"ส.อ.ท." ห่วงสงครามตะวันออกลางบานปลายดันค่าระวางเรือ-ราคาน้ำมันพุ่ง

26 ก.ย. 2567 | 03:36 น.
อัพเดตล่าสุด :26 ก.ย. 2567 | 03:36 น.

"ส.อ.ท." ห่วงสงครามตะวันออกลางบานปลายดันค่าระวางเรือ-ราคาน้ำมันพุ่ง ชี้ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ระบุปัจจุบันยังไม่กระทบต่อเศรษฐกิจการค้าของไทย หวั่นเป็นเหมือนช่วงรัสเซียกับยูเครน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงประเด็นสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ว่า ต้อติดตามดู 2 เรื่องอย่างใกล้ชัด ทั้งค่าระวางเรือ โลจิสติกส์ เพราะจะส่งผลให้ต้นทุนสินค้าทุกอย่างที่ส่งออก และนำเข้าเพิ่มขึ้นหมด 

ส่วนราคาน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติที่เวลานี้ยังทรง แต่หากสถานการณ์รุนแรงไปกว่านี้ มีการระเบิดบ่อน้ำมัน หรือสั่งเก็บน้ำมัน โดยที่เวลานี้ยูเครนเริ่มตอบโต้รัสเซียมากขึ้นด้วยการพยายามทำลายบ่อเก็บน้ำมัน หรือคลังน้ำมัน ในทางกลับกันรัสเซียเองก็พยายามโจมตีสาธารณูปโภคต่างๆในยูเครน จึงเป็นจุดที่ต้องระมัดระวัง 

โดยสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่กระทบต่อเศรษฐกิจการค้าของไทย แต่ผลกระทบทางอ้อมที่น่าเป็นห่วงก็คือเกรงว่าจะเป็นเหมือนกับสงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครนช่วงแรกที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก
 

ยิ่งเป็นสถานการณ์ในตะวันออกกลางเวลานี้ ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำมันของโลกที่หนึ่ง ดังนั้น ในช่วงแรกจึงห่วงว่าจะทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นไปในลักษณะเดียวกัน แต่ปรากฎว่าไม่ได้มีการปรับราคาแต่อย่างใดจนถึงล่าสุด ก็ยังอยู่ในระดับที่ทรงตัว

"ส.อ.ท." ห่วงสงครามตะวันออกลางบานปลายดันค่าระวางเรือ-ราคาน้ำมันพุ่ง

โดยต้องถือว่าเป็นประเด็นที่ทำให้คลายความกังวลไปได้ระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไปว่า หากฮิซบอลเลาะห์ยังโจมตีอิสราเอล ขณะที่อิสราเอลก็ยังโจมตีเลบานอน และขยายไปถึงอิหร่านจนต่างฝ่ายไม่สามารถอดทนอดกลั้นได้อีก ก็ะส่งผลเสียขึ้นมาอย่างแน่นอน 

ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นเวลานี้ก็จะเป็นเรื่องข่าวที่ออกมารุนแรง แต่ผลทางเศรษฐกิจโดยตรงยังไม่เกิดขึ้น มีเพียงแต่ราคาค่าโลจิสติกส์หรือค่าระวางเรือ ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งช่วงหนึ่งมีการโจมตีครั้งใหญ่ในทะเลแดง มีการโจมตีเรือบรรทุกสินค้า โดยเฉพาะจากประเทศตะวันตกซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ใช่พวกเดียวกัน ส่งผลให้บริษัทเรือ หรือสายการเดินทางต้องเปลี่บนเส้นทางไปอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ทำให้ราคาค่าระวางเรือพุ่งสูงขึ้น 
 

เช่นเดียวกับค่าตู้คอนเทนเนอร์ โดยตู้ขนาด 40 ฟุต เคยมีราคาเพิ่มไปถึง 12,000-13,000 เหรียญสหรัฐฯ ทั้งที่ราคาตามปกติอยู่เพียงแค่ 3,000-4,000 เหรียญสหรัฐฯ

ตอนนี้สถานการณ์คลี่คลายลงไปบ้างแล้ว โดยราคาตู้คอนเทนเนอร์ลดลงไปอยู่ที่ระดับ 8,000-9,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหากสถานการณ์ไม่บานปลายเชื่อราคาจะไม่ปรับสูงขึ้นไปแบบเดิมอีก แต่ก็ยังถือว่าสูงอยู่

"หากมีการโจมตีกันมากขึ้นก็ถือว่เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ราคาน้ำมัน และค่าระวางเรือปรับเพิ่มสูงขึ้น"