จากกรณีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับเกณฑ์อัตราการชำระขั้นต่ำบัตรเครดิต จากที่ผ่อนผันให้ในช่วงโควิด19 จ่ายเพียง 5% ปรับขึ้นเป็น 8% ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2567 เป็นต้นมา และกลับเข้าสู่อัตราปกติ 10% ในปีหน้านั้น
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงสถานการณ์หนี้บัตรเครดิตของไทย ในไตรมาสที่ 1/2567 โดยระบุว่า สินเชื่อบัตรเครดิตจากฐานข้อมูลสถิติที่ไม่มีตัวตนของเครดิตบูโรครับ ขอนำเรียนความห่วงใยดังนี้
1.ตั้งแต่ต้นปี 2567 การจ่ายชำระหนี้ขั้นต่ำของบัตรเครดิตจะต้องเริ่มต้นที่ 8% จากเดิมที่ผ่อนผันในช่วงการระบาด Covid-19 ที่กำหนดไว้ 5%
2.มีคำถามมาตลอดว่าถ้ากติกาใหม่ออกมาจะทำให้หนี้เสียหรือ NPLs กระโดดไหม จะทำให้หนี้กำลังจะเสียหรือ SM กระโดดหรือไม่
3.ตัวเลขภาพรวม ณ มีนาคม 2567 ไม่มีอะไรแปลกใจ
4.สินเชื่อบัตรเครดิตที่เป็น NPLs ค้างเกิน 90วัน เริ่มไม่สบายใจแล้ว
5.พอมาดูยอดหนี้ที่เป็น SML หรือกำลังจะเป็นหนี้เสีย
"มาถึงตรงนี้เริ่มตาโตแล้วครับว่า แค่สามเดือนแรกของการปรับเพิ่มยอดชำระขั้นต่ำทำไมมันเกิดการกะโดดใน SML ตามต่อไปดูว่าแล้วมันโตจากปลายปี 2566 เท่าใดก็พบว่าเติบโตถึง 20.6% qoq ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่ต้องระวังว่ามันจะไหลเพิ่ม ไหลแรงกว่าเดิมหรือไม่"
นอกจากปัญหาค่าครองชีพแล้ว รายได้ไม่ฟื้นตัว เปราะบางจนนุ่มนิ่ม มันสะท้อนแล้วว่าชำระหนี้สินเชื่อนี้ได้ลำบากมากขึ้น ตามภาพกราฟที่แสดงนะครับ ผมลองทำดูว่าจากบัตรเครดิตที่เป็น SM.จำนวนเกือบ 2 แสนใบนั้นเป็นบัตรที่เปิดมานานเท่าใดแล้ว พบว่า
คำถามตัวโต ๆ คือ SML จะไหลต่อเป็น NPLs อีกเท่าใด การกำหนดให้ชำระหนี้ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 8% และ 10% ตามลำดับ มันช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้จริงๆ เป็นไปตามเป้าประสงค์มาตรการหรือไม่ ความจริงคนเรามีบัตรเครดิตได้หลายใบ การเพิ่มอีก 3% ของยอดหนี้ในแต่ละใบ คนไม่เคยเป็นหนี้อาจนึกไม่ออกว่าจะหมุนหาจากไหนไปจ่ายได้ และประการสุดท้ายค่าใช้จ่ายทั้งหลายมันเริ่มเพิ่มอย่างชัดเจนเช่น ไข่ไก่ ผักบางชนิด น้ำมันก็เริ่มขยับ เป็นต้น
การท่องตำราแก้ปัญหากับการท่องยุทธจักรแบบเดินเผชิญสืบ มันใช้ใจที่ต่างกัน ตัวอย่างเรื่องนี้คือหนังชีวิตจริง แต่ถ้ามองเป็นหนังอานิเมะ มันก็อาจผิดเพี้ยน ต้องกลับมาดูกันเพราะแค่ 3เดือนกลิ่นมันแรงแบบโตขึ้น 32.4%yoy 20.6%qoq มันไม่ธรรมดานะครับ
"ตั้งโจทย์ผิด แต่ตอบโจทย์ที่ผิดได้ถูก ผลลัพธ์ผลผลิตมันจะผิดเพี้ยนไปหรือไม่"
ฐานเศรษฐกิจ สอบถามแหล่งข่าวจากฝ่ายการเงินรายหนึ่ง ซึ่งมีความมั่นใจว่า ผู้ออกนโยบายอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย คงจะลืมไปว่า ประชาชนแต่ละคนที่ใช้บัตรเครดิต ไม่ได้เพียงใบเดียว แต่เฉลี่ยมีบัตรเครดิตที่ใช้อยู่ราว 2-3 ใบต่อคน เมื่อยอดค่าชำระเพิ่มขึ้น 3% ของยอดหนี้แต่ละบัตร ทำให้ประชาชนหลายราย ไม่มีความสามารถมากพอในการชำระหนี้
เรายังต้องตั้งคำถามอีกว่า เงินเดือนหรือรายได้ต่อหัวของไทย ฟื้นตัว หรือเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ เทียบกับการจ่ายขั้นต่ำที่เพิ่มมา 3% เชื่อว่าผู้ออกนโยบายคงหวังดี ต้องหารให้เงินต้นหมดเร็วขึ้น แต่ก็ต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ด้วย
ทั้งนี้ หากต้องการจะช่วยเหลือจริง มองว่าควรออกมาตรการเฉพาะกลุ่ม แทนการปรับขึ้นอัตราการขั้นต่ำ รวมถึงควรปรับลดดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้ต่ำลง มิเช่นนั้นจะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจ กำลังซื้อลดลง ส่วนประชาชนจ่ายหนี้ไม่ไหวแต่ก็ไม่อยากปรับโครงสร้างหนี้ เพราะจะเสียประวัติ