หลังจากการแถลงข่าวของ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ถึงแหล่งที่มาของเงิน 500,000 ล้านบาท จบแบบขาดๆเกิน ๆ
หนึ่งในแหล่งที่มาของเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท คือ การ "ยืมเงิน" ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำได้หรือไม่ได้-ผิดวัตถุประสงค์ของการใช้เงินตาม พ.ร.บ..ธ.ก.ส. พ.ศ.2509 มาตรา 9 (3) หรือไม่ จนมีเสียงทักท้วงให้รัฐบาลโชว์แผนชำระหนี้
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2567 ที่อยู่ระหว่างประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ ในส่วนของการใช้หนี้คืนตามพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ ปี 2561 มาตรา 28 วงเงินรวมทั้งสิ้น 81,481 ล้านบาท แบ่งออกเป็น
สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFI) ภายใต้กระทรวงการคลัง จำนวน 79,106 ล้านบาท ประกอบด้วย
เงินอดหนุนเพื่อบริการสาธารณะ (POS) ภายใต้กระทรวงคมนาคม วงเงิน 2,375 ล้านบาท แบ่งออกเป็น
ก่อนหน้านี้ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงแผนการใช้หนี้โครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นแนวทางของการออกเป็น พ.ร.บ.กู้เงิน ว่า ตั้งงบประมาณปีเดียวไม่ทัน รัฐบาลต้องรักษาระเบียบวินัยการเงินการคลัง คือ ทำให้หนี้สาธารณะไม่เกิน 70 % ขณะนี้อยู่ที่ 62 %
“รัฐบาลใช้เพดานเก่า สมมุติเป็นหนี้ คือ เพิ่มอีก 2-3 % ไม่เกิน 4 % เมื่อฐานของจีดีพีโตหรือคืนหนี้ เพดานที่เกินมาก็จะลดลงเรื่อย ๆ ที่สำคัญยังมีที่ที่เรากำลังจะหา asset ของรัฐมาอีก”นพ.พรหมินทร์กล่าว
นพ.พรหมินทร์เล่าทิ้งท้ายในวันที่เปิดตึกไทยคู่ฟ้าให้ “นักข่าวเศรษฐกิจทำเนียบ” ฟังว่า เราตั้งงบประมาณใช้คืนหนี้ 3 ปีติดต่อกัน สมมุติ กู้ 5 แสนล้านบาท 3 ปีคิดเป็นปีละประมาณ 1.7 แสนล้านบาท เทียบกับเงินงบประมาณทั้งก้อน คือ 3.4 ล้านล้าน ประมาณปีละ 2.5 % เท่ากับรัฐบาลใช้งบประมาณ เพียงแต่เป็นงบประมาณหลายปี