จับตาหนี้ทั่วโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ -หนี้ไทยพุ่ง 264 % ต่อ GDP

23 ก.พ. 2567 | 10:13 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.พ. 2567 | 10:14 น.

จับตาหนี้ทั่วโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 313 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2566 "อัตราดอกเบี้ย ดอลลาร์สหรัฐ ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ จ่อดันหนี้โลก ขณะที่หนี้ไทยพุ่ง 264% ต่อ GDP

สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เปิดเผยรายงาน Global Debt Monitor ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2024 การศึกษาเผยว่า ระดับหนี้ทั่วโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 313 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2566 เพิ่มขึ้นกว่า 15 ล้านล้านดอลลาร์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 เมื่อเทียบเป็นรายปี 

สัดส่วนหนี้ต่อ GDP โลก ปี 2566 แม้จะลดลงเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน แต่ชะลอลงในปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากการลดลงของสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง เช่น มอลตา นอร์เวย์ 

อัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (EM) พบว่ายังสูง บ่งชี้ถึงความสามารถของประเทศในการชำระหนี้ โดยอินเดีย อาร์เจนตินา จีน รัสเซีย มาเลเซีย และแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่งสัญญาณถึงความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในการชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น

 

ส่วน "หนี้ไทย" ต่อ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 อยู่ที่ 264.8% ต่อ GDP (ดอลลาร์สหรัฐ) 

  • หนี้ครัวเรือน 91.6%
  • หนี้บริษัทเอกชน (ไม่ใช่สถาบันการเงิน)  86.2%
  • หนี้รัฐบาล 54.2% (ไม่รวมหนี้รัฐวิสาหกิจ)
  • หนี้ภาคการเงิน 32.8%

รายงานระบุว่า ความไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อาจเพิ่มความผันผวนของตลาด และกระตุ้นการจัดหาเงินทุนที่เข้มงวดสำหรับประเทศที่พึ่งพาการกู้ยืมจากภายนอกค่อนข้างสูง

ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจโลกกำลังพิสูจน์ความยืดหยุ่นต่อความผันผวนของต้นทุนการกู้ยืม ซึ่งนำไปสู่การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของนักลงทุน ส่วนความต้องการกู้ยืมมีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ในปี 2567 เนื่องจากปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น

 IIF ยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น ภูมิรัฐศาสตร์กลายเป็นความเสี่ยงเชิงโครงสร้างตลาดอย่างรวดเร็ว โดยการกระจายตัวลึกยิ่งขึ้นทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับวินัยทางการคลังทั่วโลก

ที่มาข้อมูล 

reuters

Global Debt Monitor Politics, Policy, and Debt Markets – What to Watch in 2024