เช็คด่วน! ไทม์ไลน์โอนเงิน 10,000 บาท บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คนพิการ ปี 2567

24 ก.ย. 2567 | 08:14 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.ย. 2567 | 08:29 น.

เช็คด่วน! ไทม์ไลน์โอนเงิน 10,000 บาท บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คนพิการ ปี 2567 หลัง กรมบัญชีกลาง เปิดให้เช็กสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วันแรก 24 กันยายน 2567

ความคืบหน้าหลังจาก กระทรวงการคลัง โดย กรมบัญชีกลาง ได้เปิดให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ คนพิการ จำนวน 14.55 ล้านคน ที่ได้สิทธิในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิ 2567 สามารถเช็กสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน 5 ช่องทาง วันนี้ 24 กันยายน 2567 เป็นวันแรก  โดย “ฐานเศรษฐกิจ” ได้นำเสนออย่างต่อเนื่องไปก่อนหน้านี้

ลำดับต่อมาหลังจาก เช็กสิทธิบัตรสวัสดิการ  มีรายชื่อได้รับแจกเงิน 10,000  กรมบัญชีกลาง พร้อมโอนเงินให้กับผู้ได้รับสิทธิผ่านพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชน

ไทม์ไลน์โอนเงิน 10,000 บาท บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คนพิการ ปี 2567

  • วันที่ 25 ก.ย. 67  โอนเงินให้คนพิการ และผู้ถือบัตรสวัสดิการ ที่มีเลขประจำตัวบัตรประชาชนลงท้าย เลข 0 จำนวน 3.17 ล้านคน 
  • วันที่ 26 ก.ย.67 โอนเงินให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการ ที่มีเลขประจำตัวบัตรประชาชนลงท้ายเลข 1, 2, 3 จำนวน 4.51 ล้านคน 
  • วันที่ 27 ก.ย.67 โอนเงินให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการ ที่มีเลขประจำตัวบัตรประชาชนลงท้าย เลข 4,5,6,7 จำนวน 4.51 ล้านคน 
  • วันที่ 30 ก.ย.67 โอนเงินให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการ ที่มีเลขประจำตัวบัตรประชาชนลงท้าย เลข 8, 9 จำนวน 2.25 ล้านคน 

ไทม์ไลน์โอนเงิน 10,000 บาท บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คนพิการ ปี 2567

วิธีโอนเงิน 10000

กลุ่มที่ 1 : ผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะจ่ายเงินโดยวิธี โอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน เท่านั้น ยกเว้นกรณี ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่สามารถผูกพร้อมเพย์ได้ จะโอนเงินผ่านบัญซีฝากธนาคารตามที่ได้เคยแจ้งความประสงค์ไว้ ณ สำนักงานคลังจังหวัด หรือกรมบัญซีกลาง

กลุ่มที่ 2 : คนพิการ

จะจ่ายเงินโดยวิธี

  • โอนเงินตามช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการที่รับตามปกติกรณีเคยได้รับเงินเบี้ยความพิการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นเงินสด จะได้รับเงิน 10,000 บาท เป็นเงินลดผ่าน อปท. ดังเดิม
  • กรณีคนพิการที่ปรากฎข้อมูลในฐานข้อมูลของ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) แต่ไม่ปรากฎข้อมูลช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการจะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจ่าตัวประชาชน.

ที่มา: