“เอลนีโญ” ดันส่งออกข้าวไทย5เดือนพุ่ง26%

30 มิ.ย. 2566 | 07:55 น.
อัปเดตล่าสุด :30 มิ.ย. 2566 | 10:10 น.

“เอลนีโญ” ดันส่งออกข้าวไทย5เดือนพุ่ง26%  ผู้นำเข้าเร่งนำเข้าข้าวต่อเนื่องเพื่อชดเชยสต็อกข้าวในประเทศที่ลดลงและเก็บสต็อกสำรองไว้ และยังได้อานิสงส์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง เดือนมิ.ย.คาดส่งออกได้7แสนตัน

นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์  นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเปิดเผยถึการส่งออกข้าวในช่วง5เดือน(ม.ค.-พ.ค..) พบว่าการส่งออกข้าวในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 มีปริมาณ 3,467,368 ตัน        มูลค่า 64,322 ล้านบาท (1,896.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 26.5% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 34.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่ส่งออกปริมาณ 2,741,910 ตัน มูลค่า 47,785 ล้านบาท หรือ1,452.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์  นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

ทั้งนี้การส่งออกข้าวในเดือนพฤษภาคม 2566 มีปริมาณ 849,807 ตัน มูลค่า 15,710 ล้านบาท โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 53.5% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 48.9% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2566 ที่มีการส่งออกมีปริมาณ 553,633 ตัน มูลค่า 10,546 ล้านบาท

“เอลนีโญ” ดันส่งออกข้าวไทย5เดือนพุ่ง26%

เนื่องจากในเดือนพฤษภาคม 2566 การส่งออกข้าวทุกชนิดมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อน โดยเพราะการส่งออกข้าวขาวไปยังตลาดสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย อิรัก ญี่ปุ่น มีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก เช่นเดียวกับข้าวนึ่งที่ส่งออกไปยังแอฟริกาใต้มากขึ้น

 โดยการส่งออกข้าวขาวมีปริมาณ 478,632 ตัน เพิ่มขึ้น 48.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ส่งไปประเทศอินโดนีเซีย อิรัก ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มาเลเซีย ซิมบับเว เป็นต้น ส่วนข้าวนึ่งมีการส่งออกปริมาณ 173,654 ตัน เพิ่มขึ้น 86.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

ส่วนใหญ่ส่งไปยังตลาดประจำ เช่น แอฟริกาใต้ เยเมน แคเมอรูน เป็นต้น ในขณะที่การส่งออกข้าวหอมมะลิ (ต้นข้าว) มีปริมาณ 92,376 ตัน เพิ่มขึ้น 16.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่งไปยังตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง แคนาดา จีน สิงคโปร์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามคาดว่าในเดือนมิถุนายน 2566 ปริมาณส่งออกข้าวจะอยู่ที่ระดับประมาณ 700,000 ตัน เนื่องจากผู้ส่งออกมีสัญญาส่งมอบให้กับผู้นำเข้าข้าวที่สำคัญทั้งในแถบอาเซียน ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ขณะที่ผู้นำเข้าต่างเร่งนำเข้าข้าวอย่างต่อเนื่องเพื่อชดเชยสต็อกข้าวในประเทศที่ลดลงและเก็บสต็อกสำรองไว้ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญที่คาดว่าจะทำให้หลายประเทศประสบกับภาวะภัยแล้ง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรรวมทั้งข้าว    

“เอลนีโญ” ดันส่งออกข้าวไทย5เดือนพุ่ง26%

    มีปริมาณลดลง ประกอบกับในช่วงนี้อุปทานข้าวของไทยยังคงมีเพียงพอ และยังได้อานิสงค์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง จึงทำให้ราคาส่งออกข้าวของไทยอยู่ในระดับที่ไม่ห่างจากประเทศคู่แข่งมากนัก ทำให้ผู้ซื้อหันมาหาข้าวไทยมากขึ้น

“เอลนีโญ” ดันส่งออกข้าวไทย5เดือนพุ่ง26%

ทั้งนี้ราคาข้าวขาว 5% ของไทย ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2566 อยู่ที่ 518 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ราคาข้าวขาว 5% ของเวียดนาม อยู่ที่ 508-512ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน  อินเดีย อยู่ที่468-472  ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และปากีสถาน, อยู่ที่488-492 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันส่วนราคาข้าวนึ่งไทยอยู่ที่ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ข้าวนึ่งของอินเดีย อยู่ที่ 408-412  ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และปากีสถาน อยู่ที่558-562 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน