หลังจากที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศแบ่งตามกิจกรรมการผลิตดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศแบ่งตามกิจกรรมการผลิต เดือนกรกฎาคม 2566 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 108.5 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2565 ลดลง 5.1% โดยมีปัจจัยหลักจากราคาสินค้าสำคัญปรับลดลงอย่างต่อเนื่องตามตลาดโลก โดยเฉพาะน้ำมันและสินค้าเกี่ยวเนื่อง ประกอบกับฐานราคาในปีก่อนอยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ ราคาสินค้าลดลงทั้ง 3 หมวดหลักประกอบด้วย หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลง 4.7%จากกลุ่มสินค้าสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และโลหะขั้นมูลฐาน (เหล็ก)หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลง 23%
จากกลุ่มสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ และสินแร่โลหะ และ หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง ลดลง1.1% เป็นผลจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลปาล์มสด ยางพารา สุกรมีชีวิต และผลิตภัณฑ์จากการประมง อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก หัวมันสำปะหลังสด พืชผัก ผลไม้ ปลาน้ำจืด และไข่ไก่
ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามขั้นตอนการผลิต พบว่า ดัชนีหมวดสินค้าสำเร็จรูปลดลง 0.4% หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป) ลดลง 11.7 % และหมวดสินค้า วัตถุดิบ ลดลง 11.3% โดยมีสินค้าสำคัญในห่วงโซ่อุปทานที่ราคาปรับลดลงตามวัตถุดิบ
ได้แก่ ผลปาล์มสด น้ำมันปาล์มดิบ →น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ และน้ำยางสด/ยางแผ่นดิบ/เศษยาง →ยางแผ่นรมควัน/ยางแท่ง →ถุงมือยาง/ถุงยางอนามัย/ยางรัดของ หัวมันสำปะหลังสด → มันเส้น/มันอัดเม็ด/แป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากมีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อ้อย → น้้าตาลทรายดิบ → น้้าตาลทรายขาว เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามภาวะตลาดโลก
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนสิงหาคม 2566 มีแนวโน้มลดลง ตามราคาพลังงานที่แม้ช่วงเดือนที่ผ่านมาจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังคงต่ำกว่าปีก่อน ซึ่งส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ฐานราคาปี 2565 ที่อยู่ ในระดับสูง การชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญ และการลงทุนภาครัฐที่ชะลอตัวจากการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลใหม่ ส่งผลต่อ อุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการโดยรวม ซึ่งจะทำให้ดัชนีราคาผู้ผลิตมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตาม ราคาพลังงานที่ยังคงผันผวน สภาพอากาศแปรปรวนที่อาจส่งผลต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตรและประมง ต้นทุน การผลิตที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าจ้างแรงงาน และอัตราดอกเบี้ย การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุน ที่สำคัญ ซึ่งจะกระทบต่อภาคการผลิตและดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศไทย ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์ อย่างใกล้ชิด