ไม่นานมานี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 หนึ่งในรายละเอียดของตัวเลขสำคัญที่ สศช. ประกาศออกมานั่นคือ “รายได้ต่อหัว” ของคนไทย ในปี 2566 ซึ่งถูกรายงานมาในการแถลงครั้งนี้ด้วย
สำหรับรายได้ต่อหัว ของคนไทยในปี 2566 สศช. ประเมินว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2565 ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่กำลังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่องหลังจากผ่านช่วงวิกฤตมาในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ โดยตัวเลขล่าสุดของรายได้ต่อหัว มีรายละเอียดดังนี้
รายได้ต่อหัวคนไทย 2566
อย่างไรก็ตามเมื่อตรวจสอบข้อมูลจาก สศช. พบตัวเลขรายได้ต่อหัวคนไทยย้อนหลัง 3 ปี (2563-2565) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจริงในปี 2563 รายได้ต่อหัวคนไทย อยู่ที่ 225,311.4 บาทต่อคนต่อปี ปี 2564 รายได้ต่อหัวคนไทย อยู่ที่ 231,986.1 บาทต่อคนต่อปี และ ปี 2565 รายได้ต่อหัวคนไทย อยู่ที่ 248,677.2 บาทต่อคนต่อปี
อย่างไรก็ตามตัวเลขรายได้ต่อหัวคนไทยในปี 2566 ซึ่งเป็นการประมาณการของสศช. นั้น เมื่อลงลึกไปในรายละเอียดพบว่า เป็นการปรับประมาณการขยายตัวลดลงเล็กน้อย โดยตัวเลข ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 สศช. แถลงว่า รายได้ต่อหัวคนไทยในปี 2566 จะอยู่ที่ 263,332.9 บาทต่อคนต่อปี ลดลงเป็น 262,633.3 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งเป็นการแถลงตัวเลขล่าสุด ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา
เปิดเป้าหมายรายได้ต่อหัวคนไทย
สำหรับเป้าหมายรายได้ต่อหัวคนไทย นั้น ก่อนหน้านี้ นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) ซึ่งประกาศใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 กำหนดเป้าหมายสำคัญในการทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยมีที่ต้องทำให้ได้ในช่วง 5 ปี ดังนี้
แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2566
สศช. ยังได้ประเมินเศรษฐกิจไทย ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.7 – 3.7% โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญทั้ง การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และการขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ
ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัว 3.7% ส่วนการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 1.9% และการลงทุนภาครัฐขยายตัว 2.7% ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 1.6% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.5 – 3.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.4% ของ GDP