หลังจากที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศแบ่งตามกิจกรรมการผลิต เดือนพฤศจิกายน 2565 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 113.7 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 สูงขึ้น 7.2% จากการปรับสูงขึ้นของราคา หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้น 5.4%
ตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทั้งราคาวัตถุดิบ พลังงาน และ บรรจุภัณฑ์ แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในทิศทางชะลอลงต่อเนื่อง 5 เดือน โดยกลุ่มสินค้า สำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้น49.7% จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันปิโตรเลียมดิบ และหมวดผลิตภัณฑ์ เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้น 6% เป็นผลจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือก หัวมันสำปะหลังสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลไม้ สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต ไข่ไก่ ไข่เป็ด และผลิตภัณฑ์จากการประมง
ดัชนีราคาผู้ผลิตแบ่งตามขั้นตอนการผลิตพบว่า ดัชนีหมวดสินค้าสำเร็จรูป หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป)สูงขึ้น3.4% และหมวดสินค้าวัตถุดิบ สูงขึ้น26.3% โดยมีสินค้าสำคัญในห่วงโซ่อุปทานที่ราคาปรับสูงขึ้น ตามราคาวัตถุดิบ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า → ข้าวสารเจ้า/ข้าวนึ่ง/ปลายข้าว → แป้งข้าวเจ้า และหัวมันสำปะหลังสด → มันเส้น/มันอัดเม็ด/แป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากมีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อ้อย → น้้าตาลทรายดิบ → น้้าตาลทรายขาว เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามภาวะตลาดโลก
ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนธันวาคม 2565 มีแนวโน้มสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง จากราคาสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ตามราคา สินแร่โลหะที่มีแนวโน้มลดลง ส่วนก๊าซธรรมชาติชะลอตัวค่อนข้างมากตามราคาในตลาดโลก นอกจากนี้ สินค้าสำคัญ ทั้งผลปาล์มสด ยางพารา และเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก คาดว่าราคาจะปรับลดลงจากปีก่อนเนื่องจากความต้องการชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ประกอบกับฐานราคาที่สูงในเดือนธันวาคม 2564
สำหรับปัจจัยที่ท้าให้ดัชนีราคาผู้ผลิตยังคงขยายตัว ได้แก่ ต้นทุนการผลิต ทั้งราคาพลังงาน ปุ๋ย อาหารสัตว์ วัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าไฟฟ้า ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน รวมทั้งค่าแรงขั้นต่ำและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ต้นทุนการนำเข้าที่อยู่ในระดับสูง จากเงินบาทที่ยังคงอ่อนค่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และ อุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อการชะลอ ตัวของเศรษฐกิจโลก นโยบายการเงินที่เข้มงวดในหลายประเทศ ความไม่แน่นอนของอุปทานน้ำมันดิบ และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะจีนที่ยังคงใช้นโยบาย Zero COVID อาจส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งจะกระทบต่อภาคการผลิตและดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศไทยตามล้าดับ ซึ่งจะต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด