือเอกชนให้มีความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเอกชนยังขาดความสามารถในการจ่าย แต่ถ้าทำได้จริงคนที่จะมาเป็นรัฐบาลจะต้องมีส่วนช่วยธุรกิจให้มีรายได้ที่มากขึ้น มีความสามารถที่จะแข่งขันกับคู่ค้าได้แต่ถ้าทำธุรกิจเหมือนเดิมจ่ายเหมือนเดิมเป็นไปได้ยาก ซึ่งนโยบายของรัฐบาลต้องมาเสริมกับภาคเอกชนถึงจะทำได้จริง”