- สิทธิในการนำเงินที่ใช้ไปในการลงทุนในการประกอบกิจการหักออกจากกำไรสุทธิ โดยผู้ประกอบกิจการที่ไม่ได้รับทั้งการยกเว้นหรือการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล คณะกรรมการเจรจาอาจพิจารณาให้สิทธิในการนำเงินที่ใช้ไปในการลงทุนในการประกอบกิจการหักออกจากกำไรสุทธิ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1-70% ของเงินที่ลงทุนแล้วในกิจการนั้น นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติโดยจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีรายได้จากการประกอบกิจการ
- สิทธิในการนำค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปามาหักเพิ่มเติมจากจำนวนเงินค่าใช้จ่ายเดิม โดยสามารถหักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปาได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่เสียไปเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ โดยมีระยะเวลาตามที่คณะกรรมการเจรจากำหนด
- สิทธิในการนำเงินลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการหักจากกำไรสุทธิ สามารถนำเงินลงทุน 1-25% ของเงินที่ลงทุนแล้ว มาหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีรายได้จากการลงทุน นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ
- สิทธิในการยกเว้นการนำเงินปันผลมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลจากกิจการซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกอบกิจการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยให้รวมถึงเงินปันผลที่ได้จ่ายภายในหกเดือนนับแต่วันพ้นระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย
- สิทธิในการยกเว้นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ จะได้รับการยกเว้นการนำค่าแห่งกู๊ดวิลล์ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่นของผู้ประกอบกิจการมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ มีกำหนดระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ผู้ประกอบกิจการเริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ
- สิทธิในการได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการเจรจาพิจารณาอนมัติ
- สิทธิในการได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำมาใช้เพื่อการวิจัยและพัฒนา จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ผู้ประกอบกิจการนำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้อง
- สิทธิในการได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุที่จำเป็น เพื่อใช้ในการผลิต เพื่อการส่งออก จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อใช้ผลิต ผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลเฉพาะที่ใช้ในการส่งออก ตามเงื่อนไขวิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการเจรจากำหนด โดยไม่ให้นำกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้บังคับ
- สิทธิในการได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุที่จำเป็น จะได้รับการลดหย่อนอากรขาเข้า สำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ผลิต ผสมหรือประกอบในกิจการที่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการในอัตราไม่เกิน 90% ของอัตราปกติโดยมีกำหนดเวลาคราวละไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการเจรจากำหนด
- สิทธิในการได้รับยกเว้นอากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ นำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป ตามเงื่อนไข วิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการเจรจากำหนด โดยไม่ให้นำกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้บังคับ
- สิทธิในการได้รับยกเว้นอากรขาออก จะได้รับยกเว้นอากรขาออกสำหรับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลที่ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษผลิตหรือประกอบ ตามเงื่อนไข วิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการเจรจากำหนด โดยไม่ให้นำกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้บังคับ
สิทธิประโยชน์สูงสุดที่ไม่ใช่ด้านภาษีอากร
- สิทธิในการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยจะได้สิทธิถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาต โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- สิทธิในการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ซึ่งจะได้สิทธิถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดภายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อประกอบกิจการหรืออยู่อาศัย โดยได้รับการยกเว้นจากการจำกัดสิทธิของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด โดยไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- สิทธิในการนำคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักร โดยจะได้สิทธินำคนต่างด้าวที่เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ผู้บริหาร หรือผู้ชำนาญการ ตลอดจนคู่สมรส และบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะของบุคคลดังกล่าว เข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรได้ตามจำนวนและระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ
- สิทธิในการทำงานของคนต่างด้าว คนต่างด้าวที่เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ผู้บริหาร หรือผู้ชำนาญการ ที่ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษนำเข้ามามีสิทธิทำงานตำแหน่งหน้าที่การทำงานที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด โดยไม่ต้องได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
- สิทธิในการได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน โดยจะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดและตกลงร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย
- สิทธิในการใช้เงินตราต่างประเทศเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการ โดยผู้ประกอบกิจการสามารถใช้เงินตราต่างประเทศเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดและตกลงร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย
- สิทธิประโยชน์อื่นตามกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถ โดยจะได้สิทธิในการได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
สำหรับเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวมีจำนวน 42 แห่ง ประกอบด้วย 35 เขต ที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ได้ประกาศกำหนดเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษอีก 7 แห่ง ดังนี้
เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ 35 เขต
1) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด แห่งที่ 4 จังหวัดระยอง
2) นิคมอุตสาหกรรม Smart Park
3) นิคมอุตสาหกรรม ซี.พี. ระยอง
4) นิคมอุตสาหกรรม ที เอฟ ดี 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา
5) นิคมอุตสาหกรรมยามาโตะ อินดัสทรีส์ จังหวัดชลบุรี
6) นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง
7) นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง) จังหวัดชลบุรี
8) นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3) จังหวัดชลบุรี
9) นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 4) จังหวัดชลบุรี
10) นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5) จังหวัดชลบุรี
11) นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
12) นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (โครงการ 2)
13) นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้
14) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชระยอง 36 จังหวัดระยอง
15) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด)
16) นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
17) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด
18) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด แห่งที่ 3 จังหวัดชลบุรี
19) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด แห่งที่ 2 จังหวัดชลบุรี
20) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี แห่งที่ 2
21) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี
22) กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์อนาคต บ้านโพธิ์
23) กลุ่มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปางปะกง
24) นิคมอุตสาหกรรมโรจนะแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
25) นิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี
26) นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย คลีน จังหวัดชลบุรี
27) นิคมอุตสาหกรรมแอ็กโกระยอง จังหวัดระยอง
28) นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง จังหวัดระยอง
29) เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa)
30) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)
31) เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)
32) รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (EECh)
33) ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ (EECmd)
34) การแพทย์จีโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา (EECg)
35) ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้างฉาง (EECtp)
เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ 7 แห่ง
1) เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa)
2) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)
3) เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)
4) รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (EECh)
5) ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ (EECmd)
6) การแพทย์จีโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา (EECg)
7) ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้างฉาง (EECtp)