KEY
POINTS
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตัวแทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และตัวแทนสมาคมต่าง ๆ รวมกว่า 50 คน ได้มีการมายืนหนังสือ ขอคัดค้านการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ และได้มีการประชุม ขอรับฟังความคิดเห็นและแนวทาง ซึ่งทุกคนเห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง 400 บาท แต่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทั่วประเทศ เพราะเห็นใจ ผู้ประกอบการบางราย อย่างไรก็ตามการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ก็อยากให้เป็นไปตามระบบของไตรภาคี ซึ่งคณะกรรมการ ก็จะ พยายามพิจารณาอย่างรอบคอบซึ่งเป็นไปตามหลักของไตรภาคีอยู่แล้วว่าจะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างไร ครั้งนี้ในวันที่ 14 พฤษภาคม จะมีการประชุม ไตรภาคี ก็จะขอมติในที่ประชุมให้อนุกรรมการแต่ละจังหวัดไปศึกษาค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม ของแต่ละจังหวัด หรือหากรอบแนวทางในขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ของแต่ละจังหวัด เพื่อเข้าสู่คณะกรรมการชุดใหญ่ ให้พิจารณาต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ปีนี้ ก็คาดว่า จะมีการขึ้นค่าแรง ครั้งที่ 3 แน่นอน
" วันนี้ดีใจที่ทางผู้ประกอบการต่างๆที่มาเห็นความสำคัญของลูกจ้างในการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่จะขึ้น 400 บาท แต่ยังไม่อยากให้ขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งอาจจะต้องขึ้นเฉพาะบางกิจการหรือไม่ อาจจะต้องมาพิจราณาอย่างรอบครอบ" นายไฟโรจน์ กล่าว
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ คณะกรรมการบริหารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทางสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และตัวแทนผู้ประกอบการต้องขอบคุณทาง กระทรวงแรงงาน ได้ให้โอกาส ตัวแทนผู้ประกอบการ ได้มาพูด ถึงข้อเท็จจริง ซึ่งทางผู้ประกอบการยินดีมาก หากทางรัฐบาลจะมีการยกระดับรายได้ ให้กับแรงงาน ซึ่งถ้าหากมีเกิดขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อบางอุตสาหกรรม เช่น ตลาดสด ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี แรงงานภาคเกษตร ซึ่งมีตัวเลขการใช้แรงงานกว่า 10 ล้านคน วันนี้ทางปลัดกระทรวงแรงงาน ก็ได้บอกว่าอาจจะต้องมีการปรึกษาหารือกันอีกของแต่ละภาคส่วน
" เป็นครั้งแรกที่หอการค้าทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ และมีสมาคมฯกว่า 92 แห่ง ยื่นเรื่องคัดค้าน รวมถึงผู้ประกอบการต่างต่าง มากกว่า 15,000 ราย เราขอให้มีการยกระดับ รายได้ คณะอนุกรรมการไตรภาคี และคณะอนุกรรมการจังหวัด หากมีมติ ออกมาอย่างไรก็ยินดีที่จะสนับสนุน แต่ก็อยากให้เห็นใจ ผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจก็ยังซบเซา อัตราดอกเบี้ย มีการปรับตัว รวมถึงราคาพลังงานต่างๆ ซึ่งสวนทางกับ กำลังซื้อของประชาชน หากเศรษฐกิจ เริ่มฟื้น หรือเติบโต ตามนโยบายรัฐบาล ก็คิดว่า ก็ต้องมีกัน ปรับตามสภาพเศรษฐกิจ " นายชนินทร์ กล่าว
นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการประชุม ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แรงงานก็ได้มีการเปิดใจว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบนี้ เป็นนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเราก็ได้ มีการ ผู้ชี้แจงว่าการขึ้นค่าแรง มันต้องเป็นไปตามกลไกต่าง ๆ โดยพิจารณา จากสภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องคลองอัตราเงินเฟ้อ GDP ของประเทศ รวมถึงความสามารถของผู้ประกอบการ
ขณะที่ดัชนีทั้งเศรษฐกิจของอัตรเงินเฟ้อสะท้อน ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งจากที่ประเมินการ ลดต่ำมากเหลือเพียง 0.5-1% ส่วน อัตราการเจริญเติบโตของประเทศ เหลือเพียง 2.2% ซึ่งมันใช้ให้เห็นว่าความพร้อมในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของเรา ยังมีน้อยมาก
ทั้งนี้ในที่ประชุม ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ ชี้แจงว่า อาจจะมีกันขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ตามประเภทธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 3ครั้ง ภายใน 1 ปี เป็นการ ปรับ ที่ไม่สมเหตุสมผล ตามดัชนีชี้วัดของเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ทางสภาอุตฯ เราให้ความร่วมมือในการที่จะหารือ ทำอย่างไรให้การปรับค่าจ้างเป็นธรรม ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง