วันนี้ (28 พฤษภาคม 2567) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2 (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เสนอ โดยได้ปรับลดตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ตั้งแต่ปี 2567-2571 ลงให้สอดคล้องกับประมาณการครั้งใหม่
สำหรับเหตุผลของการจัดทำแผนการคลังระยะปานกลาง ฉบับทบทวน ครั้งนี้ เป็นผลมาจากการประชุมครม.เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ได้มีมติเห็นชอบมอบหมาย ให้สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดำเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเงินสำหรับการดำเนินการโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
ประกอบกับมติครม.เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 และเพื่อให้ทิศทางของการบริหารจัดการการเงินการคลังของประเทศ มีความสอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลในปัจจุบัน และสอดคล้องกับแนวทางวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี จึงมีความจำเป็นต้องทบทวนแผนการคลังระยะปานกลาง อีกครั้ง
นายชัย กล่าวว่า สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ ภายใต้แผนการคลังระยะปานกลาง ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวเลข GDP ของไทยใหม่ ดังนี้
สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2569 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 0.9 -1.9% และปี 2570 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 1.1 - 2.1 ส่วนในปี 2571 - 2572 มีแนวโน้มจะอยู่ในช่วง 1.3 - 2.3%
ส่วนประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ ปรับเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
ส่วนประมาณการงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ มีดังนี้
ส่วนจากประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิและงบประมาณรายจ่ายดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณ เพิ่มขึ้นอีก 112,000 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลงบประมาณแต่ละปี มีดังนี้
ขณะที่ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 11,131,634 ล้านบาท คิดเป็น 62.4% ของ GDP และประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ส่วนปีอื่น ๆ มีดังนี้
นายชัย กล่าวว่า เป้าหมายและนโยบายการคลัง รัฐบาลยังคงมุ่งเน้นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุลในระยะสั้น เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ และมุ่งเน้นการปรับลดขนาดการขาดดุลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในระยะปานกลาง
ทั้งนี้ หากในระยะต่อไป ภาวะเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ ภาครัฐสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะได้ เป้าหมายการคลังในระยะยาวจะกำหนดให้รัฐบาลมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม