การเลือกตั้ง "บอร์ดประกันสังคม" ในส่วนตัวแทนนายจ้างและตัวแทนลูกจ้าง ฝ่ายละ 7 คน ถือเป็น "ครั้งแรก" ในรอบ 33 ปี ที่มาจากการเลือกตั้งของผู้ประกันตน เข้ามาทำหน้าที่เสนอความเห็นและนโยบายในการดูแลจัดการและบริหารกองทุนประกันสังคม ที่ปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 2.4 ล้านล้านบาท
ทว่าการรุกคืบทางการเมืองของ "ทีมประกันสังคมก้าวหน้า" เกือบจะ "กินรวบ" ฝ่ายตัวแทนลูกจ้าง โดยกวาดที่นั่งใน "บอร์ดประกันสังคม" ไปถึง 7 เก้าอี้ จากทั้งหมด 8 เก้าอี้ ยิ่งผ่าโครงสร้าง หน้าที่-อำนาจของ "บอร์ดประกันสังคม" จะพบว่า "อำนาจครอบจักรวาล"
“บอร์ดประกันสังคม” ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม พ.ศ.2533 ฉบับอัพเดทล่าสุด มาตรา 8 ประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ 7 คน ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 7 คน และ ผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน 7 คน
บอร์ดประกันสังคมในส่วนของผู้แทนภาครัฐ 7 คน
ส่วนผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 7 คน ผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน 7 คน เป็นกรรมการ เบื้องต้นจากรายชื่อผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการประกันสังคม หรือบอร์ดประกันสังคม อย่างไม่เป็นทางการ มีรายชื่อดังนี้
ผู้แทนนายจ้าง
ผู้แทนลูกจ้าง
“บอร์ดประกันสังคม” มีหน้าที่-อำนาจ ตามมาตรา 9 ดังนี้
คณะกรรมการยังมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 7 คน เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ คณะกรรมการ-ที่ปรึกษาที่คณะกรรมการแต่งตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะแต่งตั้งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้
กรรมการคนหนึ่งมี 1 เสียงในการลงคะแนน โดยการลงมติในที่ประชุมให้ถือ “เสียงข้างมาก” ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีก 1 เสียง เป็นเสียงชี้ขาด