หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เปิดเผยทิศทางการขับเคลื่อนและการพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของคนนพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ล่าสุดได้มีการกำหนดพื้นที่ยุทธศาสตร์ 7 จังหวัดที่ประสบปัญหาความยากจน ประกอบด้วย จังหวัดลำปาง จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดพัทลุง จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา พบว่า มีจำนวนคนจนรวมกันกว่า 88,988 ครัวเรือน หรือจำนวน 385,366 คน
โดยกำหนดให้เป็นตัวอย่างของจังหวัดนำร่องในการขยายผลงานวิจัยระดับพื้นที่ไปสู่รูปธรรมของการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและขจัดความยากจนได้อย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบการทำงานในช่วงระยะเวลา 5 ปี (2566-2570) และเกิดมหาวิทยาแก้จนในพื้นที่ที่รู้ลึกรู้จริงในแก้ไขปัญหาพื้นที่
สำหรับพื้นที่ยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญ บพท.ได้เร่งดำเนินการใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยที่ผ่านมา บพท. ได้ศึกษาข้อมูลประชากรในพื้นที่พบข้อมูลที่น่าสนใจเมื่อแยกออกมาเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้านทุนมนุษย์
ทุนกายภาพ
ทุนการเงิน
ทุนธรรมชาติ
ทุนสังคม
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดย ผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ รองอธิการบดี วิทยาเขตปัตตานี ได้รายงานผลลัพธ์ของงานวิจัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก บพท. กระทรวง อว. ประกอบด้วย
โครงการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตปูทะเล ในพื้นที่ภาคใต้ สู่การเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่ของประเทศ ด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การตลาด และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จ.ปัตตานี และโครงการวงแหวนพหุวัฒนธรรมเมืองปัตตานี
สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นงานวิจัยที่ส่งผลดีต่อการยกระดับรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในจังหวัดปัตตานีให้ดีขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจฐานรากบนฐานทรัพยากรในพื้นที่
ทั้งนี้จังหวัดปัตตานี เป็น 1 ใน 7 จังหวัดต้นแบบพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคม ที่ขยายผลจากการบูรณาการระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ (PPPConnext) จนสามารถค้นพบครัวเรือนยากจนในจังหวัดปัตตานี จำนวน 19,005 ครัวเรือน หรือ 109,926 คน ด้วยระบบชี้เป้าที่แม่นยำ ระบบส่งต่อความช่วยเหลือ
จึงทำให้คนจนเข้าถึงโอกาส การพัฒนานวัตกรรมแก้จน สร้างธุรกิจและวิสาหกิจชุมชน และการขยายผลบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย นำไปสู่กลไกเชื่อมโยงแผนพัฒนาระดับพื้นที่ท้องถิ่น แผนพัฒนาจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนอย่างตรงเป้า ลดความเหลื่อมล้ำ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ทำให้คนปัตตานีหลุดพ้นจากความยากจนยกทั้งจังหวัดในปี 2570