แหล่งที่มา "เจ้าปัญหา" ของ "เงินดิจิทัลวอลเล็ต" 10,000 บาท จำนวน 50 ล้านคน วงเงิน 500,000 ล้านบาท "ไม่สะเด็ดน้ำ" โดยเฉพาะการ “ยืมเงินธ.ก.ส.” จำนวน 172,300 ล้านบาท
การตั้งโต๊ะแถลงข่าวใหญ่ ที่มี “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "นั่งหัวโต๊ะ" เมื่อวันที่ 10 เมษายน 67 ที่ทำเนียบรัฐบาล แจ้งบทสรุปนโยบาย "เรือธง" ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โครงการ “เงินดิจิทัลวอลเล็ต” 10,000 บาท
คล้อยหลังการแถลง "ข่าวดี" คือ การ “หักดิบ” ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หลังจากรัฐบาลยอม "ถอยครึ่งก้าว" แจกกลุ่มเปราะบาง-คนชั้นกลาง และการ “ปาดหน้า” กรรมการกฤษฎีกาในการตีความทางกฎหมาย “ยืมเงินธกส.” ทำได้หรือไม่
ตามมาด้วย "ข่าวร้าย" สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (สร.ธกส.) ออกแถลงการณ์ 3 ข้อ “ชักธง” ไม่เห็นด้วยกับการ “ยืมเงินธ.ก.ส.” ไปแจก “เงินดิจิทัลวอลเล็ต” 10,000 บาท จนเกิดกระแส “ข่าวลือ” คนแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร
กลายเป็นข้อถกเถียงว่า ธ.ก.ส.จะเอาเงินจากที่ไหนมาให้รัฐบาล “ยืมเงิน” ไปใช้ในโครงการ “ดิจิทัลวอลเล็ต” ให้กับเกษตรกร 17.23 ล้านคน คนละ 10,000 บาท และสภาพคล่องของธ.ก.ส.มีมากน้อยแค่ไหน ตลอดจนการตีความทางกฎหมายทำได้หรือไม่
เมื่อเปิดรายงานการประชุมใหญ่สามัญของผู้ถือหุ้นธ.ก.ส.ย้อนกลับไป 10 ปี ตั้งแต่การประชุมครั้งล่าสุด ครั้งที่ 58 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ถอยหลังไปจนถึงครั้งที่ 49 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2557 เป็นช่วงที่ ธ.ก.ส.ต้องดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรตามนโยบายของรัฐบาลทุกรัฐบาล
งบดุล-งบแสดงฐานะการเงิน บัญชีกำไรและขาดทุน หรือ งบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ตลอดจนโบนัสคณะกรรมการ-โบนัสพนักงาน และ เงินปันผล 10 ปีที่ผ่านมา ดังนี้