ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยรายงาน “ภาครัฐทยอยลดการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ จะมีส่วนให้เงินเฟ้อไทยกลับมาเป็นบวกในไตรมาส 2/2567” โดยระบุว่า นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปี 2563 ภาครัฐได้มีมาตรการอุดหนุน ราคาพลังงานในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของ ประชาชนจากมาตรการควบคุมโควิดที่ส่งผลให้เศรษฐกิจชะงักงัน
ต่อมาปี 2565 ราคาพลังงานในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากจากความขัดแย้งระหว่าง รัสเซียและยูเครน โดยในปีดังกล่าวการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศของ ภาครัฐอยู่ท่ีประมาณ 19-35% ของราคาเฉลี่ยท่ีแท้จริง จึงส่งผลให้ราคาพลังงาน ในประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาพลังงานโลก และอัตราเงิน เฟ้อไทยในปี 2565 ต่ากว่าหากไม่มีมาตรการ
ปัจจุบันในปี 2567 แม้ว่าราคาพลังงานในตลาดโลกจะเร่งตัวข้ึนในบางจังหวะ แต่ ก็ผ่อนคลายลงจากจุดสูงสุดในปี 2565 ทำให้ภาครัฐทยอยปรับลดการอุดหนุน ราคาพลังงานลงจากปีก่อนหน้า โดยปัจจุบันค่าไฟฟ้างวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 67 อยู่ ที่ 4.18 บาท/หน่วย และงวดเดือนต่อไป (เดือน พ.ค.-ส.ค. 67) ก็มีแนวโน้มจะถูก ตรึงไว้ในระดับเดิม
เช่นเดียวกับราคาก๊าซหุงต้มก็ยังตรึงอยู่ที่ 423 บาท/ถังขนาด 15 กก. ไปจนถึงเดือน มิ.ย. 67 ขณะที่ราคาขายปลีกน้ามันดีเซลปรับขึ้น 50 สตางค์/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 67 เป็นต้นไป ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ามันดีเซล ขณะนี้อยู่ที่ 30.44 บาท/ลิตร ซึ่งผลจากการอุดหนุนราคาพลังงานอย่างต่อเนื่อง ทาให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีภาระต้นทุนพลังงานและหน้ีสินที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น หากภาครัฐไม่มีการทยอยลดการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศจาก ระดับปัจจุบัน อาจส่งผลให้ภาระต้นทุนของกองทุนฯ และ กฟผ. มีแนวโน้ม กลับไปแตะที่ระดับสูงสุดเหมือนในปี 2565 อีกครั้ง
ในขณะที่ภาระต้นทุนการดำเนินการจากการอุดหนุนพลังงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลงประกอบกับหากมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกจิขนาดใหญ่ อาจจะเป็นจังหวะเวลาที่ภาครัฐจะทบทวนทยอยปรับลดการอุดหนุนราคาพลังงานลง โดยอาจพิจารณาสนับสนุนเฉพาะกลุ่มที่เห็นว่ามีความจาเป็น อาทิ กลุ่มเปราะบาง เพื่อที่ภาครัฐจะได้ฟื้นฟูฐานะทางการเงินสาหรับใช้รับมือในกรณีท่ีหากเกิดวิกฤตในอนาคต (buffer)
ขณะเดียวกันภาครัฐอาจมุ่งเน้นการปรับ โครงสร้างราคาพลังงานและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนของภาคเอกชนมากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนพลังงานได้อย่างยั่งยืน
จากแนวทางที่ภาครัฐทยอยปรับลดการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศลงและ ปล่อยให้ราคาค่อยๆ สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง จึงส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อท่ัวไปของไทยจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้ตั้งแต่เดือน พ.ค. 67 เป็นต้นไป หลังจากเผชิญการติดลบมานาน 6 เดือน ทั้งนี้ ในปี 2567 อัตรา เงินเฟ้อท่ัวไปของไทยคาดว่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 0.8%