ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เผยแพร่ ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ งบเงินอุดหนุนตาม มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ระยะที่ 2 พ.ศ.2567 โดยมีสาระสำคัญ คือการเบิกจ่ายงบประมาณ เงินอุดหนุน ตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV3.5)
ก่อนหน้านี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV3.5) ตามมติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (ที่จะมีผลบังคับในช่วงปี 2567-2570 โดยครอบคลุมทั้งรถยนต์นั่ง รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
โดยมีการกำหนดรายละเอียด และสิทธิประโยชน์สำหรับรถยนต์แต่ละประเภท ดังนี้
รถยนต์นั่ง (ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท)
รถยนต์นั่ง ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ผู้เข้าร่วมมาตรการจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
1.สิทธิเงินอุดหนุน
ขนาดแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 10 kwh แต่น้อยกว่า 50 kwh
ขนาดแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 50 kwh ขึ้นไป
2. สิทธิลดอัตราอากรขาเข้าไม่เกิน 40% (สำหรับรถที่มีการนำเข้าในช่วงปี 2567 - 2568)
3. สิทธิลดภาษีสรรพสามิต จาก 8% เหลือ 2% ในปี 2567 - 2570
รถยนต์นั่ง (ราคาตั้งแต่ 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท)
รถยนต์นั่ง ราคาตั้งแต่ 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kwh ขึ้นไป จะได้รับสิทธิลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2%
รถกระบะ
เฉพาะรถกระบะ ที่ผลิตภายในประเทศ และราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kwh ขึ้นไป จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คัน และได้รับสิทธิลดอัตราภาษีสรรพสามิตเหลือ 0% ในปี 2567 - 2568 และอัตราภาษี 2% ในปี 2569 - 2570
รถจักรยานยนต์
เฉพาะรถจักรยานยนต์ ที่ผลิตภายในประเทศ และราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kwh ขึ้นไป จะได้รับเงินอุดหนุน 10,000 บาท/คัน และได้รับสิทธิลดอัตราภาษีสรรพสามิต เหลือ 1% ในปี 2567 - 2570
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนี้ ต้องผลิตรถยนต์เพื่อชดเชยการนำเข้าภายในปี 2569 ในอัตราส่วน 1 : 2 ของจำนวนนำเข้าในช่วงปี 2567 – 2568 (นำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 2 คัน) หรือผลิตชดเชยการนำเข้าภายในปี 2570 ในอัตราส่วน 1 : 3 (นำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 3 คัน) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ และผลักดันไทยให้เป็นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค