เช็คลิสต์ 44 อุตสาหกรรม "ลดภาษีบุคคลธรรมดา" เหลือ 17% ดึงคนเก่งกลับไทย

30 ก.ค. 2567 | 09:17 น.
อัพเดตล่าสุด :31 ก.ค. 2567 | 05:38 น.

ตรวจสอบรายชื่อ "44 อุตสาหกรรมเป้าหมาย" ภายใต้ "มาตรการภาษีสนับสนุนคนไทยกลับเข้ามาทำงานในประเทศ" หลังมติครม.ล่าสุด เห็นชอบ "ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" เหลือเพียง 17% ครอบคลุม 3 กฎหมายสำคัญ รวมไว้ที่นี่ทั้งหมด

หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการภาษี สนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาทำงานในประเทศ โดยการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฝั่งลูกจ้างที่ทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เหลือเพียง 17% ตามที่ กระทรวงการคลัง เสนอนั้น

การดำเนินการทางภาษีของกระทรวงการคลังครั้งนี้ ด้วยการปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงเหลือเพียงอัตรา 17% ของเงินได้ ซึ่งกำหนดให้คนไทยที่เคยทำงานอยู่ในต่างประเทศและจะกลับเข้ามาทำงานในประเทศในสาขาความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ภายใต้กฎหมาย 3 ฉบับ คือ

  • กฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 
  • กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 
  • กฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ฐานเศรษฐกิจตรวจสอบประเภทของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่เข้าข่ายการปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลงเหลือเพียงอัตรา 17% ซึ่งกำหนดไว้ภายใต้กฎหมายกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันฯ และกฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พบว่ามีด้วยกันทั้งหมด 44 อุตสาหกรรม โดยแยกเป็นรายกลุ่มตามกฎหมาย สรุปได้ดังนี้

ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.5/2566 มีด้วยกัน 18 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย

  1. อุตสาหกรรมยานยนต์
  2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับคุณภาพ
  4. อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารและ เทคโนโลยีชีวภาพ
  5. อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
  6. อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
  7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
  8. อุตสาหกรรมดิจิทัล
  9. อุตสาหกรรมการแพทย์
  10. อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ
  11. อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยตรง และมีนัยสำคัญ เช่น การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ การบริหารจัดการทรัพยากร เป็นต้น
  12. อุตสาหกรรมการบิน อากาศยาน และ อวกาศ
  13. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  14. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
  15. การบริหารเทคโนโลยี นวัตกรรม และ Startup Ecosystem
  16. การพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย
  17. ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (Intemational Business Center-IBC)
  18. การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก

ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันฯ ที่ 1/2561 มีด้วยกัน 14 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย

  1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
  2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับคุณภาพ
  4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  5. อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
  6. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
  7. อุตสาหกรรมการบิน
  8. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
  9. อุตสาหกรรมดิจิทัล
  10. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
  11. อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
  12. อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจ หมุนเวียน (Circular Economy) โดยตรง และมีนัยสำคัญ เช่น การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ การบริหารจัดการทรัพยากร เป็นต้น
  13. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย
  14. อุตสาหกรรมเป้าหมายอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามที่คณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบ

ภายใต้กฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง การกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษในพื้นที่ EEC มีด้วยกัน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย

  1. ยานยนต์สมัยใหม่
  2. อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  3. การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  4. การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  5. การแปรรูปอาหาร
  6. หุ่นยนต์
  7. การบินและโลจิสติกส์
  8. เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
  9. ดิจิทัล
  10. การแพทย์และสุขภาพครบวงจร
  11. การป้องกันประเทศ
  12. การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา