24 มีนาคม 2567 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เป็นประธานการประชุมบอร์ด สปสช. โดยมีวาระพิจารณาและเห็นชอบข้อเสนอ “การรักษาภาวะมีบุตรยาก” เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง 30 บาท
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากรายงานสถานการณ์เด็กเกิดใหม่ในไทย ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2506-2526 มีเด็กเกิดใหม่ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านคน แต่ในปี 2565 จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงอยู่ที่ 485,085 คน ขณะที่อัตราเจริญพันธุ์เหลือเพียง 1.08 กลายเป็นวาระที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันเร่งแก้ปัญหา
ที่ผ่านมาได้มีการกำหนดแผนดำเนินการระดับชาติ อาทิ แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว พ.ศ. 2565-2580 โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ซึ่ง 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์ คือสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพและพัฒนาระบบที่เอื้อตอการมีและเลี้ยงบุตร
ร่างวาระแห่งชาติประเด็นสงเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประชากรและทุนมนุษย์ อยู่ระหว่างเสนอต่อ ครม. ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
1.เสริมสร้างความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติ
2.ปรับสภาพแวดลอมใหเอื้อการมีบุตร
3.ผู้ตัดสินใจมีบุตรได้รับการดูแลอย่างครบวงจรและมีคุณภาพ เป็นต้น
ส่วนของกระทรวงสาธารณสุข นโยบาย Quick win 100 วัน มีเรื่องการส่งเสริมการมีบุตรที่ขับเคลื่อนเป็นวาระแห่งชาติ ขณะที่ข้อมูลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2562-2566 มีผู้มีสิทธิที่เข้ารับบริการด้วยวินิจฉัยภาวะการมีบุตรยากอยู่ประมาณ 3,000-3,500 ราย/ปี
นพ.ชลน่าน กล่าวเพิ่มเติมว่า บริการรักษาภาวะมีบุตรยากมี 3 ระดับด้วยกัน ตามแนวทางเวชปฏิบัติภาวะมีบุตรยากของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566 ซึ่งผลการศึกษาเพื่อบรรจุการรักษาภาวะมีบุตรยากเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทองนั้น เห็นควรส่งเสริมให้บริการในขั้นต้นก่อน เพราะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และควรให้บริการที่เป็นไปตามลำดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 ใหคำปรึกษาแนะนําปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ และการรักษาโรคประจําตัวหรือส่งตอเพื่อค้นหาสาเหตุและรักษาสาเหตุที่ตรวจพบบริการระดับ 1 สามารถให้บริการโดยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ซึ่งหากภายใน 6-12 เดือนไม่ได้ผลหรือเกิน 12 เดือน ตามแพทย์เห็นสมควรเว้นวรรคให้เข้าสู่บริการระดับถัดไป
ระดับที่ 2 ให้ยากระตุ้นไข่และยาเหนี่ยวนําการตกไข่และ การกระตุ้นไข่และการฉีดเชื้ออสุจิเขาสู่โพรงมดลูกโดยตรง ซึ่งสูตินรีแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปจะเป็นผู้ให้บริการไม่เกิน 3 ครั้ง หากในระยะเวลา 6-12 เดือนไม่ได้ผล ให้เข้าสู่ระดับถัดไป โดยทั่วประเทศมีหน่วยบริการที่ให้การรักษาจำนวน 40 แห่ง ใน 38 จังหวัด
ระดับที่ 3 ทำเด็กหลอดแก้ว วิธีการย้ายตัวอ่อน 1-2 ครั้ง ให้บริการโดยสูตินรีแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ปัจจุบันมีหน่วยบริการรัฐที่ให้บริการ จำนวน 17 แห่ง ในจำนวนนี้เป็น รพ.สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง
สำหรับบริการนี้ให้บริการกลุ่มเป้าหมาย ผู้หญิงไทยสิทธิบัตรทอง อายุระหว่าง 30–40 ปี มีคู่สมรสและจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย เป็นผู้มีภาวะมีบุตรยากและตองการมีบุตร คาดว่ามีจำนวน 4,150 คน โดยให้บริการตามแนวทางราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ ตามระดับการให้บริการ ซึ่งในกรณีของการทำเด็กหลอดแก้ว จะให้การดูแลเฉพาะผู้ที่มีข้อห้ามในการรักษาด้วยวิธีการฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูกโดยตรง
ทั้งนี้ ขอย้ำว่า บริการนี้เป็นเพียงหนึ่งในมาตรการที่เข้ามาช่วยเสริมการแก้ปัญหาประชากรเกิดใหม่ลดลงซึ่งในขณะนี้ทาง สธ. ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างร่วมกันดำเนินการมาตรการอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ด้วย