รายงานสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข. พิจารณากรณีที่ ขสมก. ได้จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการนำเสนอโครงการฯ ตามมติ โดยที่ประชุมฯ ครั้งที่ 1 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สศช. ขสมก. และ สนข.) ซึ่งได้ปรับปรุงแผนการดำเนินงานจากเดิมที่ ขสมก. จะจัดหารถโดยสารประจำทางปรับอากาศพลังงานสะอาด โดยวิธีการเช่า จำนวนไม่เกิน 1,870 คัน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (เร่งด่วน) จำนวนไม่เกิน 350 คัน วงเงินไม่เกิน 2,350 ล้านบาท
และระยะที่ 2 จำนวนไม่เกิน 1,520 คัน วงเงินไม่เกิน 23,194 ล้านบาท เป็นการจัดหารถโดยสารประจำทางปรับอากาศพลังงานสะอาด (EV) จำนวน 1,520 คัน โดยวิธีการเช่า ภายในวงเงินจำนวน 23,367 ล้านบาท สนข.จึงได้กำหนดให้มีการประชุมพิจารณาข้อมูลเพิ่มเติมโครงการฯ ครั้งที่ 2 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สศช.ขบ. ขสมก. และ สนข.)
ซึ่งที่ประชุมฯ มีความเห็นให้ ขสมก. ตรวจสอบความสอดคล้องของวงเงินงบประมาณที่ขสมก. ได้รับการจัดสรรตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 พิจารณาการกำหนดระยะเวลาเช่ารถโดยสารและการดำเนินงานภายหลังหมดสัญญา การเปรียบเทียบกรณีจัดหารถโดยสารด้วยวิธีเช่า เช่าซื้อ และซื้อการกำหนดสมมติฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่าย การวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ การจัดทำแผนการบรรจุรถโดยสารตามแผนปฏิรูปเส้นทาง และเพิ่มเติมแผนบริหารความเสี่ยง
ทั้งนี้ที่ประชุมฯมีมติมอบหมายให้ ขสมก. ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลนำเสนอคณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. ให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
สนข. จึงเห็นสมควรนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อทราบผลการประชุมพิจารณาโครงการจัดหารถโดยสารประจำทางปรับอากาศพลังงานสะอาด (EV) โดยวิธีการเช่า ครั้งที่ 2 และมอบหมายให้ ขสมก.ดำเนินการตามความเห็นและมติที่ประชุมฯ ดังกล่าว และนำเสนอคณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. พิจารณาก่อนนำเสนอกระทรวงคมนาคม พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป หากเห็นชอบ ได้มอบหมายให้ ขสมก.ดำเนินการตามมติที่ประชุมฯ และความเห็นของ สนข. ต่อไป
สืบเนื่องมาจาก ขสมก. ได้นำเสนอสรุปสาระสำคัญของโครงการฯ ที่ใด้มีการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดของโครงกรฯ เติม โดยข้อเสนอในครั้งนี้ ขสมก. จะดำเนินโครงการจัดหารถโดยสารประจำทางปรับอากาศพลังงานสะอาด (EV) จำนวน 1,520 คัน โดยวิธีการเช่า ภายในวงเงินจำนวน 23,367 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับการเช่ารถโดยสารเป็นระยะเวลา 7 ปีพร้อมทั้งอธิบายความเป็นมาของโครงการ รูปแบบการจัดหารถโดยสาร การวิเคราะห์ต้นทุนการเช่ารถโดยสาร(EV ) ผลการวิเคราะห์ทางการเงิน ทางเลือกที่ดีที่สุดจากการวิเคราะห์ทางการเงินและความคุ้มค่าทางการเงิน (VFM) แผนการจัดหารถโดยสารและการประเมินความเสี่ยงโครงการ
ทั้งนี้ที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการฯ และข้อมูลสนับสนุนการนำเสนอโครงการฯ ตามที่ ขสมก. เสนอแล้ว มีความเห็นและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้ 1. งบประมาณที่ ขสมก. ได้รับการจัดสรรคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 อนุมัติในหลักการการยื่นคำของบประมาณรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไปตามนัยมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของกระทรวงคมนาคม
ซึ่งมีคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2575 ของ ขสมก. สำหรับโครงการเช่ารถโดยสารประจำทางปรับอากาศพลังงานสะอาด (EV) วงเงินรวม 15,355 ล้านบาท รวมอยู่ด้วยจึงเห็นควรให้ ขสมก.ตรวจสอบความสอดคล้องของวงเงินงบประมาณโครงการฯ ตามที่ ขสมก. เสนอ กับมติ ครม. ตังกล่าว และหากต้องขออนุมัติวงเงินงบประมาณเพิ่มเดิมจากที่ ครม. อนุมัติไว้แล้ว ขสมก. จำเป็นต้องอธิบายเหตุผลประกอบการพิจารณาของ ครม. ให้ชัดเจน
2. การกำหนดระยะเวลาเช่ารถโดยสารและการดำเนินงานภายหลังหมดสัญญา 2.1 ขอให้ ขสมก. อธิบายความเหมาะสมของระยะเวลาเช่ารถโดยสาร 7 ปี และนำเสนอแนวทางให้ชัดเจนว่าเมื่อครบระยะเวลา 7 ปี ขสมก. จะดำเนินการอย่างไร เช่น จัดหารถโดยสารใหม่ หรือต่ออายุสัญญาเติม หรืออื่น ( รวมทั้งจัดทำแผนรองรับการให้บริการในช่วงเปลี่ยนผ่านของสัญญาเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการให้บริการประชาชนภายหลังสิ้นสุดสัญญา
2.2 การเสนอโครงการลงทุนจะต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ เนื่องจากมีผลกระทบต่อการประมาณการค่าใช้จ่ายของโครงการฯ เช่น หากระบุความรับผิดชอบของผู้ให้เช่าในเงื่อนไขสัญญาว่า ต้องมีรถโดยสารพร้อมให้ ขสมก.ใช้งานร้อยละ 100 กรณีนี้ผู้ให้เช่าจะต้องมีการสำรองรถโดยสารไว้เพิ่มเติมสำหรับใช้งานเมื่อรถโดยสารบางคันไม่สามารถให้บริการได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนของผู้ให้เช่าสูงขึ้น
3.การเปรียบเทียบกรณีจัดหารถโดยสารด้วยวิธีเช่า เช่าซื้อ และซื้อ 3.3 ขอให้ ขสมก. จัดทำข้อมูลในรายละเอียดของสมมติฐาน สำหรับการคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งเป็นต้นทุนของโครงการกรณีจัดหารถโดยสารด้วยวิธีเช่า เช่าซื้อ และซื้อให้ชัดเจน รวมทั้งระบุข้อดีข้อเสียของแต่ละรูปแบบ และทางเลือกการจัดหารถโดยสารด้วยรูปแบบที่มีความเหมาะสม
3.2 กรณีเช่าซื้อ ความเป็นเจ้าของรถโดยสารจะตกเป็นของ ขสมก.เมื่อสิ้นสุดสัญญา โดย ขสมก. สามารถมีรายได้จากการขายซากรถโดยสารดังกล่าว เห็นควรให้ ขสมก.นำมูลค่าซากรถมาคำนวณเพิ่มเติมให้ครบถ้วน รวมทั้งจัดทำข้อมูลรายละเอียดของสัญญาการจ้างซ่อมกรณีรถโดยสาร EV ภายหลังปีที่ 7 (สิ้นสุดสัญญา) เพื่อใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบการพิจารณารูปแบบการจัดหารถโดยสารให้ครบถ้วน
การกำหนดสมมติฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่าย 4.1 ขอให้ ขสมก. เพิ่มเติมที่มาของข้อมูลและรายละเอียดวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์อัตราค่าเช่ารถโดยสารซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 24.85 บาทต่อกิโลเมตร เป็น 26.16 บาทต่อกิโลเมตร
4.2 ค่า Factor = 1.53 ที่ใช้ในการคำนวณรายได้และค่าใช้จ่ายของโครงการฯ โดยเทียบสัดส่วนจำนวนรถโดยสารที่จัดหาในโครงการฯ กับจำนวนรถโดยสารทั้งหมดของ ขสมก.ตามแผนขับเคลื่อนฯ เพื่อปันส่วนรายได้และค่ใช้จ่ายต่าง ๆ อาจไม่สะท้อนรายได้และคำใช้จ่ายของโครงการฯที่เกิดขึ้นจริง เห็นควรให้ ขสมก. ตรวจสอบและปรับปรุงรายได้และค่าใช้จ่ายของโครงการตามข้อเท็จจริงเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดต่อผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการฯ
4.3 ขอให้ ขสมก. ตรวจสอบรายละเอียดและอธิบายข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์รายได้ของโครงการฯ นอกเหนือจากค่าโดยสาร เช่น ค่าบริการให้เช่ารถโดยสาร รายได้จากการให้เช่าตู้อัดประจุไฟฟ้า รายได้จากการให้เช่าระบบรับชำระค่าโดยสารอัตโนมัติ รายได้จากการขายคาร์บอนเครดิดรวมทั้งรายได้การโฆษณาและการให้เช่าพื้นที่ของ ขสมก.
4.4 ขอให้ ขสมก. ปรับปรุงระยะเวลาในการคำนวณและวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและรายได้ของโครงการให้สอดคล้องกับระยะเวลาเช่ารถโดยสาร
4.5 การจัดทำประกันอุบัติเหตุรถโดยสาร ขสมก. ระบุใช้ประกันชั้น 3 สำหรับรถโดยสารของโครงการฯ ควรพิจารณาให้ครอบคลุมการประกันความเสียหายของรถโดยสารระบบ EV รวมทั้งจัดทำข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากพนักงานขับรถโดยสารของ ขสมก. เพื่อใช้ประกอบการเลือกรูปแบบการประกันอุบัติเหตุให้มีความเหมาะสม
5. การวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ ขสมก. ควรจัดทำผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการฯ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาโครงการฯ ด้วย
6. แผนขับเคลื่อนกิจการ ขสมก. เนื่องจากข้อเสนอของ ขสมก. ได้มีการนำข้อมูลตัวเลขและรายละเอียดจากแผนขับเคลื่อนฯ มาใช้ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการฯ ดังนั้น ขสมก. ควรนำเสนอสรุปสาระสำคัญและสถานะปัจจุบันของแผนขับเคลื่อนฯ ดังกล่าวให้เห็นว่า โครงการฯที่เสนอในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนขับเคลื่อนฯ และจะส่งผลให้บรรลุเป้าหมายตามแผนขับเคลื่อนฯ ได้อย่างไร
7.แผนการบรรจุรถโดยสารตามแผนปฏิรูปเส้นทาง ขอให้ ขสมก.จัดทำแผนการรับรถโดยสารและแผนการบรรจุรถโดยสารในแต่ละเส้นทางตามแผนปฏิรูปเส้นทางให้ชัดเจน
8. การบริหารความเสี่ยง ควรเพิ่มข้อมูลการบริหารความเสี่ยงในการบริหารจัดการเดินรถให้ครบถ้วน เช่น กรณีน้ำท่วมสูง แบตเตอรี่หมดระหว่างให้บริการ แผนรองรับการชาร์จรถEV แผนการบริหารโครงการกรณีที่หมดสัญญา และแผนรองรับการเกิดเหตุไฟไหม้
ที่ประชุมฯ ได้ขอให้ ขสมก. ดำเนินการปรับปรุง แก้ไข รวมทั้งเพิ่มเติมข้อมูลที่เห็นว่าเป็นประโยชน์และจำเป็นในการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอคณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. พิจารณา ก่อนนำเสนอ คค. พิจารณาต่อไป โดยมติที่ประชุมได้มอบหมายให้ ขสมก. ดำเนินการปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลรายละเอียดข้อเสนอโครงการฯ โดยนำประเด็นความเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมฯ ไปพิจารณาดำเนินการให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และนำเสนอคณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก.พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาโครงการฯ ตามขั้นตอนต่อไป