“เงินเฟ้อไทย”เริ่มชะลอตัวต่อเนื่องทั้งปีขยายตัว1.5%

07 ส.ค. 2566 | 20:00 น.

ทิศทางเงินเฟ้อไทยเริ่มชะลอตัวลงหลังปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องทั้ง ราคาพลังงาน กลุ่มอาหารลดลงต่อเนื่องแม้จะมีบ้างรายการสูงขึ้นเล็กน้อย “พาณิชย์”มั่นใจทั้งปีเงินเฟ้อไทยอยู่ในเป้า1.5%ย้ำไทยอยู่ในประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำสุดในอาเซียน

 

นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเดือนนี้อยู่ในระดับต่ำ ยังคงมาจากการลดลงต่อเนื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ลดลงค่อนข้างมากถึง7.92% ส่งผลให้หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.38 %

“เงินเฟ้อไทย”เริ่มชะลอตัวต่อเนื่องทั้งปีขยายตัว1.5%

ขณะที่สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว อยู่ที่1.49 % จาก3.37% ในเดือนมิถุนายน 2566 จากการลดลงต่อเนื่องของราคาเนื้อสุกร และเครื่องประกอบอาหาร

มาดู"รายจ่าย"ที่คนไทยต้องในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง

เงินเฟ้อไทย7เดือนสูงขึ้น2.19% จับตาภัยแล้ง ราคาน้ำมัน ความขัดแย้ง

อย่างไรก็ตาม สินค้าในกลุ่มผักและผลไม้ อาทิ มะนาว ขิง มะเขือ เงาะ แตงโม และส้มเขียวหวาน ราคาสูงขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก   โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในเดือนกรกฎาคม 2566 สูงขึ้นเพียง 0.38%ซึ่งอยู่ระดับต่ำกว่า1.0% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566)

“เงินเฟ้อไทย”เริ่มชะลอตัวต่อเนื่องทั้งปีขยายตัว1.5%

ปัจจัยสำคัญยังคงมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เนื้อสุกร และเครื่องประกอบอาหาร ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค. – ก.ค.) ปี 2566 สูงขึ้น 2.19 %ทยอยปรับเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่กำหนด

 สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้น 0.86% ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าแรงกดดันของต้นทุนการผลิตมีสัญญาณคลี่คลาย ทั้งนี้คาดว่าทั้งปี66 เงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในช่วงที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ 1-2% โดยมีค่ากลางอยู่ที่1.5%

เมื่อเทียบเงินเฟ้อของไทยกับต่างประเทศ(ข้อมูลล่าสุดเดือนมิถุนายน)พบว่า ทั้งเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐาน มีทิศทางชะลอตัวสอดคล้องกับหลายประเทศทั่วโลก และไทยยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อระดับต่ำต่อเนื่องจากเดือนก่อน อีกทั้งยังต่ำที่สุดในอาเซียนอีกด้วย  ดังนั้นเห็นได้ว่า สถานการณ์เงินเฟ้อของไทยปีนี้คลี่คลาย ส่วนหนึ่งมาจากการทำงานอย่างเข้มข้นของกระทรวงพาณิชย์ในการกำกับดูแลการจำหน่ายสินค้าและบริการอย่างใกล้ชิด ตลอดห่วงโซ่การผลิต และเดินหน้าช่วยผู้ประกอบการในการลดต้นทุนการผลิตอย่างเต็มความสามารถ

“เงินเฟ้อไทย”เริ่มชะลอตัวต่อเนื่องทั้งปีขยายตัว1.5%

อาทิ การดูแลปุ๋ยเคมีให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ และการลดต้นทุนราคาอาหารสัตว์แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ไก่ไข่ และไก่เนื้อ เพื่อให้ราคาขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคอยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ รัฐบาลยังกำกับดูแลราคาพลังงาน ทั้งค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นภาระต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมากจนเกินไป

“เงินเฟ้อไทย”เริ่มชะลอตัวต่อเนื่องทั้งปีขยายตัว1.5%

รวมถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของไทย อย่างไรก็ตามยังคงเฝ้าระวังความผันผวนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สถานการณ์ภัยแล้ง เศรษฐกิจโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชน และอัตราเงินเฟ้อ