สถานการณ์ "คนจน" และความยากจนของประเทศไทย ยังเป็นหนึ่งปัญหาสำคัญที่ยังไม่สามารถแก้ไขให้เสร็จสิ้น แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาล และหลายหน่วยงานจะพยายามระดมสรรพกำลังลงไปแก้ปัญหา พร้อมทั้งหาแนวทางช่วยเหลือผ่านนโยบายหลายอย่าง แต่ท้ายที่สุดก็ยังพบจำนวนคนจนในประเทศอีกจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนของประชาชนใจทุกมิติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
โดยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 347/2563 ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ศจพ. เพื่อเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยการใช้ข้อมูลคนจน 5 มิติจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนจนแบบชี้เป้า เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
เปิดจำนวนคนจนเป้าหมายของไทย 2566
ล่าสุดจากตัวเลขของฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) รายงานจำนวนคนจนของประเทศไทย โดยเฉพาะ “คนจนเป้าหมาย” หรือ คนจนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ซึ่งเป็นคนที่ได้รับการสำรวจว่าเป็นคนจนจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) กรมการพัฒนาชุมชน ที่มาลงทะเบียนว่าจนจากข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ ของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลประชากร 36,130,610 คนทั่วประเทศ สรุปได้ดังนี้
ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลคนจนเป้าหมายในปี 2566 พบว่า จำนวนคนจนของประเทศไทยได้ปรับตัวดีขึ้นมาก โดยเมื่อเทียบกับตัวเลขข้อมูลในปี 2565 ซึ่งทำการสำรวจพบว่า “คนจนเป้าหมาย” ของประเทศไทยในปี 2565 มีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 1,025,782 คน
จังหวัดไหนคนจนมากที่สุด
จากฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP รายงานจำนวนคนจนของประเทศไทย แยกเป็นรายจังหวัด โดย 5 จังหวัดที่มีคนจนมากที่สุดเรียกจากน้อยไปหามาก มีดังนี้
พื้นที่ดาวรุ่งที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกันปีต่อปีแล้ว พบว่า พื้นที่ที่มีพัฒนาการสูงสุด หรือ พื้นที่ที่มีสัดส่วนคนจนลดลงมากที่สุดไล่เรียงจากมากไปหาน้อย ประกอบด้วย จังหวัดแม่ฮ่องสอน น่าน ปัตตานี บึงกาฬ ตาก สตูล เพชรบูรณ์ เชียงราย ยะลา และพิจิตร
ส่วนพื้นที่เป้าหมาย หรือ พื้นที่ที่มีสัดส่วนคนจนลดลงน้อยที่สุดไล่เรียงจากมากไปหาน้อย ประกอบด้วย จังหวัดพะเยา อุทัยธานี มหาสารคาม ชัยนาท ระยอง สมุทรสงคราม ตราด ชลบุรี นครนายก และนครปฐม
ชงครม.แก้ปัญหาความยากจน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานความความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน และการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ล่าสุด ณ เดือนเมษายน 2566 โดยมีการสำรวจและมีการช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมาย 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน
ในกลุ่มคนที่ตกเกณฑ์ดัชนีความยากจนหลายมิติ (MPI) และมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีการสำรวจปัญหาจำนวนทั้งสิ้น 46,360 ครัวเรือน และมีกิจกรรมช่วยเหลือจำนวนทั้งสิ้น 13,568 ครัวเรือน และกลุ่มคนที่ตกเกณฑ์ MPI แต่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีการสำรวจปัญหาจำนวนทั้งสิ้น 26,607 ครัวเรือน และมีกิจกรรมช่วยเหลือจำนวนทั้งสิ้น 6,694 ครัวเรือน
กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง
มีการสำรวจปัญหาจำนวนทั้งสิ้น 97,771 ครัวเรือน และมีกิจกรรมช่วยเหลือจำนวนทั้งสิ้น 36,164 ครัวเรือน
กลุ่มคนที่ต้องสำรวจเพิ่มเติม
โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และได้รับการสำรวจข้อมูลความจำเป็น พื้นฐานแต่ไม่ตกเกณฑ์มิติความขัดสน MPI มีการสำรวจปัญหาจำนวนทั้งสิ้น 17,621 ครัวเรือน และมีกิจกรรมช่วยเหลือจำนวนทั้งสิ้น 10,843 ครัวเรือน
กลุ่มคนที่ตกหล่นจากระบบ TPMAP
สำหรับกลุ่มคนที่ตกหล่นจากระบบ TPMAP จำนวน 4,168 ครัวเรือน ซึ่งมีกิจกรรมช่วยเหลือจำนวนทั้งสิ้น 988 ครัวเรือน ศจพ. ทุกระดับในพื้นที่และทีมปฏิบัติการฯ ต้องเร่งสำรวจ แก้ไขปัญหา และพัฒนาให้ครอบคลุมทุกคนของทุกกลุ่มเป้าหมายต่อไป ตามแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ที่คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีมติเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ 1 กลุ่มคนเป้าหมายเร่งด่วน (คนที่ตกเกณฑ์ MPI) กลุ่มที่ 2 กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง และกลุ่มที่ 4 กลุ่มคนที่ตกหล่นจากระบบ TPMAP โดยสศช. อยู่ระหว่าง การประมวลผลข้อมูลจากระบบ ThaiQM เพื่อเติมเต็มข้อมูลการสำรวจปัญหาและการให้ความช่วยเหลือใน ระบบ TPMAP
ทั้งนี้ หากหน่วยงานของรัฐใดที่มีการจัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมโยงด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ข้อมูลศักยภาพในระดับพื้นที่ หรือข้อมูลในมิติอื่น ๆ สามารถสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว ให้จัดส่ง ข้อมูลมายังสำนักงานฯ เพื่อเติมเต็มระบบ TPMAP ต่อไป