วิเคราะห์ผลกระทบ"เอลนีโญ”อุปสรรคใหญ่ ส่งออกข้าวไทย

09 ส.ค. 2566 | 03:15 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ส.ค. 2566 | 04:25 น.

วิเคราะห์ส่งออกข้าวไทยครึ่งปีหลังยังผันผวน อุปสรรคใหญ่ คือ เอลนีโญ คาดสต็อกข้าวโลกปี66/67 ลดลง 8.56% เอกชนห่วงปีหน้าน้ำในเขื่อนลด ข้าวนาปีเสี่ยงเจอภาวะฝนแล้ง พื้นที่ชลประทานขาดแคลนน้ำ ผลผลิตลด

“ข้าว” ถือว่าเป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศที่ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดกว่า 43.7% ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของประเทศและครอบคลุมครัวเรือนถึง 5.1 ล้านครัวเรือน ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นอันดับต้นๆในการให้ความช่วยเหลือ 

วิเคราะห์ผลกระทบ\"เอลนีโญ”อุปสรรคใหญ่ ส่งออกข้าวไทย

ไม่ว่าจะเป็นประกันราคาข้าว รับจำนำข้าว การสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว และโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ซึ่งแต่ละโครงการปีใช้เงินไม่กว่าแสนล้านบาทเพราะชาวนาถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

แต่น่าเสียดายที่ปีหน้าโครงการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรต่อเนื่องอย่างประกันรายได้ข้าวยังคงไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพราะต้องรอรัฐบาลใหม่และกระทรวงพาณิชย์เสนอโครงการ ดังนั้นรอบปีนี้ต่อเนื่องปีหน้าชาวนาคงต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ปลูก เพราะนอกจากจะไม่มีโครงการสนับสนุนจากแล้ว ปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยหลังจากนี้คือ "เอลนีโญ" ซึ่งจะเกิดผลกระทบอย่างมากต่อชาวนา

วิเคราะห์ผลกระทบ\"เอลนีโญ”อุปสรรคใหญ่ ส่งออกข้าวไทย

สต๊อกข้าวโลกปี 2566/67 ลด ผลผลิตเพิ่ม

โดยมีการคาดการณ์ว่าสต๊อกข้าวโลกปี 2565/66  มีปริมาณ 182.28 ล้านตันข้าวสาร และปี 2566/67 มีปริมาณ 166.68  ล้านตันข้าวสาร  ลดลง 8.56% 

ในขณะที่ผลผลิตข้าวโลกปี 2565/66  มีปริมาณ  508.41 ล้านตันข้าวสารและปี 2566/67 มีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 520.52 ล้านตันข้าวสาร 

วิเคราะห์ผลกระทบ\"เอลนีโญ”อุปสรรคใหญ่ ส่งออกข้าวไทย

ประเทศผู้ผลิตข้าว 6 อันดับแรกของโลก

อันดับ 1 จีน โดยปี 65/66 จีนผลิตข้าวได้ 145.94 ล้านตันข้าวสาร ในปี 66/67 จีนคาดผลิตได้149.00 ล้านตันข้าวสารเพิ่มขึ้น 2.09% แต่จีนจำกัดการส่งออกข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร

วิเคราะห์ผลกระทบ\"เอลนีโญ”อุปสรรคใหญ่ ส่งออกข้าวไทย

อันดับ 2 อินเดีย ผลิตข้าวในปี 65/66 ปริมาณ 132.00 ล้านตันข้าวสาร และปี 66/67 ผลิตได้ 133.00 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.76% แต่ล่าสุดอินเดียห้ามส่งออกข้าวตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. 2566 เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีข้าวเพียงพอในการบริโภค และทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น โดยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยรายงานว่าราคาข้าวขาว 5% ราคา FOB วันที่ 26 ก.ค. 2566 ตันละ 572 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากวันที่ 12 ก.ค.2566 ที่อยู่ตันละ 534 ดอลลาร์

อันดับ 3  บังคลาเทศ มีผลผลิตปี 65/66 ปริมาณ 36.35 ล้านตันข้าวสาร  และปีผลิต66/76 ปริมาณ 37.00 ล้านตันข้าวสารเพิ่มขึ้น 1.79% 

อันดับ 4 อินโดนีเซีย ผลผลิตปี65/66 ปริมาณ 34.00 ล้านตันข้าวสาร และปีผลิต66/76 ปริมาณ 34.45 เพิ่มขึ้น1.32%

วิเคราะห์ผลกระทบ\"เอลนีโญ”อุปสรรคใหญ่ ส่งออกข้าวไทย

อันดับ 5 เวียดนาม มีผลผลิตปี65/66 ปริมาณ 27.00 ล้านตันข้าวสาร และปีผลิต66/76ปริมาณ 27.00 ล้านตันข้าวสารไม่เปลี่ยนแปลง

อันดับ 6 ไทย โดยคาดการณ์ว่าไทยจะมีผลผลิตข้าวใน 65/66 ปริมาณ 20.20 ล้านตันข้าวสารและปีผลิต66/76 ปริมาณ 20.50ล้านตันข้าวสารเพิ่มขึ้น 1.49% 

วิเคราะห์ผลกระทบ\"เอลนีโญ”อุปสรรคใหญ่ ส่งออกข้าวไทย

ส่วนปริมาณการส่งออกข้าวในตลาดโลกปี 66/67 คาดว่าน่าจะอยู่ที่ 55.80 ล้านตันข้าวสาร

นายชูเกียรติ  โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า  การส่งออกข้าวครึ่งหลังปี 2566 สถานการณ์ยังไม่แน่นอน หลังจากที่รัฐบาลอินเดียสั่งยุติส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่พันธุ์บาสมาติเพื่อเพิ่มปริมาณข้าวในประเทศ และสกัดกั้นการขึ้นราคาข้าวในประเทศทำให้ตลาดค้าข้าวโลกหยุดชะงักเพื่อรอดูสถานการณ์

นายชูเกียรติ  โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

สำหรับราคาข้าวในประเทศพบว่าโรงสียังไม่เปิดราคาขายข้าวดังนั้นผู้ส่งออกจะยังไม่รู้ว่าจะซื้อราคาเท่าไร จึงต้องรอเพื่อให้มีความชัดเจน ส่วนปัญหาภัยแล้งที่จะได้รับผลกระทบจากเอลนีโญนั้นในปีนี้ไทยจะยังไม่ได้ผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งมั่นใจว่าผลผลิตข้าวนาปีและนาปรังจะได้ตามเป้าหมาย 30 ล้านตันข้าวเปลือก และส่งออกข้าวได้ 8 ล้านตัน

แต่ปี 2567 ต้องยอมรับว่าการผลิตข้าวจะเผชิญความท้าทายจากเอลนีโญ เพราะน้ำในเขื่อนลดลงจะทำให้ผลผลิตเสียหาย โดยข้าวนาปีอาศัยน้ำธรรมชาติจะเสี่ยงเจอภาวะฝนแล้ง ส่วนข้าวในพื้นที่ชลประทานจะขาดแคลนน้ำ ซึ่งทำให้ผลผลิตข้าวปี 2567 ต่ำกว่าปี 2566 รวมทั้งดีมานด์ข้าวในประเทศลดลง

วิเคราะห์ผลกระทบ\"เอลนีโญ”อุปสรรคใหญ่ ส่งออกข้าวไทย

“ปัญหาเอลนิโญที่ทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรงต้องติดตามผลกระทบต่อผลผลิตข้าวไทย ซึ่งช่วงนี้ยังมีฝนตกดีจึงรอดูเดือน ก.ย.เป็นต้นไปที่ยังคาดไม่ได้ ทำให้รอดูข้าวนาปีที่จะเก็บเกี่ยวเดือน ธ.ค.2566 และหากฝนทิ้งช่วงจะมีความเสียหายต่อข้าว สำหรับการส่งออกข้าวครึ่งปีหลัง 2566 คาดว่าน่าจะถึง 4 ล้านตันโดยครึ่งปีแรกส่งออกได้ 4.2 ล้านตัน รวมแล้วทั้งน่าจะได้ตามเป้า 8 ล้านตัน”

ข้อมูลจากสมาคมโรงสีข้าวไทย ณ วันที่ 25 ก.ค.66 พบว่าราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นในรอบ15-16 ปี โดยมีราคาตันละ 11,000-11,200 บาท จากนี้จะต้องติดตามต่อไปว่าราคาข้าวจะปรับตัวอย่างไร