ดัน ‘ท่าเรือระนอง-ย่างกุ้ง’เส้นทางค้าชายแดนแห่งใหม่

12 ก.ค. 2567 | 03:29 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ก.ค. 2567 | 03:42 น.

ค้าชายแดนระนองคึกคัก ผู้ประกอบการไทย-เมียนมา ผลักดันช่องทางการขนส่งสินค้าทางเรือ เป็นเส้นทางค้าชายแดนแห่งใหม่ ประเดิมเรือบรรทุกสินค้าคอนเทนเนอร์ เที่ยวแรกเมื่อ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา

จากปัญหาสู้รบในเมียนมา ช่วงเดือนเมษายน 2567 ส่งผลการค้าชายแดนไทย- เมียนมา โดยเฉพาะด่านแม่สอด-เมียวดี ได้รับผลกระทบ ภาคเอกชนระนอง-เมียนมา จึงผลักดัน ให้เปิดช่องทางการขนส่งสินค้าด้วยเรือ เดินสมุทรบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ที่ผ่านมาเรือ 2 ลำ แรกได้เข้าสู่ท่าเรือระนองแล้ว

ดัน ‘ท่าเรือระนอง-ย่างกุ้ง’เส้นทาง ค้าชายแดนแห่งใหม่

ทั้งนี้ เรือบรรทุกสินค้าคอนเทนเนอร์ BEYPORE SULTAN และ MCL-4 เส้นทางย่างกุ้ง-เกาะสอง-ระนอง เที่ยวแรก ได้เดินทางถึงท่าเรือระนอง เมื่อช่วงเช้า ของวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 ที่่ผ่านมา โดยเรือ BEYPORE SULTAN ขามาจากท่าเรือย่างกุ้งบรรทุกสินค้า จำนวน 56 ตู้ เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 52 ตู้ และเป็นตะกั่ว จำนวน 4 ตู้ และขากลับจะบรรทุกสินค้าจำนวน 30 ตู้ เช่น สุขภัณฑ์ เครื่องดื่มชูกำลัง สายไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนเรือ MCL-4 ขามาจากท่าเรือย่างกุ้งบรรทุกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 41 ตู้ และขากลับจะบรรทุกสินค้ากลับ จำนวน 28 ตู้
    

นายราชัน มีน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่าผู้ประกอบการค้าชายแดนโดยเฉพาะผู้นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมา ลดความเสี่ยงโดยเปลี่ยนเส้นทางการนำเข้า จากเดิมนำเข้าทางด่านแม่สอด จังหวัดตาก เป็นนำเข้าทางด่านระนองโดยทางเรือ Barge มากขึ้น

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 สำนักงานพาณิชย์จังหวัดระนอง
ได้ออกใบอนุญาตขนย้ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แล้ว 169,722 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนจำนวน 163,722 ตัน (ม.ค.-มิ.ย.2566 ออกใบอนุญาตขนย้ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 6,300 ตัน) แต่ด้วยปัจจัยด้านสภาพอากาศผู้ให้บริการโลจิสติกส์ได้เปิดให้บริการขนส่งสินค้าโดยตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อป้องกันสินค้าเสียหายระหว่างการขนส่งและเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ได้รับการสนับสนุนจากทางการเมียนมาเป็นอย่างดีจึงเป็นที่มาของการขนส่งโดยเรือคอนเทนเนอร์ในครั้งนี้

ดัน ‘ท่าเรือระนอง-ย่างกุ้ง’ เส้นทาง ค้าชายแดนแห่งใหม่ นายกอบ ทวนดำ พาณิชย์จังหวัดระนอง กล่าวว่าในฐานะหน่วยงานในพื้นที่ได้ประสานงานกับสำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการภาคเอกชน และผลักดันให้เป็นเส้นทางการค้าชายแดนใหม่ของไทย

นางสาววรรณา ผู้อุตส่าห์ นายด่านศุลกากรระนอง กล่าวว่า การขนส่งทางเรือในรูปแบบนี้ถือเป็นมิติใหม่ที่ดีของการขนส่งของจังหวัดระนอง  สำหรับทางด้านของศุลกากรระนองได้เตรียมความพร้อมรองรับสินค้าที่มากับทางเรือไว้ทุกด้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
 

ทั้งนี้ จังหวัดระนองมีชายแดนติดกับประเทศเมียนมา มีจุดผ่านแดนถาวรระนอง-เกาะสอง จำนวน 4 จุด มูลค่าการค้าชายแดนสูงสุดเป็นลำดับที่ 4 ของการค้าชายแดนไทย-เมียนมา  โดยมีมูลค่าการค้า 21,353 ล้านบาท สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ นํ้ามันเชื้อเพลิง,นํ้ามันหล่อลื่น, ของปรุงแต่งชนิดที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์, เครื่องดื่มให้พลังงาน สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ สัตว์นํ้า (ปลาแช่เย็น) ปลาป่น ถ่านไม้ป่าเลน เป็นต้นตว์นํ้า (ปลาแช่เย็น) ปลาป่น ถ่านไม้ป่าเลน เป็นต้น

ในส่วนของท่าเรือระนอง มีความพร้อมรองรับตู้สินค้า โดยได้ดำเนินการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งเครนยกตู้สินค้า พื้นที่วางตู้ และกำลังคน ไว้เรียบร้อยแล้วตามที่ได้รับการประสานมาก่อนหน้านี้ เมื่อเรือสินค้ามาถึง และดำเนินพิธีการศุลกากรแล้วเสร็จก็สามารถยกสินค้าขึ้นรถบรรทุกได้ทันที โดยมีผู้ประกอบการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บางรายสนใจขนส่งสินค้าใช้เส้นทางท่าเรือระนอง-สถานีรถไฟสะพลี-ICD ลาดกระบัง-ท่าเรือแหลมฉบัง

ดัน ‘ท่าเรือระนอง-ย่างกุ้ง’ เส้นทาง ค้าชายแดนแห่งใหม่

ปัจจุบันสถานีรถไฟสะพลี จังหวัดชุมพร เป็นรถไฟทางคู่ มีจุดขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์และมีลานกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (Container Yard : CY) ที่เอกชนในพื้นที่ใช้บริการขนส่งทุเรียนไปยังประเทศจีน เป็นอีกหนึ่งโครงข่ายโลจิสติกส์ที่เข้ามาเสริมศักยภาพการค้าชายแดนไทย-เมียนมา

ขณะที่จังหวัดระนองรองรับการขยายตัวทางการค้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากมีชายแดนติด กับประเทศเมียนมา มีจุดผ่านแดน ถาวรระนอง-เกาะสอง จำนวน 4 จุด ได้แก่ ท่าเทียบเรือสะพานปลา ท่าเทียบเรือศุลกากระนอง ท่าเทียบเรือของบริษัทอันดามันคลับ จำกัด ด่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง

นอกจากนี้ยังมีจุดผ่อนปรน จำนวน 1 จุด คือ จุดผ่อนปรนบ้านเขาฝาชี ในปี 2566 ด่านศุลกากรระนองมีมูลค่าการค้าชายแดนสูงสุดเป็นลำดับที่ 4 ของการค้าชายแดนไทย-เมียนมา รองจาก ด่านศุลกากรแม่สอด ด่านศุลกากรสังขละบุรี และด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับ โดยมีมูลค่าการค้า (ม.ค.-ธ.ค. 2566) รวม 21,353 ล้านบาท มูลค่าการส่งออก 15,477 ล้านบาท มูลค่าการนำเข้า 5,876 ล้านบาท มูลค่าดุลการค้า 9,601 ล้านบาท (ข้อมูล กรมการค้าต่างประเทศ)