สำหรับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นให้ดําเนินการโดยสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือคณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย ระดับเขต โดยให้ดําเนินการรับฟังความคิดเห็นให้ครอบคลุมประชาชน ในพื้นที่และผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุข้างต้นอย่างครบถ้วนให้ทราบและเข้าใจรายละเอียดข้อมูลอย่างเพียงพอและสามารถแสดงความคิดเห็นได้
การจัดผังแผงค้าในพื้นที่ทําการค้า
- แผงค้ามีขนาดไม่เกิน 3 ตารางเมตร โดยความลึกของแผงค้าต้องไม่เกิน 1.5 เมตร
- ให้จัดตั้งแผงค้าได้เพียงฝั่งเดียว โดยให้ชิดกับด้านถนนและพื้นที่ทําการค้าต้องห่างจากผิวการจราจรอย่างน้อย 50 เซนติเมตร เพื่อให้มีระยะปลอดภัยด้านการจราจร
- ให้เว้นระยะห่าง 3 เมตร ทุกระยะ 10 แผงค้า เพื่อเป็นทางเข้าออกและทางฉุกเฉิน
- ให้จัดผังแผงค้าโดยจําแนกประเภท ชนิดของสินค้า เช่น อาหาร เสื้อผ้า เบ็ดเตล็ด เป็นต้น โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย ระดับเขต
ห้ามจัดผังแผงค้าโดยเด็ดขาดในพื้นที่บริเวณดังต่อไปนี้
- ป้ายและศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจําทางสาธารณะ จุดที่หยุดหรือจอดรถโดยสารสาธารณะ และในระยะ 10 เมตร จากจุดดังกล่าว
- ทางขึ้นลงสะพานลอยคนเดินข้าม บริเวณใต้สะพานลอยคนเดินข้าม ทางขึ้นลง สถานีรถไฟฟ้า บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้ารวมถึงช่องทางเข้าลิฟท์สําหรับผู้พิการ และในระยะ 10 เมตร จากจุดดังกล่าว
- ทางเท้าบริเวณข้ามถนนที่มีทางม้าลาย และในระยะ 3 เมตร จากจุดดังกล่าวทั้ง 2 ด้าน
- ในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยก
- ช่องทางเข้าออกอาคารที่ประชาชนใช้สอย และในระยะ 5 เมตร จากจุดดังกล่าว
- ห้องสุขาสาธารณะ และในระยะ 3 เมตร จากจุดดังกล่าว
- จุดจ่ายน้ำดับเพลิง (ประปาหัวแดง) และในระยะ 3 เมตร จากจุดดังกล่าว
- บริเวณโดยรอบตู้โทรศัพท์ ตู้ไปรษณีย์ และในระยะ 1 เมตร จากจุดดังกล่าว
รูปแบบ
- ลักษณะแผงค้าและสิ่งประกอบแผงค้า เช่น ร่ม หลังคาแผงค้า เป็นต้น ต้องมี ความเป็นระเบียบเรียบร้อยเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่นั้น ๆ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ จัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย ระดับเขต
- เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย นอกจากการพิจารณาพื้นที่ทําการค้าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้คณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย ระดับเขต พิจารณาและขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงความเหมาะสมของลักษณะพื้นที่ ภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานครและของประเทศ การได้สัดส่วนระหว่างประโยชน์ของการค้าขายบนทางเท้ากับประโยชน์สาธารณะในการใช้ทางเท้าสัญจรของประชาชนและ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการใช้พื้นที่สาธารณะของทุกภาคส่วน
- พื้นที่ที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นพื้นที่ทําการค้า เป็นการอนุญาตเป็นการชั่วคราว ให้สํานักงานเขต ทบทวนความเหมาะสมของการเป็นพื้นที่ให้ทําการค้าในทุกรอบระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ปี ตามที่กําหนดไว้ โดยผ่านคณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย ระดับเขต เพื่อเสนอคณะกรรมการรักษาความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของกรุงเทพมหานครพิจารณายกเลิกหรือกําหนดเป็นพื้นที่ทําการค้าต่อไปแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้แล้ว เสร็จก่อนครบกําหนด 1 ปี หรือ 2 ปี ตามที่กําหนดไว้ไม่น้อยกว่า 60 วัน
ในกรณีที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นพื้นที่ทําการค้าต่อไป ให้สํานักงานเขตพิจารณาคัดเลือก ผู้ทําการค้าให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ก่อนครบกําหนด 1 ปี หรือ 2 ปี ตามที่กําหนดไว้
คุณสมบัติของผู้ทําการค้าและผู้ช่วยจําหน่ายสินค้า
- เป็นผู้มีสัญชาติไทย
- เป็นบุคคลซึ่งมีคุณลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่ง ณ วันลงทะเบียน ดังต่อไปนี้
- ป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- เป็นคู่สัญญาในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยกับการเคหะแห่งชาติในโครงการบ้านมั่นคง ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและยังมีภาระผูกพันในการชําระ ของมนุษย์
- เป็นบุคคลที่ได้รับเงินสวัสดิการจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
- เป็นผู้มีรายได้ไม่เกินหนึ่งแสนแปดหมื่นบาทต่อปี โดยให้อ้างอิงหลักฐาน จากรายได้พึงประเมินการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หากผู้ค้าหรือผู้ยื่นความประสงค์รายใดยังไม่เคยมีการยื่นภาษี ให้สามารถใช้ หลักฐานการยื่นภาษีในปีถัดไปมาเป็นหลักฐานได้ ให้คณะกรรมการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของกรุงเทพมหานคร พิจารณารายได้ต่อปีให้เป็นไปตามความเหมาะสมของภาวะเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และสถานการณ์ในขณะนั้น
- ไม่มีแผงค้าอื่นหรือเป็นผู้ช่วยจําหน่ายสินค้าในแผงค้าอื่นในพื้นที่ที่กรุงเทพมหานคร กําหนดให้เป็นพื้นที่ทําการค้า
- เป็นผู้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ต่อสํานักงานเขตที่กําหนดให้มีพื้นที่ทําการค้า
- ไม่เคยถูกเพิกถอนการทําการค้าในพื้นที่ที่กรุงเทพมหานครกําหนดให้เป็นพื้นที่ทําการค้า หรือคุณสมบัติอื่นตามที่กรุงเทพมหานครกําหนด
วิธีการคัดเลือกผู้ทําการค้า
- ให้สํานักงานเขตที่กําหนดให้มีพื้นที่ทําการค้าประกาศให้ผู้มีความประสงค์จะทํา การค้า มาลงทะเบียนภายในเวลาที่กําหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน นับถัดจากวันที่ประกาศ
- เมื่อครบกําหนดตามระยะเวลาแล้ว ให้สํานักงานเขตตรวจสอบ และประกาศรายชื่อผู้แจ้งความประสงค์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนพร้อมกําหนดวัน คุณสมบัติผู้แจ้งความประสงค์ เวลา และสถานที่ ทําการคัดเลือก หากผู้ที่มีรายชื่อตามประกาศตามวรรคหนึ่งไม่มาทําการคัดเลือกตามที่กําหนดให้ ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะเข้าทําการค้าในพื้นที่ดังกล่าว
- เมื่อปรากฏว่าไม่มีผู้คัดค้านภายใน 7 วัน นับถัดจากวันที่ประกาศ ให้สํานักงานเขตคัดเลือกบุคคลลงตามผังแผงค้าที่กําหนด ดังนี้
- ให้ทําการคัดเลือกจากผู้ค้าเดิมที่มีชื่ออยู่ในบัญชีผู้ค้าของสํานักงานเขตเป็น ลําดับแรก หากจํานวนผู้แจ้งความประสงค์มีจํานวนมากกว่าจํานวนแผงค้าให้ทําการคัดเลือกโดยวิธีจับสลาก
- หากยังมีพื้นที่ว่างให้ทําการคัดเลือกจากผู้ค้าที่มี ภูมิลําเนาที่มีพื้นที่ติดกับเขตที่มีพื้นที่ทําการค้า และหากจํานวนผู้แจ้งความประสงค์มีจํานวนมากกว่าจํานวนแผงค้าให้ทําการคัดเลือกโดยวิธีจับสลาก
- หากยังมีพื้นที่ว่างอีกให้ทําการคัดเลือกจาก ผู้ค้าในบัญชีรายชื่อ และหากจํานวนผู้แจ้งความประสงค์มีจํานวนมากกว่าจํานวนแผงค้าให้ทําการ คัดเลือกโดยวิธีจับสลาก
กรณีมีผู้คัดค้านการประกาศรายชื่อให้คณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย ระดับเขต พิจารณาทบทวนและวินิจฉัย และให้ถือคําวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด
- ให้สํานักงานเขตประกาศผลการคัดเลือกและหากมีผู้คัดค้านให้นําความตาม มาใช้โดยอนุโลม
ทั้งนี้ การประกาศเกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกผู้ทําการค้าให้ทําการเผยแพร่ในระบบ เครือข่ายสารสนเทศของกรุงเทพมหานครและสํานักงานเขต และปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิด ประกาศของสํานักงานเขต
เงื่อนไขการทําการค้า
- ผู้ค้าต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อกรมสรรพากรทุกปีตามที่กําหนด และให้นําเอกสารหลักฐานมายื่นต่อสํานักงานเขต หากรายได้พึงประเมินเกินกว่าที่กําหนดไว้ให้ถือว่าสิทธิในการทําการสิ้นสุดลง ผู้ที่ไม่ทําการยื่นภาษีหรือจงใจหลีกเลี่ยงโดยไม่ยื่นเอกสารหลักฐานภายในกําหนดให้ถือว่ามีรายได้พึงประเมินเกินกว่าที่กําหนดไว้
- ผู้ค้าต้องได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขโดยให้มีผู้ช่วยจําหน่ายสินค้าได้ 1 คน
- การได้รับอนุญาตให้ทําการค้าตามประกาศนี้ให้ถือเป็นการเฉพาะตัวและไม่สามารถขาย จําหน่าย แลกเปลี่ยน ให้เช่า โอนหรือให้บุคคลอื่น รวมทั้งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขอื่น ตามที่กรุงเทพมหานครกําหนด
ข้อปฏิบัติในการขายหรือจําหน่ายสินค้าในพื้นที่ทําการค้า
- ให้ตั้งวางแผงค้าตามผัง วัน และเวลาที่กําหนด
- ให้ขายหรือจําหน่ายสินค้าตรงตามประเภท ชนิดของสินค้าที่ได้รับอนุญาต
- ให้ผู้ทําการค้าและผู้ช่วยจําหน่ายสินค้าติดบัตรประจําตัวผู้ทําการค้าและผู้ช่วยจําหน่ายสินค้าไว้ที่หน้าอกเสื้อด้านซ้ายและต้องแสดงใบอนุญาตจําหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะที่แผงค้าใน บริเวณที่เห็นได้ง่ายตลอดเวลาที่จําหน่ายสินค้า
- ต้องหยุดทําการค้าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยการกําหนดวันหยุดทําการค้าในแต่ละ พื้นที่ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย ระดับเขต กําหนด
- กรณีที่เป็นการขายหรือจําหน่ายสินค้าประเภทอาหาร ผู้ทําการค้าและผู้ช่วยจําหน่ายสินค้าจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรด้านสุขาภิบาลอาหารตามที่กฎหมายกําหนด
- ในการขายหรือจําหน่ายสินค้าประเภทอาหารจะต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันไม่ให้เกิด มลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม หรือความเดือดร้อนรําคาญ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน และจะต้องมีการ จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมรองรับพื้นที่การค้า
- ในการขายหรือจําหน่ายสินค้าประเภทอาหาร สถานที่เตรียมประกอบปรุงอาหาร ต้องถูกสุขลักษณะตามที่กฎหมายกําหนด
- ผู้ทําการค้าต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ที่อาจ ก่อให้เกิดอันตราย เช่น ก๊าซหุงต้ม เตาปิ้งย่าง ไฟฟ้า เป็นต้น
- สินค้าที่นํามาขายหรือจําหน่ายต้องถูกสุขลักษณะอนามัยตามที่กฎหมายกําหนด และไม่เป็นสินค้าผิดกฎหมาย หรือมีลักษณะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกฎหมายกําหนดไม่ให้ขายหรือจําหน่าย จ่ายแจก ซื้อขาย แลกเปลี่ยน
- ผู้ทําการค้าจะต้องชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎหมายว่าด้วยการรักษา ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขหรือกฎหมายอื่น หรือตามที่กรุงเทพมหานครกําหนด
- ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม กฎหมายว่าด้วยการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และกฎหมาย กฎกระทรวง ข้อบัญญัติ ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง
- ห้ามผู้ทําการค้า ผู้ช่วยจําหน่ายสินค้า แผงค้า อุปกรณ์การค้า และสินค้า ยื่นหรือ ล้ำลงไปในผิวจราจรและในระยะ 50 เซนติเมตร จากผิวจราจร
- ห้ามตั้ง วาง สะสมอุปกรณ์ สินค้าเกินความจําเป็น และห้ามนํารถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถเข็น กล่องใส่สินค้า จอดหรือวางบนทางเท้า หรือผิวจราจร
- ห้ามทําเพิงพักถาวรหรือกึ่งถาวรเพื่อทําการค้าหรือเก็บอุปกรณ์ และห้ามแขวน ผูก ตอก เกี่ยวผ้าใบ หลอดไฟหรือสิ่งอื่นใดกับต้นไม้ เสาไฟฟ้า และเครื่องหมายจราจร
- ห้ามจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- ห้ามวางสินค้าบนพื้นทางเท้าโดยเด็ดขาด
- ห้ามมิให้บุคคลอื่นทําการค้าแทนโดยเด็ดขาด ยกเว้นผู้ช่วยจําหน่ายสินค้าที่ได้ยื่น แจ้งในขั้นตอนการขออนุญาตจําหน่ายสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขเท่านั้น
- ห้ามถ่าย เท ทิ้ง น้ำ เศษอาหาร ไขมัน ขยะ หรือสิ่งปฏิกูลมูลฝอย ลงบนพื้นหรือ ลงท่อหรือ ทางระบายน้ำสาธารณะโดยเด็ดขาด
- ผู้ทําการค้าต้องจัดทําแผนทําความสะอาดพื้นที่ทําการค้า การจัดการน้ำทิ้ง เช่น น้ำที่ล้างภาชนะ ถ้วยชาม หรืออื่น ๆ เศษอาหาร ไขมัน ขยะและสิ่งปฏิกูลมูลฝอย ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังทํา การค้าเสนอให้คณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่ – แผงลอย ระดับเขต พิจารณาให้ความเห็นชอบและปฏิบัติ ตามแผนโดยเคร่งครัด และเมื่อเลิกทําการค้าต้องเก็บแผงค้า สินค้า และอุปกรณ์ออกจากพื้นที่ทําการค้าโดยทันที
มาตรการควบคุม
- เพื่อประโยชน์ในการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้คณะกรรมการ จัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย ระดับเขต ดําเนินการคัดเลือกผู้แทนผู้ทําการค้าในพื้นที่ทําการค้าดังกล่าว จํานวน อย่างน้อย 3 คน แต่ไม่เกิน 9 คน เพื่อควบคุมดูแลผู้ทําการค้าในพื้นที่ทําการค้าให้เป็นไปตามประกาศนี้โดยเคร่งครัด
- ให้สํานักงานเขตควบคุม กํากับ ดูแล การดําเนินการ การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย และตามประกาศนี้โดยเคร่งครัดและดําเนินการ ดังนี้
- ผู้ทําการค้าหรือผู้ช่วยจําหน่ายสินค้าของผู้ทําการค้ารายใดรายหนึ่ง กระทําการฝ่าฝืนประกาศนี้ ให้สั่งระงับการทําการค้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนนับแต่วันที่พบการฝ่าฝืน การฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งหากเป็นการฝ่าฝืนมาตรการให้เพิกถอนการทําการค้าของผู้ทําการค้ารายดังกล่าว
- หากผู้ทําการค้ายังมีผู้ทําการค้าหรือ ผู้ช่วยจําหน่ายสินค้าของผู้ทําการค้ารายใดรายหนึ่งกระทําการฝ่าฝืนประกาศนี้อีกให้สั่งระงับการทําการค้าทั้งหมด ในพื้นที่ทําการค้านั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน นับแต่วันที่พบการฝ่าฝืน
- หากยังปรากฏมีผู้ทําการค้าหรือผู้ช่วย จําหน่ายสินค้าของผู้ทําการค้ารายใดรายหนึ่งกระทําการฝ่าฝืนประกาศนี้อีก ให้สํานักงานเขตโดยผ่านความเห็นชอบ ของคณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย ระดับเขต เสนอคณะกรรมการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณายกเลิกพื้นที่ทําการค้านั้น
ข้อสงวนสิทธิ
- พื้นที่ทําการค้าเป็นการอนุญาตเป็นการชั่วคราว ให้ทบทวนความเหมาะสมของการ เป็นพื้นที่ให้ทําการค้าในทุกรอบระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ปี ตามที่กําหนดไว้
- ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นที่ต้องใช้พื้นที่นั้นเพื่อการใด ๆ หรือมีเหตุอื่นใด กรุงเทพมหานครสามารถยกเลิกพื้นที่ทําการค้าหรือห้ามเข้าทําการค้าในพื้นที่ทําการค้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว
- กรณีกรุงเทพมหานครดําเนินการยกเลิกแผงค้า หรือยกเลิกพื้นที่ทำการค้า กรุงเทพมหานคร ไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย ค่าขาดรายได้ ค่าขาดประโยชน์ ค่าชดเชย และความเสียหายใด ๆ ที่เกิดแก่ ผู้ทําการค้าในที่สาธารณะทั้งสิ้น
การทําการค้าสิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้
- ผู้ทําการค้าหรือผู้ช่วยจําหน่ายสินค้าขาดคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อกำหนด หรือครบกําหนดระยะเวลา
- ผู้ทําการค้าตาย
- ผู้ทําการค้าถูกเพิกถอนการทําการค้า
- กรุงเทพมหานครยกเลิกพื้นที่ทําการค้าถาวร
- ในกรณีที่มีปัญหาในแนวทางปฏิบัติหรือไม่มีกําหนดไว้ในประกาศนี้ให้เสนอ ปลัดกรุงเทพมหานครสั่งการเป็นกรณีไป
ที่มา: ร่างประกาศกทม.เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดพื้นที่ทำการค้า