สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ได้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ รับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
โดยเสนอประเด็นที่ควรเร่งรัด เพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการพุ่งเป้า เพื่อบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเท่าที่ควร
35 เป้าหมายแตะระดับวิกฤต
จากรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2565 พบว่า จากเป้าหมายแผนแม่บทย่อยทั้งหมดจำนวน 140 เป้าหมาย มีจำนวน 35 เป้าหมายที่อยู่ในระดับวิกฤต โดยมี 11 เป้าหมายที่เป็นการปรับตัวลดลงจนเข้าขั้นระดับวิกฤต (สีแดง) แล้ว ซึ่งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ได้มีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ให้ทุกหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีค่าสถานะการบรรลุเป้าหมายในระดับวิกฤตหรือปรับตัวลดลงจนเข้าขั้นระดับวิกฤต
ทำโครงการซ้ำซ้อน-คล้ายเดิมทุกปี
ตัวอย่างเป้าหมายแผนแม่บทย่อย เช่น ด้านบุคลากรภาครัฐยึดค่านิยมในการทำงานเพื่อประชาชน ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก มีความสามารถสูง มุ่งมั่นและเป็นมืออาชีพ ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อน มีค่าสถานะการบรรลุเป้าหมายในปี 2565 ปรับลดลงอยู่ในระดับวิกฤต สะท้อนได้ว่าการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่ผ่านมายังไม่ก่อให้เกิดการพุ่งเป้าไปสู่การขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร
ขณะเดียวกันจากการพิจารณาห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand: FVCT) พบว่า มีโครงการในระบบ eMENSCR ที่รองรับการขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าวจำนวน 1,886 โครงการ ซึ่ง 70% ของโครงการทั้งหมดเป็นโครงการที่สอดคล้องกับ 2 ปัจจัย จากทั้งหมด 11 ปัจจัย
โดยมีโครงการที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ (โครงการสำคัญ) ประจำปีงบประมาณ 2565-2567 เพียง 2 โครงการเท่านั้น โดยไม่มีข้อเสนอโครงการสำคัญจากสำนักงาน ก.พ. ซึ่งเป็นหน่วยงานเจ้าภาพ ซึ่งโครงการและการดำเนินงานในส่วนใหญ่มีความซ้ำซ้อนและคล้ายเดิมในทุกปีสะท้อนให้เห็นว่า การดำเนินโครงการหรือการดำเนินงานยังไม่รองรับการขับเคลื่อนปัจจัยเท่าที่ควร
3 ประเด็นท้าทายเสี่ยงหลุดเป้า
เมื่อวิเคราะห์ FVCT ของเป้าหมายดังกล่าวพบว่า ยังมีประเด็นท้าทายที่อาจส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่
ดังนั้น หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้ง 3 ระดับ และหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนแผนแม่บทย่อย ของทั้ง 140 เป้าหมาย ต้องใช้ FVCT เป็นกรอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยนั้น ๆ และต้องให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ช่องว่างการพัฒนาเพื่อนำไปกำหนดประเด็นในการจัดทำโครงการที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการให้ สศช. ประชาสัมพันธ์ผลงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศของรัฐบาล รวมถึงของ สศช. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศให้ประชาชนทราบต่อไป