KEY
POINTS
โครงการ “แลนด์บริดจ์” 1 ในนโยบาย “เรือธง” ของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน "เซลล์แมนประเทศไทย" เดินสายโรดโชว์ขายแพคเกจลงทุนเมกะโปรเจกต์มูลค่ากว่า 1 ล้านล้าน เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากบริษัทชั้นนำจากทั่วทุกมุมโลกให้หันมามอง
ผู้มีอำนาจในรัฐบาลพยายามฉายภาพ-ต่อจิ๊กซอว์โครงการที่มีมูลค่าการลงทุนระดับล้านล้าน โดยวาดฝันความสำเร็จไม่น้อยหน้ายุคโชติช่วงชัชวาลในสมัยรัฐบาลพล.อ.เปรม อย่างโครงการ “อีสเทิร์นซีบอร์ด”
รายงานผลการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ สภาผู้แทนราษฎร แม้จะถูกพรรคก้าวไกลมองว่า เป็น “ตรายาง” ให้กับรัฐบาลเศรษฐา เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเดินหน้าโครงการที่ยังไม่สะเด็ดน้ำ
มิหนำซ้ำยังเร่งรีบ-รวบรัด สรุปผลรายงานการศึกษาเพื่อให้ทันต่อการประชุม “ครม.สัญจร” ที่จังหวัดระนองระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2567
จนเกิดสงครามนางฟ้า ระหว่าง “ศิริกัญญา ตันสกุล” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กับ “ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์” สส.กทม.คนเดียว ของพรรคเพื่อไทย ในกมธ.วิสามัญฯ โครงการแลนด์บริดจ์ในวันส่งท้าย
แกะดูไส้ในรายงานผลการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ดังกล่าว พบว่ามีบางช่วง-บางตอนที่ “ติเพื่อก่อ” ไว้ใน “แนวทางการพัฒนาโครงการแลนด์บริจ์” ไม่ได้ “อวย” แต่เพียงด้านเดียว
โครงการ Landbridge ไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแต่ยังจะวางไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและขนส่ง เชื่อมโยงการค้าในภูมิภาคไปยังประเทศต่างๆ ด้านฝั่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก
ในการพัฒนาระยะแรกจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งในกลุ่ม GMS มีกลุ่มอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมในขั้นต้น ในระยะที่ 2 จะเชื่อมต่อขยายไปยัง Asean BIMSTEC เชื่อมเศรษฐกิจการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมเมกะเทรน ศูนย์โลจิสติกส์ และในระยะที่ 3 เป็นศูนย์กลางการเงิน การลงทุนระดับโลก เชื่อมทั้ง EU จีน อ่าวเปอร์เซีย APEC เข้าด้วยกัน
แผนกลยุทธ์การพัฒนาโครงการ (Business Roadmap) คือ แผนการดำเนินการที่จะเป็นมี Progress ตามเป้า ดังนั้น นอกจากการดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมายแล้วยังจำเป็นต้องพิจารณาที่มาของรายได้ในระยะยาว เพื่อให้การดำเนินธุรกิจและทำ RoadMap การลงทุน และที่มาของรายได้ให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่เป็น Dynamic ซึ่งในประเทศไทยจะต้องดำเนินกลยุทธ์ในสิ่งที่สร้างมูลค่าสูงให้กับ Stakeholder Partner ลูกค้า
"ส่วนที่ไม่สร้างมูลค่า ให้ไปอยู่ที่ประเทศโดยรอบ (เป็นคลัง) เช่น พม่า บังกลาเทศ หากพิจารณาถึงการดำเนินธุรกิจในการขนถ่าย Container (Containerized) ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าต่อได้ ข้อจำกัดทางการเชื่อมโยงโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่ดีที่สุด หรือ มุมมองแค่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ว่า เรายังเป็นผู้ประกอบการที่ทำเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการขนส่งคมนาคมเป็นหลักข้อจำกัด"
หรือจะทำได้แต่เฉพาะจุดที่มีการยกขน/ขนถ่ายเท่านั้น ซึ่งโดนจำกัดด้วยพื้นที่ในโลก ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้บริโภคและประเทศไทยได้ ซึ่งในโครงการ LB ได้พัฒนากลยุทธ์ก้าวไปสู่ ตลาดระดับ Trillion (ล้านล้าน) USD ซึ่งประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง
ดังนั้น เราจำเป็นต้องพัฒนาในส่วนของธุรกิจที่เป็น Non Containerized ดังเช่น การพัฒนาอุตสาหกรรม เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ตอบสนอง Demand ในอนาคต การเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ และการเงิน รวมถึงการเป็น Gateway ของ Carbon Emission Tax Fee & Global Certification (End to End Supply Chain) ซึ่งจะนำไปสู่ การ Synergy – Diversify และ การเป็น Investor บนโครงสร้างพื้นฐาน และการดำเนินธุรกิจ และการเงิน
อย่างไรก็ตามเพื่อให้ประเทศชาติเกิดประโยชน์สูงสุดกับรูปแบบการลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบในการร่วมทุน
และก็ไม่เป็นการเอาเปรียบประเทศต่าง ๆ และเอกชนที่สนใจจะมาร่วมทุน ให้เป็นแบบลักษณะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอย่างสมดุลกันและเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ
ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาค และเป็นประตูในการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศในภูมิภาค และระหว่างทวีปต่าง ๆ ของโลก ซึ่งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการดำเนินการโครงการแลนด์บริดจ์
"โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ภาคใต้ของประเทศไทยเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางด้านการค้า และการลงทุนภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้"
ตลอดจนการขนส่งสินค้า จากประเทศไทยไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งทางด้านทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์และสร้างนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ทั้งอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมอาหาร ต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ และอุตสาหกรรม New S-curve เป็นต้น เพื่อการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศในภูมิภาค และระหว่างทวีปต่าง ๆ ของโลก
โดยสรุปแล้วเหตุผลของการดำเนินโครงการแลนด์บริดจ์ เพราะว่าประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาค และเป็นประตูในการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศในภูมิภาค และระหว่างทวีปต่าง ๆ ของโลก ซึ่งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการดำเนินการโครงการแลนด์บริดจ์
โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ภาคใต้ของประเทศไทยนี้เป็นจุดแข็งที่ทำให้เกิดการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ลดเวลาและระยะทางการขนส่ง เป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยให้แลนด์บริดจ์เป็นตัวนำการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้