นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) ได้ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ อาทิ
ปัญหาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ปัญหาการปรับเปลี่ยนสายการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ปัญหาต้นทุนการเงินที่สูง ปัญหาจากมาตรการความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)
รวมถึงมาตรการและนโยบายอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ อาทิ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping: AD) มาตรการต่ออายุสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตภายในประเทศ (CKD)
และการกำหนดคำนิยามของวัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content : LC) ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น Local Content ในระบบราง เป็นต้น
อย่างไรก็ดี จากข้อเสนอดังกล่าวกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้หน่วยงานภายใต้สังกัดเร่งดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย
ส่วนเรื่องของมาตรการและนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบการ กระทรวงอุตสาหกรรมจะทำการศึกษาและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอของผู้ประกอบการต่อไป
นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวอีกว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้มีการหารือกับกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เพื่อกำหนดแนวทางการการคิดอัตราอากรขาเข้าของอุตสาหกรรมส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมสนับสนุน
นอกจากนี้ ยังได้มีโอกาสร่วมหารือ นายไซโตะ เคน รัฐมนตรีว่าการกับการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น โดยมีแนวทางความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกรอบการทำงานร่วมกัน เพื่อการพัฒนากลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อุตสาหกรรมสนับสนุน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน 4 ประเด็น ได้แก่
นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวอีกว่า รัฐบาลมุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมอีวี โดยมีการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการส่งเสริม อาทิ การลดอัตราอากรขาเข้ารถยนต์สำเร็จรูป
และการลดอัตราภาษีสรรพสามิต เป็นต้น โดยในขณะนี้อุตสาหกรรม EV มีการเติบโตขึ้น มีนักลงทุนมากมายให้ความสนใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศ
"การส่งเสริมอุตสาหกรรม EV ก็ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปปรับตัวลดลง ทำให้ยอดขายของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมสนับสนุนตกลงเป็นอย่างมาก"